Categories
ขนมไทย

แชร์สูตร ขนมถ้วย ต้นตำรับโบราณ รสชาติหวานมัน หอมกลิ่นกะทิ

ขนมถ้วย

วันนี้เรามีขนมหวานของไทยมาแนะนำ นั่นก็คือ ขนมถ้วย หนึ่งในขนมชาววังที่มีมาตั้งแต่ในสมัยอดีต สำหรับขนมชนิดมีรสชาติ หวาน มัน และกะทิอ่อนๆ อร่อยกำลังดี อีกทั้งเนื้อสัมผัสนุ่มนิ่มสุดๆ ปัจจุบันขนมชนิดนี้มีขายตามร้านอาหารไทย และตลาดนัดทั่วไป 

เปิดสูตร ขนมถ้วย หนึ่งในขนมชาววัง ทำง่ายๆ มือใหม่ทำได้สบาย

ขนมถ้วย

สำหรับขนมถ้วย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูขนมหวานที่มักจะนิยมทานเป็นประจำ เพราะรสชาติที่หวานกำลังดี แถมขนม ถ้วยยังสามารถได้ทุกวันไม่มีเบื่ออีกด้วย และที่สำคัญยังหาซื้อทานได้ง่ายอีกด้วย สำหรับใครที่อยากจะลองทำให้คนในครอบครัวทาน วันนี้เรามีสูต ร ขนม ถ้วย จากต้นตำรับมาแขร์ให้ลองทำตาม ซึ่งขนมถ้วยโบราณถือว่าหาทานได้ค่อนข้างยากในปัจจุบัน 

วัตถุดิบ และส่วนผสมของแป้งขนม

  1. แป้งข้าวเจ้า 200 กรัม
  2. แป้งมัน 100 กรัม
  3. น้ำตาลปิ๊ป 300 กรัม
  4. กะทิ 150 กรัม
  5. น้ำเปล่า 500 กรัม
  6. ใบเตย 2 ถ้วยตวง
ขนมถ้วย

ส่วนผสม และวัตถุดิบ (หน้าขนม)

  1. แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
  2. หัวกะทิ 800 กรัม
  3. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  4. เกลือ 2 ช้อนชา

ในขั้นตอนต่อมาจะเป็นวิธีการทำ ขนมถ้วย ตามสูตรขนม ไทยชาววัง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ขนมถ้วย
  1. นำใบเตยใส่น้ำเปล่าที่เตรียมไว้แล้วนำไปปั่นให้ละเอียด จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง 
  2. เทแป้งมัน และแป้งข้าวเจ้า ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ จากนั้นใส่น้ำตาลปิ๊ปลงไป ผสมให้เข้ากัน โดยใช้มือคลุกเคล้าให้แป้งเป็นเนื้อเดียวกัน ใส่น้ำใบที่เตรียมไว้ลงไปผสมให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำไปกรองด้วยตะแกรง เพื่อให้ได้น้ำแป้งที่มีเนื้อเนียน
  3. ต่อมาเราจะมาทำหน้าขนม เริ่มจากนำแป้งใส่กะทิ เกลือ น้ำตาล และน้ำเปล่า คนส่วนผสมทั้งให้เข้ากัน นำมากรองด้วยตะแกรงอีกรอบ 
  4. นำภาชนะที่ทำการนึ่งขนมถ้วยมาตั้งเตาด้วยไฟแรง รอจนกว่าขนมถ้วยจะร้อน จากนั้นเติมน้ำแป้งขนมที่เตรียมไว้ลงไป ปิดฝาหม้อนึ่ง รอประมาณ 5-10 นาที จากนั้นใส่น้ำหน้าขนมลงไปในถ้วยขนมให้เต็ม จากนั้นนึ่งขนมต่อไปอีก 10 นาที เมื่อขนมสุกแล้วยกหม้อนึ่งออกจากเตา เปิดฝาหม้อนึ่งแล้วยกถ้วยขนมออกมาพักไว้ในเย็น 
  5. นำขนมที่นึ่งสุกแล้วมาแคะออกใส่จานให้สวยงาม หรือจะนำไปเสิร์ฟโดยไม่ต้องแคะออกจากถ้วยก็สวยงามเช่นกัน

เสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับ ขนมไทย สูตรต้นตำรับที่หลายคนอยากลองทำ ซึ่งสูตรที่นำมาแชร์เป็นขนม โบราณขนานแท้ ดังนั้นรสชาติจะความอร่อยกลมกล่อม และหอมกลิ่นกะทิสดอ่อนๆ หวานชื่นใจ 

เคล็ด (ไม่) ลับ วิธีทำ ขนมไทย โบราณ ให้อร่อย ละลายในปาก ตามฉบับชาววัง 

ขนมถ้วย

ขนมถ้วยเป็นขนม หวาน ไทยที่นิยมรับประทานกันในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นขนมที่ถูกนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ ในอดีตอีกด้วย สำหรับเคล็ดลับในทำ ขนม ไทย ทำ ง่ายๆ มือใหม่ก็ทำได้ โดยแป้งที่นำมาทำขนมจะต้องร่อนก่อนผสมส่วนผสมอื่นๆ ลงไป หลังจากนั้นน้ำแป้งมากรองอีกครั้ง เพียงแค่นี้เราก็จะได้ขนมถ้วยที่อร่อย หากใครอยากทำขนม ไทย ง่ายๆ สามารถลองทำขนมไทย ทำเองได้ไม่ไปเรียนทำขนมให้เสียเวลา แนะนำให้ทำขนมถ้วยสุดน่านัก ตามฉับสูตร ขนม ไทยดั้งเดิมได้เลย

อ่านบทความอื่นๆ:

Categories
ขนมไทย

ทองม้วนสดใบเตย หวานมัน ละมุนลิ้น กินแล้วจะติดใจ

ทองม้วนสดใบเตย

ทองม้วนสดใบเตย ขนมไทยที่ใช้วัตถุดิบในการทำค่อนข้างน้อยแต่อร่อย จะทำ ทองม้วนสดใช้แป้งอะไร พบคำตอบในบทความนี้

ส่วนผสม ทองม้วนสดใบเตย

ทองม้วนสดใบเตย ขนมไทยที่ใช้ส่วนผสมในการทำขนมเพียงไม่กี่อย่าง ทว่า รสชาติ กลับถูกอกถูกใจผู้ที่นิยมชมชอบในการกินขนม ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่รู้จักแต่ทองม้วนกรอบ ที่กัดกินทีไร หอมอร่อยหวานกำลังดี ทว่า ในปัจจุบัน นอกเหนือจาก ทองม้วนกรอบที่คนชอบซื้อมากิน ทองม้วนสดก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน อีกทั้ง การกินทองม้วนสด ยังค่อนข้างได้อรรถรสมากกว่า กินทองม้วนกรอบ ทั้งในเรื่องของกลิ่นขนมที่ยังหอมเหมือนเดิม อีกทั้งยังได้ในเรื่องของ texture ระหว่างกำลังเคี้ยวทองม้วน ทั้ง งาดำ มะพร้าวอ่อน ซึ่งก็เป็นอะไรที่เข้ากันและลงตัว

ทองม้วนสดใบเตย

กระแสทองม้วนสด ยังคงเป็นที่นิยมไม่มีตก หลายคนฝึกทำจนสามารถสร้างอาชีพได้ วันนี้ แอดมิน ขออาสานำสูตรทองม้วนสดมาฝากเพื่อน ๆ ทุกคน ใครชอบกินขนมไทย ต้องไม่พลาดเมนูนี้

วัตถุดิบทองม้วนสดใบเตย

ทองม้วนสด ใบเตยเป็นการนำวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในครัวเรือนมาทำขนมทองม้วน ดังนั้น ขนมทองม้วนสด ถึงเป็นขนมที่นำวัตถุดิบของคนไทยมาครีเอทและใช้ในการทำเมนูนี้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เรียกได้ว่า เป็นการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่ปลูกเองในบ้าน

ทองม้วนสดใบเตย

1.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง

2.น้ำตาลปี๊ป 120 กรัม

3.ใบเตย 9-10 ใบ

4.น้ำใบเตย 2/4 ถ้วย

5.มะพร้าวอ่อน 1 ลูก

6.งาดำ 1-2 ช้อนโต๊ะ

7.แป้งมัน 1 ถ้วยตวง

8.แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ

9.เกลือ 1/2 ช้อนชา

10.ไข่เป็ด 2 ฟอง

วิธีทำ

ทองม้วนสดใบเตย

ขั้นตอนที่ 1 นำแป้งมันและแป้งข้าวเจ้าผสมให้เข้ากันในชามผสมที่จะนำมาทำทองม้วนสดตามด้วยไข่เป็ดและเกลือ คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้น นำส่วนผสมดังกล่าวไปเก็บไว้ในตู้เย็นประมาณ 30 นาที

ขั้นตอนที่ 2 มะพร้าวอ่อน นำมาขูดให้เป็นเส้นสวย ๆ สำหรับกินคู่กับทองม้วนสด 

ขั้นตอนที่ 3 ใบเตยต้องนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ ใส่ในชามสำหรับผสม

ขั้นตอนที่ 4 ใส่น้ำใบเตยที่เตรียมไว้ลงไป ตามด้วย หัวกะทิ น้ำตาลปี๊บ ขยำส่วนผสมทั้งหมดในชามจนเข้ากัน แล้วค่อยนำใบเตยออก เพื่อทำให้เนื้อขนมเนียนสวย นำส่วนผสมดังกล่าวกรอง 2 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 5 เอาแป้งที่เตรียมไว้ออกมาจากตู้เย็น เทส่วนผสมที่กรองไว้ลงในชามแป้ง จากนั้น ผสมให้เข้ากันอีกครั้งจนดูเนียน

ขั้นตอนที่ 6 ใส่ส่วนผสมของทองม้วนสด ได้แก่ งาดำ มะพร้าวอ่อนขูดเป็นเส้น คลุกให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 7 กะทะก้นแบนตั้งบนเตา ใช้ไฟอ่อน รอจนกะทะร้อน ตักแป้งลงไปละเลงให้ทั่วกะทะจนกลายเป็นแผ่น ด้านไหนสุกแล้ว ก็ให้พลิกกลับอีกด้าน จนกระทั่งสุกทั้ง 2 ด้าน แล้วค่อยตักขึ้นมาจากกะทะ นำมาม้วน ก็จะได้สูตร ทองม้วนสดที่อร่อยที่สุดในโลก จัดเสริ์ฟได้เลย

เห็นหรือยัง ขั้นตอนการเตรียมส่วนผสมน้อยมาก อีกทั้งขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก ใครที่อยากเริ่มต้นทำขนมไทย ลองเริ่มจากเมนูทองม้วนสดกันก่อน แล้วค่อยพัฒนาต่อยอด ทำขนมที่มีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นในภายหลัง

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 เว็บที่นักพนันให้ความไว้วางใจอันดับ1

Categories
ขนมไทย

สูตรสอนทำ ถั่วแปป ขนมไทยรสชาติหอมหวาน ทำง่ายขายดี เหมาะกับมือใหม่

ถั่วแปป ขนมไทยรสชาติอร่อยที่มีส่วนผสมหลักเป็น “ถั่วเขียวเลาะเปลือก” หุ้มด้วยแผ่นแป้งข้าวเหนียวแสนนุ่ม นิยมทานคู่กับน้ำตาลทรายผสมกับงาคั่วพร้อมกับมะพร้าวขูดหอม ๆ ซึ่งมีที่มายังไม่แน่ชัด แต่ในปัจจุบันยังสามารถหาทานได้ทั่วไปเนื่องจากเป็นขนมรสชาติดี สามารถทานได้มาก อีกทั้งขึ้นชื่อว่าเป็นขนมไทยที่มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการมากเป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย

สูตรทำ ถั่วแปป รสโบราณตามต้นตำรับ ความอร่อยแบบคลาสิค

ถั่วแปป

ถั่วแปปเป็นขนมไทยโบราณที่มีรสชาติหวานมันมีเอกลักษณ์ เนื้อแป้งที่ห่อหุ้มไส้ถั่วเขียวนั้นเหนียวหนึบเคี้ยวเพลิน ตัดไปกับรสชาติของถั่วที่เข้มข้นมันได้ใจ เมื่อทานคู่กับมะพร้าวขูดและงาคั่วยิ่งช่วยให้ได้รสสัมผัสที่อร่อยมากขึ้น

วัตถุดิบและส่วนผสมสูตรถั่วแปบแป้งนุ่ม

  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก 500 กรัม
  2. เกลือ 1 ช้อนชา 
  3. น้ำแช่ดอกอัญชัน 1 ถ้วย
  4. น้ำสะอาด ประมาณ 1 ถ้วย 
  5. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย 
  6. แป้งข้าวเหนียว 300 กรัม (แบ่งเป็น 2 ถ้วย) 
  7. มะพร้าวขูดขาว 2-3 ถ้วย 
  8. งาดำคั่ว 1/2 ถ้วย 
  9. ใบเตย 2-3 ใบ
ถั่วแปป

ขั้นตอนการทำถั่วแปบโบราณไส้หวาน

  1. เตรียมซึ้ง ด้วยการต้มน้ำให้เดือด เอาถั่วเขียวเลาะเปลือกใส่ผ้าขาวบาง แล้วนึ่งประมาณ 30 นาที 
  2. นำมะพร้าวขูดขาว ใส่เกลือนิดหน่อย แล้วนึ่งประมาณ 5 นาที 
  3. เตรียมน้ำอัญชัน กรองด้วยผ้าขาวบาง 
  4. เตรียมชามผสม ใส่แป้งข้าวเหนียวลงไป ค่อย ๆ ใส่น้ำอัญชัน จนแป้งนุ่มและร่อนหลุดจากชามผสม 
  5. ทำแป้งสีขาวเช่นเดียวกัน โดยการเติมน้ำสะอาดลงไป ค่อย ๆ นวด พอได้แป้งสองสีแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เตรียมไว้ 
  6. ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือด ใส่ใบเตยลงไป บีบแป้งข้าวเหนียวเป็นแผ่นแบน ๆ ใส่หม้อต้ม พอสุกลอยขึ้นมา ก็ตักใส่ชามถั่วเขียวที่นึ่งไว้ 
  7. คลุกแป้งที่ได้กับถั่วให้ทั่ว ใส่ไส้แล้วพับครึ่ง แล้วคลุกมะพร้าวขูดขาวให้ทั่ว
  8. เตรียมชามผสม ใส่งาดำคั่ว หรือจะใช้ผสมกัน งาขาว งาดำ ใส่น้ำตาลทราย ผสมพอเข้ากัน ตักใส่ถ้วยไว้ 
  9. ขนมถั่วแปบจัดใส่จานเสิร์ฟพร้อมกับน้ำตาลทรายที่ผสมงาไว้ 

สารพันประโยชน์ในขนม ถั่วแปป ของอร่อยกินดีที่หลายคนมองข้าม

ถั่วแปป

ถั่วแปปเป็นขนมไทยรสชาติมัน ๆ จากถั่วเขียวเลาะเปลือกซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนและไขมันดีที่มีวิตามินและเกลือแร่ที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ๆ ใครที่ชอบกินถั่วแปบบอกเลยว่าคุณได้ทั้งความอร่อยเต็มอิ่มและสารอาหารแบบเต็มเปี่ยม

ประโยชน์แสนน่าทึ่งจาก “ถั่วเขียวเลาะเปลือก”

ถั่วแปป

ถั่วเขียวเลาะเปลือกจัดเป็นธัญพืชที่ที่หาได้ง่าย รสชาติอร่อย นำมาทำเป็นอาหารหรือขนมหวานได้อย่างหลากหลาย และทำขนมถั่วแปบด้วยเช่นกัน แถมยังมีประโยชน์ที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนด้วย ได้แก่ 

  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือกอุดมไปด้วย “แมกนีเซียม” ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องการเผาผลาญและการควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และหากใครที่มักมีอาการบวมน้ำจากโซเดียม การเพิ่มระดับแมกนีเซียมก็ช่วยลดอาการบวมได้ด้วย
  2. เป็นตัวช่วยควบคุมน้ำหนักที่แสนน่าทึ่งและเห็นผลได้ดีมาก ๆ เพราะมีไขมันต่ำและไม่มีคอเลสเตอรอล
  3. มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  4. ถั่วเขียวเลาะเปลือกนั้นมี “โบรอน” ที่เป็นสารเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ทำให้สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างฉับไว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“มะพร้าวขูด” และ “งาคั่ว” คือของดีมีประโยชน์

ถั่วแปป

มะพร้าวขูดและงาคั่วเปรียบเสมือนกับนางเอกของขนมเลยก็ว่าได้เพราะช่วยชูรสชาติพร้อมกับเสริมกลิ่นหอมแสนยวนใจให้กับขนมถั่วแปบโบราณนอกจากนั้นยังมีประโยชน์มาก ๆ อีกด้วยนะ

ประโยชน์ของมะพร้าวขูด

  1. เป็นแหล่งพลังงานที่ย่อยได้เร็ว ทำให้ตับไม่ต้องทำงานหนัก
  2. ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุลมากยิ่งขึ้น
  3. บำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้เงางาม
ถั่วแปป

ประโยชน์ของงาคั่ว

  1. เสริมสร้างการเผาผลาญของร่างกาย ลดน้ำหนักได้ดี
  2. ช่วยป้องกันอาการริดสีดวงทวาร
  3. ช่วยให้ผู้มีปัญหาในการนอนหลับ นอนได้ง่ายยิ่งขึ้น

วิธีทํา ถั่วแปบ โบราณ สูตรทำขนมถั่วแปปใบเตยหอม ๆ ทานเพลินทั้งวัน

ส่วนผสมและวัตถุดิบ สูตรขนมถั่วแปบใบเตย

  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก 100 กรัม 
  2. แป้งข้าวเหนียว 200 กรัม 
  3. น้ำใบเตย 90 มิลลิลิตร (6 ช้อนโต๊ะ) 
  4. กะทิ 135 มิลลิลิตร (9 ช้อนโต๊ะ) 
  5. น้ำตาลทราย 100 กรัม 
  6. งาขาว 50 กรัม 
  7. มะพร้าวขูด 200 กรัม (1ลูก)
ถั่วแปป

วิธีทำขนมถั่วแปบใบเตยให้อร่อยแบบง่าย ๆ

  1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกที่จะใช้ทำถั่วแปปมาล้างน้ำให้สะอาดประมาณ 7 ครั้งจนน้ำที่ล้างใส จากนั้นแช่ถั่วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นล้างอีกครั้ง
  2. นำถั่วเขียวไปนึ่งประมาณครึ่งชั่วโมง
  3. นำมะพร้าวขูดไปนึ่งประมาณ 5 นาที จากนั้นโรยเกลือเล็กน้อยที่ถั่วเขียวและมะพร้าวขูด
  4. นำแป้งข้าวเหนียวมาใส่น้ำใบเตยและคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  5. นำแป้งมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ แล้วเอามาแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ จากนั้นนำไปต้มให้สุกสังเกตุได้เมื่อสุกแป้งจะลอยขึ้นมา
  6. นำแผ่นแป้งไปวางบนมะพร้าวขูด ใส่ถั่วเขียวเป็นไส้ จากนั้นห่อถั่วเขียวให้มิด
  7. นำงาที่คั่วผสมกับน้ำตาลทรายและนำมาโรยขนมพร้อมเสิร์ฟ

สรรพคุณแสนมีคุณค่าที่ได้จากขนม ถั่วแปป

ถั่วแปป

ขนมถั่วแปปเป็นขนมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่อยากควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากไม่ใช่ขนมที่ได้จากการทอดด้วยน้ำมันแต่เป็นขนมที่ใช้การ “นึ่ง” นอกจากนั้นส่วนผสมหลัก ๆ ยังประกอบไปด้วยผลไม้ในธรรมชาติ พร้อมด้วยธัญพืชหลากหลายชนิดอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นถั่วผ่าซีก งาดำ งาขาว มะพร้าวขูด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีโปรตีนและไขมันดี ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เทคนิคการใช้วิธีทําถั่วแปบให้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก!

ถั่วแปปเป็นขนมไทยที่ทำง่ายมาก ไม่ยุ่งยาก ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ยังใช้วัตถุดิบน้อย ต้นทุนต่ำ สามารถเป็นหนึ่งในลิสต์ขนมที่ควรทำขายช่วงสร้างรายได้เสริม แต่ถ้าใครอยากจะใช้เทคนิคที่ช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้นแล้วล่ะก็ ตอนที่จะทำการห่อแป้งเข้ากับไส้ถั่วแนะนำมาอย่าเพิ่งห่อในทันทีเพราะจะลื่นมือทำให้ห่อได้ยาก ควรนำแป้งด้านที่ไม่ได้ใส่ไส้คลุกกับมะพร้าวขูดก่อน จากนั้นค่อยห่อถั่วแปป แล้วนำชิ้นขนมไปคลุกกับเม็ดถั่วเขียวอีกรอบจะทำให้ขนมได้รูปทรงที่สวยน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 สมัครบาคาร่าฟรีได้ง่ายๆที่นี่เลย

Categories
ขนมไทย

ขนม โสมนัส สูตรขนมไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

สวัสดีค่ะคนรัก การทำขนมไทย ทุกๆคน ในบทความนี้เราจะพาทุกคนย้อนยุคกลับไปในสมัยอยุธยากับ เมนูขนมไทย ที่มีชื่อว่า ขนม โสมนัส ขนมอบยุคแรกเริ่มของไทยที่ทำมาจากไข่ขาว น้ำตาล และมะพร้าวคั่วหอมกรุ่น รสชาติและเนื้อสัมผัสของขนมนั้นจะมีความกรอบ เนื้อเบาคล้ายคลึงกันกับขนมเมอร์แรงก์ เบเกอรี่จากต่างประเทศ แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับขนมอบไทยเมนูนี้กันให้มากขึ้น พร้อมบอกต่อสูตรขนมทำเองได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเลยแม้แต่น้อย

ทำความรู้จัก ขนม โสมนัส ขนมไทยโบราณ ที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น

ขนม โสมนัส

ขนมโสมนัสนั้นถือเป็น ขนมไทยมงคล อีกหนึ่งเมนู เพราะความหมายของคำนี้มาจากภาษาบาลีว่า “โสมมนสส” ซึ่งหมายถึง ความยินดี ความปลาบปลื้ม และในอดีตนั้นยังไม่ได้เรียกด้วยชื่อโสมนัส เหมือนอย่างในปัจจุบัน แต่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเขียนว่า โคมนัส เชื่อกันว่ามีการเรียกเพี้ยนจากวัตถุดิบหลักของขนมอย่าง “โคโคนัท” หรือมะพร้าวนั้นเอง จนเวลาต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อขนมเป็นเหมือนอย่างในปัจจุบัน เพราะเป็นชื่อเรียกที่มีความหมายดี และยังมีความไพเราะเหมาะจะเป็นชื่อของขนมไทยโบราณ

ประวัติความเป็นมาของ โสมนัส

ขนม โสมนัส

จุดเริ่มต้นของ ขนมไทยโบราณ เมนูขนม โสมนัส ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่คนไทยได้มีการติดต่อกับต่างประเทศ โดยผู้คิดค้นสูตรนี้ก็คือ “เท้าทองกับม้า” หรือ “มารี กีมาร์” ราชินีขนมไทย ของเราอีกเช่นเคย โดยได้มีความคิดริเริ่มในการนำไข่แดงมาทำขนมไทย และใช้ไข่ขาวที่เหลือมาดัดแปลงทำเป็นขนมไทยเมนูนี้ให้ส่งต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน

ขนมไทยมงคล ตัวแทนของความปิติยินดี 

ขนม โสมนัส

ขนมโสมนัสแม้จะไม่ใช่หนึ่งใน ขนมไทยตระกูลทอง ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ก็นับว่าเป็น ขนมมงคล ด้วยเช่นกัน เพราะชื่อของขนมสื่อถึงความปิติยินดี ปลาบปลื้มใจ จึงเหมาะที่จะทำขึ้นมาในงานพิธีเฉลิงฉลอง พิธีมงคล งานบุญ งานแต่ง หรือแม้แต่การมอบให้กับคนพิเศษในวันสำคัญ เพื่อเป็นของขวัญอวยพรให้แก่กันและกัน

ความแตกต่างของขนมไทย โสมนัส และเบเกอรี่ เมอร์แรงก์

ขนม โสมนัส

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วในข้างต้นว่าขนม โสมนัส มีความคล้ายคลึงกันกับ ขนมเมอร์แรงก์ เบเกอรี่ยอดนิยมจากต่างประเทศ คือมีรูปร่างภายนอก และเนื้อสัมผัสเบากรอบ ละลายในปากเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดตรงที่ เมนูขนมไทย โสมนัสจะใช้เนื้อมะพร้าวขูดขาวคั่ว ทำให้มีความกรุบกรอบที่แตกต่าง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะพร้าวคั่ว ที่จะส่งกลิ่นคละคลุ้งไปทั่วปากในทุกๆคำที่รับประทาน

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม โสมนัส ขนมอบไทยยุคแรกเริ่ม

ในปัจจุบันขนมโสมนัสไม่ใช่ขนมไทยที่หาทานได้ง่ายทั่วๆไปเหมือนอย่างขนมไทยเมนูอื่นๆ แต่เป็น ขนมไทยหาทานยาก ที่น้อยคนนักจะรู้จักกับ ขนมโบราณ เมนูนี้ ยิ่งกับคนรุ่นใหม่ด้วยแล้ว หากพบเจอเป็นอันต้องแปลกใจกันทุกราย เพราะไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อมาก่อน จึงเป็นขนมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักเป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีการทำนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากเลยแม้แต่น้อย ทุกคนสามารถทำตามได้โดยใช้สูตรที่เรานำมาแนะนำ ดังนี้

ขนม โสมนัส

วัตถุดิบทำ ขนมโสมนัส

  1. มะพร้าวขูดขาว 1+1/2 ถ้วยตวง
  2. ไข่ขาว 3 ฟอง
  3. น้ำตาลทราย 150 กรัม
  4. น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
  5. เกลือ 1/8 ช้อนชา

ขั้นตอนวิธีการทำ โสมนัส สูตรขนมทำง่าย

ขนม โสมนัส
  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ขนมโสมนัส เริ่มต้นจากการตั้งกระทะเทฟล่อนด้วยไฟอ่อนแล้วใส่มะพร้าวขูด-ขาวลงไปคั่ว จนแห้งดี และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เสร็จแล้วปิดเตาพักไว้ให้เย็น
  2. ใส่ไข่ขาว และน้ำมะนาวลงไปในชามผสม ใช้เครื่องผสมอาหารตีต่อด้วยสปีดกลางจนขึ้นฟู จากนั้นทยอยใส่น้ำตาลทรายลงไปในระหว่างตีจนหมด ตามด้วยการใส่เกลือลงไป จากนั้นตีต่อจนตั้งยอด (ในขั้นตอนนี้สามารถใส่ผงโกโก้ ผงชาเขียว หรือสีผสมอาหารลงไปเพิ่มอรรถรสได้ตามชอบนะคะ)
  3. เมื่อส่วนผสมของไข่ขาวได้ที่แล้วให้ใส่มะพร้าวคั่วที่เตรียมไว้ลงไป ตะล่อมให้เข้ากันด้วยไม้พาย เสร็จแล้วนำไปใส่ถุงบีบเตรียมทำขั้นตอนต่อไปได้เลยค่ะ
  4. เตรียมถาดรองอบ รองด้วยกระดาษไข หรือกระดาษรองอบ และบีบขนมลงไปเป็นชิ้นพอดีคำ โดยเว้นระยะห่างให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้ขนมไม่ติดกันจนเกินไป 
  5. วอร์มเตาอบให้เรียบร้อย ก่อนจะนำขนมเข้าไปอบด้วยอุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 50 นาที ครบเวลาแล้วนำออกจากเตาแล้วใช้ไม้พายตักออกมาพักไว้บนตะแกรง และนำมาบรรจุใส่กล่อง หรือนำมารับประทานได้เลยค่ะ

บทสรุป

ขนม โสมนัส

การทำขนมโสมนัส ถือเป็น ขนมอบ ที่ทำได้ง่ายๆมาก ในการทำหนึ่งครั้งสามารถเก็บบรรจุไว้ในกล่อง เพื่อรับประทานในครั้งต่อไปได้นานหลายวัน โดยตัวขนมยังคงความกรุบกรอบอยู่ เหมาะจะทำไว้เพื่อเป็น ของว่างทานเล่น คู่กับชาหรือกาแฟในยามเช้า หรือใครจะทำขายสร้างรายได้ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 เว็บบาคาร่า888

Categories
ขนมไทย

ขนม ลูกเต๋า ขนมไทยมีไส้แสนอร่อย สไตล์ชาวจีนแต้จิ๋ว

ขนม ลูกเต๋า ขนมไทยหาทานยาก ในปัจจุบัน 

ในปัจจุบันนี้ ขนมโบราณ หลายชนิดถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่ได้รับความนิยมมากนักจากคนรุ่นใหม่ ขนม ลูกเต๋า เองก็เช่น เรียกว่าหาทานทั่วไปไม่ได้เหมือนอย่าง เมนูขนมไทย เมนูอื่น หากไม่ได้อาศัย หรืออยู่ในพื้นที่ชุมชนเก่าก็แทบจะไม่รู้จัก และไม่เคยเห็นขนมไทยเมนูนี้มาก่อนเลย เราจึงถือโอกาสพาทุกคนไปรู้จักกับขนมไทยลูกเต๋า พร้อมบอกต่อสูตรวิธีการทำง่ายๆ

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมลูกเต๋า ด้วยกระทะเพียงใบเดียว

ขนม ลูกเต๋า

ขนม ลูกเต๋าหาทานยากก็จริง แต่ขั้นตอนการทำนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย ใครเคยทำขนมเปี๊ยะมาก่อนจะสามารถทำได้โดยง่าย เพราะวิธีการทำไม่แตกต่างกันมากนัก เรียกว่าง่ายกว่าเสียด้วยซ้ำ และหากใครหวนคิดถึง ขนมไทยในวัยเด็ก ก็สามารถเตรียมวัตถุดิบส่วนผสมให้พร้อม ส่วนอุปกรณ์นั้นมีเพียงกระทะเทฟล่อนเพียงใบเดียวก็สามารถ ทำขนมง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้เตาอบ หรือไมโครเวฟเหมือนอย่างขนมเมนูอื่นๆ หากใครพร้อมแล้วไปเริ่มลงมือทำขนมกันได้เลยค่ะ

วัตถุดิบทำ ตัวขนม เปี๊ยะลูกเต๋า

  1. แป้งอเนกประสงค์ 250 กรัม 
  2. น้ำตาลปี๊บ 170 กรัม 
  3. กะทิ 50 กรัม 
  4. น้ำมันคาโนล่า 35 กรัม 
  5. ไข่แดงของไข่ไก่เบอร์2 1 ฟอง
  6. เนยสดเค็ม 15 กรัม
ขนม ลูกเต๋า

 วัตถุดิบทำ ไส้ถั่วกวน

  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือกดิบ 250 กรัม 
  2. น้ำตาลทราย 300 กรัม 
  3. เกลือ 1/4 ช้อนชา 
  4. น้ำมันคาโนล่า 60 กรัม
  5. เนยสดรสเค็ม 40 กรัม

ขั้นตอนวิธีการทำ ขนม ลูกเต๋า ไส้ถั่วกวน

  • ขั้นตอนแรกในการทำขนม ลูกเต๋า เริ่มจากการถั่วเขียวเลาะเปลือกดิบไปล้างด้วยน้ำสะอาด ประมาณ 4 รอบ หรือจนกว่าน้ำจะใสไม่เปลี่ยนสี แล้วแช่น้ำทิ้งไว้เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือข้ามคืน จากนั้นกรองน้ำออกให้หมด และนำถั่วเขียวไปห่อด้วยผ้าขาวบาง นึ่งด้วยน้ำเดือดจัดเป็นเวลา 30 นาที หรือจนกว่าถั่วเขียวเลาะเปลือกจะสุกดี 
  • นำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปบด หรือปั่นให้ละเอียดดี (หากแห้งเกินไปสามารถใส่น้ำเปล่าลงไปได้เล็กน้อย เพื่อให้เครื่องปั่นได้ง่ายขึ้น) หลังจากปั่นจนได้เนื้อถั่วเนียนแล้ว ให้นำมาใส่ลงไปในกระทะเทฟล่อน ตามด้วยน้ำตาลทราย และเกลือ เปิดเตาด้วยไฟกลางแล้วกวนส่วนผสมไปเรื่อยๆจนกว่าส่วนผสมจะละลายเข้ากัน ทยอยใส่น้ำมันลงไปในระหว่างกวนต่อ เมื่อน้ำมันแห้งดีแล้วสุดท้ายใส่เนยสดลงไปกวนต่อจนส่วนผสมแห้ง ร่อนออกจากกระทะ ไม่ติดมือ สามารถนำไปปั้นทำไส้ได้ ปิดเตาพักไว้ให้คลายความร้อน โดยการใส่ภาชนะคลุมด้วยผ้าขาวบางเปียก เพื่อไม่ให้ไส้ขนมของเราแห้งจนเกินไป
ขนม ลูกเต๋า
  • ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำตัวขนม เตรียมหม้อหนึ่งใบใส่น้ำตาลปี๊บ และกะทิลงไป เปิดเตาด้วยไฟอ่อนค่อนกลางแล้วใช้ไม้พายกวนจนน้ำตาลปี๊บละลายเข้ากันได้ดีกับกะทิ ระหว่างนี้ให้คนผสมน้ำมันกับไข่ให้เข้ากัน และใส่เนยสดละลายลงไปกวนต่อให้เข้ากัน หลังจากส่วนผสมได้ที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้วปิดเตา ใส่น้ำมัน และไข่ลงไปกวนให้เข้ากันอีกครั้ง เสร็จแล้วนำใส่ลงไปในชามผสม 
  • ให้ร่อนแป้งอเนกประสงค์ลงไปในชามผสมใบเดียวกันกับขั้นตอนที่ 3 โดยแบ่งทยอยใส่ลงไปในระหว่างนวด 1/3 ของแป้งที่เตรียมไว้ สลับกับการนวดจนกว่าแป้งที่เตรียมไว้จะหมด นวดต่อเป็นเวลาประมาณ 5 นาที ให้เนื้อแป้งเนียนนุ่ม พักไว้โดยการห่อด้วยฟิล์มถนอมอาหารเป็นเวลา 30 นาที
  • เมื่อครบเวลาแล้วให้ปั้นแป้งให้ได้ชิ้นละ 17 กรัม และไส้ 15 กรัม จากนั้นปั้นไส้เป็นวงกลมแล้วแผ่เป็นแผ่นบาง เพื่อห่อหุ้มไส้ขนมให้มิด เสร็จแล้วปั้นคืนรูปให้เป็นวงกลม ทำซ้ำกับส่วนผสมที่เหลือ (หากแป้งแห้งเกินไปสามารถเติมน้ำเปล่าลงไปได้เล็กน้อยแล้วนวดให้เป็นเนื้อเดียวกันเหมือนเดิม)
  • เตรียมกระทะเทฟล่อน ทาด้วยเนยสดละลายให้ทั่ว ก่อนจะเปิดเตาด้วยไฟอ่อนรอให้ร้อนแล้วนำขนมที่ปั้นไว้ลงไปจี่บนหน้ากระทะ ใช้ไม้พายบีบกดลงไปให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกเต๋า เมื่อด้านล่างสุกแล้วให้พลิกไปด้านอื่นๆจนกว่าจะสุกทั่วกันทุกด้าน เสร็จแล้วนำไปวางพักไว้ในตะแกรงจนคลายความร้อน เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ

บทสรุป

ขนม ลูกเต๋า

ก่อนจากกันในบทความนี้ เราขอบอกต่อเรื่องราวของขนม ลูกเต๋า กันต่ออีกสักนิดว่า ประวัติความเป็นมาของ ขนมลูกเต๋า นั้นเป็น ขนมของชาวจีน แต้จิ๋ว และเรียกกันว่า “ปอเต่าเปี้ย” ซึ่งมีความหมายถึง ขนมเปี๊ยะอัญมณี หรืออีกชื่อก็คือ “เตาแจ่เปี้ย” ซึ่งหมายถึงขนมเปี๊ยะลูกเต๋า มักจะมีขายทั่วไปในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน หากใครได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวควรลองทานแบบต้นตำรับกันดูนะคะ

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 สมัครได้เลยไม่ต้องเสียเวลารอนาน

Categories
ขนมไทย

เปิดสูตรลับ บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน ขนมโบราณ กรอบนอก นุ่มใน 

บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน เป็นขนมที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าว ซึ่งสมัยก่อนขนมบ้าบิ่นได้รับอิทธิพลมาจากขนมของประเทศโปรตุเกสที่มีชื่อว่า เกลชาดาช เดอ กรูอิงบรา แต่คนไทยได้นำมาปรับสูตรขนมใหม่จากเนยแข็งมาเป็นมะพร้าวอ่อน และมีการเรียกชื่อของขนมเพี้ยนจากเดิมคือ ขนมป้าบิ่นมาเป็นขนมบ้าบิ่นในปัจจุบัน

แชร์ ขนม บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน สูตรดั้งเดิมตามต้นตำรับชาววัง ทำทานกันได้ทั้งครอบครัว

บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน

เปิดตัวขนมโบราณชื่อแปลกแต่รสชาติอร่อยสุดๆ นั่นก็คือ ขนมบ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน เป็นอีกหนึ่งขนมหวานของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน สำหรับสูตรบ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน เป็นสูตรบ้าบิ่นโบราณที่มีวัตถุดิบเพียงแค่มะพร้าวอ่อนกับข้าวหเหนียว และเพิ่มความหวานด้วยน้ำตาล เพียงเท่านี้ก็จะได้ ขนมบ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน ที่รสหวาน และหอมกลิ่นมะพร้าวที่ลงตัวสุดๆ สำหรับในวันนี้จะเราจะมาแชร์สูตรบ้าบิ่นกรอบนอกนุ่มใน โดยใช้วัตถุดิบดังนี้

  1. แป้งข้าวเหนียวขาว 300 กรัม
  2. น้ำตาลทราย 200 กรัม
  3. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  4. เนื้อมะพร้าวอ่อน 150 กรัม
  5. น้ำเปล่า 100 กรัม
  6. กะทิสด ½ ถ้วย
บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน

ในส่วนของวัถตุดิบของขนมบ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน สามารถใช้แป้งข้าวเหนียวขาวผสมกับแป้งข้าวเหนียวดำเล็กน้อย เพื่อให้ขนมมีสีสันที่น่าทานมากยิ่งขึ้น สำหรับวิธีการทำขนมไทยสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. ในขั้นตอนแรก นำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ กะทิสด และเนื้อมะพร้าว จากนั้นเติมน้ำลงไปเล็กน้อย ทำการนวดแป้งให้เข้ากัน ถ้าแป้งแห้งเกินไปสามารถเติมน้ำลงไป เพื่อให้น้ำตาล และเกลือละลายจนหมด
  2. นำกระทะขึ้นตั้งไฟปานกลาง จากนั้นทาน้ำมันพืชที่กระทะบางๆ เมื่อกระทะร้อนได้ที่แล้ว ใช้ช้อนตักขนมที่เตรียมไว้ลงไปหยอดลงไปให้เป็นวงกลมทอดจนกว่าขนมจะสุกทั้ง 2 ด้าน จากนั้นตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ 
บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน

ถ้าอยากเพิ่มความนุ่มหนึบ และกรุบกรอบของขนมมากขึ้น สามารถใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนเพิ่มลงไป เพียงเท่านี้ก็จะได้ ขนมบ้าบิ่นตามสูตรขนมไทยโบราณรสชาติหวานหอม กรอบนอกนุ่มใน หอมกลิ่นมะพร้าวกำลังดี

เคล็บลับเพิ่มความอร่อยขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน ทานได้ทุกวัน อร่อยเหมือนเดิม

บ้าบิ่น มะพร้าว อ่อน

ถ้าใครเบื่อขนมบ้าบิ่น มะพร้าว อ่อนแบบสูตรดั้งเดิม วันนี้เราจะมาแชร์เคล็บเพิ่มความอร่อยให้ทุกคนได้ทำตาม โดยขั้นแรกเตรียมวัตถุดิบเหมือนกันกับสูตรบ้าบิ่นแบบโบราณ จากนั้นเติมผงมันม่วงเพิ่มลงไปผสมให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี นำไปทอดในกระทะตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อขนมสุกทั่ง 2 ด้าน ตักใส่จานพักไว้ให้เย็นก็เป็นเสร็จสิ้นกับขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อนผสมมันม่วง ซึ่งบ้าบิ่นถือว่าเป็นอีกขนมมงคลที่ทำทานให้งานมงคลในสมัยก่อน อีกทั้งยังเป็นขนมไทยมงคลที่หาทานค่อนข้างยากในปัจจุบัน ถ้าใครอยากลองทำขนมหวานบ้าบิ่นก็สามารถทำตามสูตรของเราได้เลยไม่ผิดหวังแน่นอน

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://sa-game.bet/เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเย เว็บพนันและคาสิโนออนไลน์ที่คนเล่นเยอะที่สุด

Categories
ขนมไทย

ขนม ผกากรอง ขนมดอกไม้สีหวาน ที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมไทยโบราณ

เมนูขนมหวานรูปทรงดอกไม้สุดแสนจะน่ารักน่าเอ็นดู เมนูนี้มีชื่อว่า ขนม ผกากรอง ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นขนมไทยฟิวชั่น หรือขนมไทยสมัยใหม่ที่ได้นำเอาสูตรขนมไทยดั้งเดิม มาปรับปรุงดัดแปลงสูตรให้เกิดขนมไทยเมนูใหม่ขึ้นมา ให้สวยงามน่ารับประทาน เข้ากับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นสมควรที่จะหยิบยกเอาเมนูนี้มาขึ้นแท่น บอกต่อให้ทุกคนได้รู้จัก และได้ลองทำตามกันแบบง่ายๆในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จักกับ ขนม ผกากรอง ขนมไทยสมัยใหม่ สีสันสวยงาม

ขนม ผกากรอง

นับว่าเป็นน้องใหม่ในวงการ ขนมไทย เนื่องจากพึ่งจะถูกคิดค้นสูตรขึ้นมาได้ไม่นานมานี้ และได้ถูกเผยแพร่ให้ทุกคนได้รู้จักในปี พ.ศ. 2557 โดยเมนูนี้ถูกดัดแปลงมาจาก ขนมช่อแก้ว ของสมาชิกในกลุ่มแบ่งปัน สูตรขนมไทย โดยคุณกาแฟดำดำ จนเวลาต่อมา อาจารย์สำเร็จ วรรณพิรุณ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนั้นได้นำสูตรไปปรับปรุง และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ผกากรอง”

ผกากรอง ขนมไทยความหมายดี

ชื่อของ ขนมไทย ผกากรอง สื่อถึงดอกผกากรองที่เป็นลักษณะของตัว เมนูขนมไทย เมนูนี้ที่จับจีบได้อย่างสวยงาม และมีสีสันสดใสน่ารับประทาน คำว่า ผกากรอง หมายถึง ความสดใสเบิกบานเหมือนดั่งดอกไม้ จึงเหมาะจะนำไปมอบเป็นของขวัญให้กับคนพิเศษในโอกาสต่างๆ เช่น วันเกิด วันครบรอบ วันสำคัญ หรือทำเป็น ขนมไทยมงคล ในงานเลี้ยง งานบุญ หรือในงานมงคล เป็นต้น

ขนม ผกากรอง

ความแตกต่างของขนมช่อแก้ว และผกากรอง

ขนมไทยชนิดนี้ถูกประยุกต์มาจาก ขนมช่อแก้ว โดยทำให้มีรูปร่างเป็นรูปทรงจับจีบคล้ายดอกผกากรองสวยงาม และรสชาติที่อร่อยถูกปากมากยิ่งขึ้น และวัตถุดิบในการทำจะมีความคล้ายคลึงกันกับ ขนมอาลัว ส่งผลให้เนื้อสัมผัสของขนมเหมือนกันกับขนมอาลัวสด คือมีความนุ่ม ยืดหยุ่น หวานละมุนลิ้นนั้นเอง

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม ผกากรอง ขนมไทยหลากสีสัน

วัตถุดิบสำหรับทำ ขนมผกากรอง ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบที่คน ทำขนมไทย หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ไม่ได้มีความแตกต่างจากขนมไทยชนิดอื่น แต่จะมีความหลากหลายที่ตัว ไส้ขนม สามารถใส่ไส้อะไรก็ได้ เช่น ถั่วแดงกวน ถั่วเหลืองกวน ทองหยอด หรือไส้อื่นๆตามชอบ ในบทความนี้เราใช้เป็น ไส้ถั่วกวน สูตรทำเอง อร่อยพอดี ไม่หวานเลี่ยนจนเกินไป เข้ากันได้ดีกับตัวแป้งแบบสุดๆ 

ขนม ผกากรอง

วัตถุดิบทำ ขนมช่อผกากรอง

  1. แป้งเค้ก 2 ถ้วยตวง
  2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
  3. หัวกะทิ 500 มิลลิลิตร
  4. น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง
  5. สารแต่งกลิ่นกลิ่นมะลิ 1/4 ช้อนชา
  6. สีผสมอาหารตามชอบ
  7. เกล็ดน้ำตาลเคลือบสี สำหรับตกแต่ง

วัตถุดิบทำ ไส้ถั่วกวน 

  1. ถั่วเขียวซีกดิบ 500 กรัม
  2. หัวกะทิ 500 กรัม
  3. น้ำตาลทราย 450 กรัม
  4. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  5. แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนวิธีการทำ ไส้ขนมผกากรอง

  1. ขั้นตอนแรกในการทำขนมไทยผกากรอง เริ่มจากการทำไส้ถั่วกวนของขนม โดยการนำถั่วเขียวซีกมาล้างด้วยน้ำสะอาด 3 – 4 รอบจนกว่าน้ำจะใส จากนั้นแช่น้ำทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง เมื่อครบเวลาแล้วให้กรองน้ำออก และถั่วเขียวนำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง ก่อนจะนำไปนึ่งด้วยน้ำเดือดจัดเป็นเวลา 30 นาที หรือจนกว่าถั่วจะสุกดี
  2. หลังจากถั่วเขียวสุกได้ที่แล้วให้นำไปบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด เสร็จแล้วนำไปเทใส่กระทะเทฟล่อน ตามด้วยหัวกะทิ น้ำตาลทราย เกลือป่น และแป้งมัน คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วเปิดเตาด้วยไฟกลางค่อนอ่อน กวนต่อจนกว่าส่วนผสมจะเดือด ปรับลดไฟลงเป็นไฟอ่อน กวนต่อจนถั่วแห้งร่อนไม่ติดกระทะ ได้ที่แล้วปิดเตาพักไว้ให้เย็นสนิท
  3. นำถั่วกวนที่เย็นแล้วใส่ลงไปในถาด ใช้น้ำมันถูให้ทั่วมือก่อนทำการนวดไส้ถั่วกวนให้เนื้อเนียน ปั้นเป็นก้อนกลมขนาด 10 กรัม จนกว่าไส้จะหมด พักไว้เตรียมทำขั้นตอนต่อไป โดยคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วแห้งแตก
ขนม ผกากรอง

ขั้นตอนวิธีการทำ ขนม ผกากรอง

  1. ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการทำตัวขนม ให้นำแป้งเค้กใส่ลงไปในชามผสม ตามด้วยหัวกะทิที่เตรียมไว้ น้ำตาลทราย น้ำเปล่า และสารแต่งกลิ่นมะลิ ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียว ก่อนจะเทแป้งที่ผสมเรียบร้อยแล้วใส่ลงไปในกระทะเทฟล่อน เปิดเตาด้วยไฟอ่อน กวนแต่งอย่างต่อเนื่องจนแป้งสุกดี และจับตัวเป็นก้อน ไม่ติดกระทะ เสร็จแล้วปิดเตาพักไว้ให้เย็น
  2. นำแป้งที่เย็นแล้วมานวดให้เนื้อเนียน และตัดแบ่งให้เท่ากันตามจำนวนสีผสมอาหารที่เลือกใช้ และใส่สีผสมอาหารลงไปผสมนวดให้เข้ากัน 
  3. ปั้นแป้งเป็นรูปวงกลมขนาด 15 กรัม (หากใครต้องการทำหลายสีในดอกเดียว สามารถหยิบแป้งแต่ละสีมาปั้นผสมกันได้เลยนะคะ) จากนั้นกดให้บางเพื่อใส่ไส้ด้านใน และปั้นคลึงให้กลมตามเดิม ก่อนจะใส่ลงไปในถ้วยวุ้น และใช้แหนบจีบช่อม่วงหัวใบไม้จับจีบแถวแรกด้านล่างสุดให้รอบ ตามด้วยการทำซ้ำในแถวต่อไป จนเป็นรูปกลีบดอกไม้สลับกันอย่างสวยงาม
  4. เมื่อขึ้นรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้วางเกล็ดน้ำตาลเคลือบสีตกแต่งตรงกลางเป็นเกสรของดอกไม้ เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น นำไปจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://gclubspecial168.com แหล่งรวมพนันและคาสิโนออนไลน์ เว็บตรงไม่ผ่านเอเยนต์ เชื่อถือได้

Categories
ขนมไทย

ขนม ต้ม แดง ขนมโบราณ อร่อย ควรค่าแก่การอนุรักษ์

ขนม ต้ม แดง

เมนูขนมไทยของเราในบทความนี้คือ ขนม ต้ม แดง ขนมพื้นบ้าน ของประเทศไทยนับว่าเป็นขนมที่ถูกส่งต่อสูตรกันมาให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานมายาวนานหลายร้อยปี ให้ได้ทำรับประทานกันในครัวเรือน และทำร่วมกันในงานบุญประเพณี พิธีสำคัญต่างๆทางศาสนา เช่น งานบายศรีสู่ขวัญ วันไหว้ครู ฯลฯ โดยเมนูนี้เป็นเมนูที่เหมาะกับมือใหม่ หัดทำขนมไทย แบบง่ายๆ ใช้เวลาทำไม่นาน แต่รสชาติอร่อยคุ้มค่าที่ทำมากเลยทีเดียว ดังนั้น เราจึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ เมนูขนมต้ม แบบไทยๆ ตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับขนม พร้อมขั้นตอนวิธีการทำขนม

แนะนำ ขนม ต้ม แดง ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว

ขนมต้มแดง คือ ขนมไทยโบราณ ที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว เนื้อมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลมะพร้าว ทำให้ตัวขนมนั้นมีสีแดงจากน้ำตาลมะพร้าวสมชื่อ ลักษณะของ ขนม ต้มแดง เป็นแป้งแผ่นกลมแบน โรยด้วยมะพร้าวทึนทึกเคี่ยวกับน้ำตาลรสชาติหวานฉ่ำ เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม ผสานความกรุบกรอบของเนื้อมะพร้าว พร้อมกลิ่นหอมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่าอร่อยทานเพลินไม่มีเบื่อกันเลยทีเดียว

ขนม ต้ม แดง

ประวัติความเป็นมาของ ขนมต้มแดง ขนมที่เกิดขึ้นมาพร้อมศาสนา และตำนาน

หากจะให้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ ขนมต้ม คงต้องย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัยเลยทีเดียว เพราะเกิดขึ้นพร้อมๆกันกับศาสนาพราหมณ์ และลัทธิเกี่ยวกับเทพเจ้า ในอดีตนั้นมีความเชื่อกันว่าเป็น ขนมไทย ที่พระพิฆเนศทรงชื่นชอบ จนมีเรื่องเล่าที่เป็นตำนานว่า ครั้งหนึ่งพระพิฆเนศทรงเสวย ขนมต้มแดง จนเต็มท้อง เมื่อได้ขี่หนูกลับตำหนักแล้วหนูไปเจอเข้ากับงู เกิดความตกใจจึงหยุดลง พระพิฆเนศถึงกับต้องตกจากหลังหนูพุงแตก แต่กลับเสียดายขนม จนต้องหอบโกยเข้าไปเก็บไว้ในพุงดังเดิม และใช้งูตัวนั้นพันรอบพุงไว้นั่นเอง

ขนมที่ปรากฏในเพลง พิธีสู่ขอในสมัยโบราณ

ขนมต้มแดง เป็น ขนมไทยมงคล ที่มีบทบาทในพิธีสำคัญทางศาสนา เช่น พิธีบวงสรวงเทวดา ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ ถวายแด่องค์พระพิฆเนศเพื่อขอพรให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงพิธีมงคลอย่างพิธีแห่ขันหมากสู่ขอด้วย จนถูกนำ ชื่อของขนมไทย เมนูนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในเพลงสู่ขอสมัยโบราณ ชื่อว่า “เพลงพวงมาลัย” โดยมีเนื้อความส่วนหนึ่งว่า  “โอ้ละเหยลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไป พ่อแม่ท่านเลี้ยงมายาก จะกินขันหมากให้ได้ ไม่ได้กินหนมต้มอมน้ำตาล น้องไม่รับประทานของใคร พวงเจ้าเอ๋ยมาลัย ถอยกลับไปเถิดเอย” ซึ่งเนื้อความนี้กล่าวถึงขนมต้มอยู่สองชนิด คือ ขนมต้มแดง และขนมต้มขาว ขนมที่ขาดไม่ได้เลยในพิธีแห่ขันหมาก

ขนม ต้ม แดง

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมต้มแดง ขนมไทยโบราณ หาทานยาก

ขนมต้มแดง ในปัจจุบันหาทานได้แค่บางพื้นที่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะได้รับความนิยมน้อยกว่าสมัยก่อนอยู่มาก แต่ก็เป็น ขนมไทยทำง่าย ที่มีวัตถุดิบน้อย และขั้นตอนการทำเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น คือ การผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ปั้นแป้งข้าวเหนียวแล้วต้มให้สุก เคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวกับเนื้อมะพร้าวให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปจัดใส่จานเสิร์ฟแบบง่ายๆ ตามสไตล์ ขนมไทย พื้นบ้าน ที่ทำทานได้โดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย ไม่มากมายขั้นตอน ไม่ขอพูดพร่ำทำเพลง เราไปเตรียมวัตถุดิบ พร้อมดูสูตรขนมไทยของเรากันเลยค่ะ

วัตถุดิบทำ ขนมต้มแดง

  1. แป้งข้าวเหนียว 1 ถต.
  2. น้ำเปล่าสำหรับนวดแป้ง ½ ถ้วยตวง
  3. มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 150 กรัม
  4. น้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม
  5. เกลือ 1/3 ช้อนชา
  6. น้ำเปล่า 3 ช้อนโต๊ะ
ขนมต้มแดง

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ขนมต้มแดง เริ่มจากการนำแป้งข้าวเหนียวใส่ลงไปในชามผสม ตามด้วยน้ำเปล่าสำหรับนวดแป้ง ทยอยใส่ลงไปในระหว่างนวดด้วยมือจนส่วนผสมละลายเข้ากัน จนมีเนื้อเนียน และจับตัวเป็นก้อน 
  2. ปั้นแป้งเป็นก้อนกลมขนาดตามต้องการ จากนั้นแผ่ออกให้เป็นแผ่นกลมแบน วางลงไปบนภาชนะที่โรยด้วยแป้งนวล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวขนมติดภาชนะ หรือติดกันจนเกินไป
  3. เมื่อปั้นแป้งจนหมดแล้วให้ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่แป้งลงไปต้มให้สุก หากแป้งชิ้นไหนสุกแล้วจะลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำ ต้มต่ออีกสักครู่เพื่อให้สุกดี จากนั้นตักขึ้นมาน็อคในน้ำเย็น 
  4. ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำ หน้ากระฉีก เริ่มจากการใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไปในกระทะเทฟล่อน ตามด้วยน้ำเปล่า จากนั้นเปิดเตาด้วยไฟอ่อนเคี่ยวน้ำตาลให้ละลาย และใส่เกลือลงไปเคี่ยวต่อให้เข้ากัน เมื่อน้ำตาลเริ่มงวดแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอยลงไปผัดให้แห้ง ตามด้วยส่วนของขนม ข้าวต้มแดง ที่เตรียมไว้ลงไปผัดด้วยกันเป็นเวลา 3 นาที เสร็จแล้วตักใส่จาน เสิร์ฟรับประทานได้เลยค่ะ
ขนมต้มแดง

บทสรุป

ขนมต้มไทย ที่ได้รับความนิยมทำรับประทานในครัวเรือน มีอยู่สองชนิด คือชนิดแรก ขนมต้มแดง ที่มีลักษณะเป็นขนมแผ่นแป้งกลมบางผสมผสานกับเนื้อน้ำตาลมะพร้าวขูดฝอย คลุกกับน้ำตาลมะพร้าวจนมีสีแดงน่ารับประทาน และ ขนมต้มขาว ที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวเช่นกัน แต่จะมีลักษณะเป็นก้อนกลม มีไส้มะพร้าวเคี่ยวน้ำตาลรสหวานด้านใน ใช้วิธีการต้มจนสุกแล้วโรยด้วยมะพร้าวขูด มักจะนำมารับประทานคู่กันเพื่อตัดรส

สนับสนุนโดย : https://ufaball.bet/เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์

Categories
ขนมไทย

ขนม ไข่ปลา ขนมโบราณ หนึ่งในขนมหาทานยาก

ขนม ไข่ปลา

สวัสดีคนรักขนมไทยทุกๆคนค่ะ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ขนมไทยพื้นบ้าน อีกหนึ่งชนิดที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด ซึ่งขนมไทยที่เรากำลังจะกล่าวถึงคือ ขนม ไข่ปลา สีเหลืองนวล ขนมรูปร่างเป็นเส้นไขว้พาดกัน คล้ายกับไข่ของปลาสลิด เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แถมยังเป็นขนมไทยที่หาทานได้ยากมาก มีเพียงบางเจ้าที่ ทำขนมไทยขาย เท่านั้นในปัจจุบัน หลายคนจึงไม่เคยได้พบเจอ หรือรู้จักกับขนมไทยชนิดนี้

ขนม ไข่ปลา ขนมพื้นบ้านของจังหวัด สุพรรณบุรี อ่างทอง

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า เมนูขนมหวาน ของเราในบทความนี้ ไม่ได้หาทานได้ง่ายๆเหมือนขนมไทยทั่วไป หากอยากรับประทาน ขนมไข่ปลา สูตรต้นตำรับ ต้องเดินทางไปไกลถึงจังหวัดสุพรรณบุรี หรือจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นจังหวัดที่นิยมทำ ขนมไทยโบราณ เมนูนี้ เพราะเป็นจังหวัดที่มีการปลูกต้นตาลเยอะ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการ ทำขนมไทย เมนูนี้ (แต่หากใครอยากทานก็สามารถใช้สูตรที่เรานำมาบอกต่อ ทำทานเองได้ง่ายๆ)

ขนม ไข่ปลา

ประวัติความเป็นมาของ ขนมไข่ปลา ขนมมงคลสีเหลืองนวล

ขนมไข่ปลา มีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนา ในอดีตมักจะทำ ขนมไทยมงคล เมนูนี้ประกอบในเทศกาลสำคัญ เพื่อกราบไหว้บรรพบุรุษ และทำถวายวัดในงานบุญประเพณีต่างๆ จนเวลาต่อมาก็ได้มีการดัดแปลง สูตรขนมไทย เพื่อให้อร่อยเข้ากับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น โดยยังคงใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และทำขึ้นเพื่อเลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง

บอกต่อความอร่อยของ ขนมไข่ปลา 

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งใน ขนมไทยโบราณ แต่ ขนมไข่ปลา นั้นมีความพิเศษแปลกใหม่ ไม่แพ้ขนมไทยยอดนิยม เรียกได้ว่าเป็น ขนมโบราณ ที่ไม่โบราณสมชื่อ รสชาตินั้นอร่อยล้ำไปไกลมาก ในหนึ่งชิ้นประกอบด้วยรสชาติ หวาน มัน เค็ม เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่มกำลังดี กรุบเนื้อมะพร้าวทึนทึก ผสานกลิ่นหอมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเนื้อตาล ใครได้ทานสักครั้งต่างต้องติดใจกันทุกๆราย

ขนม ไข่ปลา

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมไทยหาทานยาก

ขั้นตอนการทำ ขนมไข่ปลา นั้นนอกจากขั้นตอนกาเตรียมเนื้อตาลแล้ว สำหรับมือใหม่ หัดทำขนม สามารถใช้เนื้อตาลสุกสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปแทนการทำเองได้ เพื่อความง่าย และสะดวกในการทำมากยิ่งขึ้น และหากใครไม่ชอบทานเนื้อตาลก็สามารถปรับสูตร โดยการใช้ฟักทองสุกแทนได้ จึงนับได้ว่าไม่ได้มีความยาก หรือซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย ในขั้นตอนการทำที่เรานำมาแนะนำจึงใช้เวลา ทำขนม ไม่นาน เพียงต้องอาศัยเทคนิคทางศิลปะเล็กน้อย เพื่อปั้นขนมให้มีรูปร่างคล้ายไข่ปลา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญ 

วัตถุดิบทำ ตัวขนมไข่ปลา

  1. เนื้อตาลสุก 4 ช้อนโต๊ะ
  2. มะพร้าวทึนทึกขูดนึ่ง ปริมาณตามชอบ
  3. น้ำเปล่า

วัตถุดิบทำ น้ำเชื่อม

  1. น้ำเปล่า 500 มิลลิลิตร
  2. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
  3. ใบเตย 1 มัด
  4. เกลือ 1/2 – 1 ช้อนชา
ขนมไข่ปลา

ขั้นตอนวิธีการทำ ขนมไข่ปลา โรยหน้ามะพร้าวทึนทึก

  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ขนมไข่ปลา เริ่มจากการใส่แป้งทั้งสองชนิด คือ แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวเจ้าลงไปในชามผสม ตามด้วยเนื้อตาลสุก จากนั้นนวดคลุกเคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันจนสามารถปั้นได้ ระหว่างนวดให้ทยอยใส่น้ำลงไปเล็กน้อย เพื่อให้ส่วนผสมไม่แห้งจนเกินไป เสร็จแล้วห่อชามผสมด้วยฟิล์มถนอมอาหาร พักไว้เป็นเวลา 20 นาที เพื่อให้แป้งอิ่มน้ำ และนิ่มมากยิ่งขึ้น
  2. ระหว่างรอให้นำเนื้อมะพร้าวทึนทึกมาห่อด้วยผ้าขาวบาง ก่อนจะนึ่งให้ร้อนเป็นเวลา 5 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้มะพร้าวเสียง่าย
  3. เมื่อพักแป้งไว้จนครบเวลาแล้วให้ปั้นขนมเป็นรูปไข่ปลา โดยปั้นให้เป็นเส้นแล้วบีบปลายเส้นเข้าหากันให้เป็นรูปเป็นร่าง ปั้นต่อจนกว่าส่วนผสมที่เตรียมไว้จะหมด
  4. ใส่น้ำเปล่า และน้ำตาลทรายลงไปในหม้อ ก่อนจะเปิดเตาด้วยไฟอ่อนค่อนกลาง ใส่ใบเตยลงไปเคี่ยวด้วยกันจนกว่าส่วนผสมจะละลายทั้งหมด จากนั้นแบ่งน้ำเชื่อมส่วนหนึ่ง (ประมาณ 3 ทัพพี) ใส่ชามผสม ผสมน้ำเปล่าลงไปเล็กน้อย เพื่อเก็บไว้แช่ขนมไข่ปลา เสร็จแล้วให้ปรุงรสน้ำเชื่อมในหม้อด้วยเกลือเล็กน้อย คนให้ละลายเข้ากัน
  5. ปรับไฟเป็นอ่อนแล้วนำตัว ขนมไข่ปลา ที่เตรียมไว้ใส่ลงไปต้มในหม้อ เมื่อด้านที่โดนน้ำสุกแล้วให้กลับด้านขนม ทำการต้มต่อจนกว่าจะสุกดี และนำไปแช่ในน้ำเชื่อมที่แบ่งไว้เป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้ตัวขนมเงางามขึ้น
  6. ตักตัวขนมไข่ปลาที่เตรียมไว้มาคลุกกับเนื้อมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ก่อนจะนำไปจัดใส่จานให้สวยงาม เป็นอันเสร็จสิ้น รับประทานได้เลยค่ะ
ขนมไข่ปลา

บทสรุป

สูตรขนมไข่ปลา ของเราในบทความนี้ คงทำให้หลายคนได้ทำความรู้จักกับ เมนูขนมไทย เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเมนู รวมถึงๆรู้ว่าการ ทำขนมไทย ที่มีสูตรส่งต่อความอร่อยกันมารุ่นสู่รุ่น ขั้นตอนต่างๆนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด แถมยังสามารถนำสูตรขนมเหล่านี้มาทำขายสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และโพสต์ขายในโลกออนไลน์ได้ทันที ยิ่งเป็นขนมที่หาทานได้ยากด้วยแล้ว รับรองว่าขายง่ายขายดีแน่นอนค่ะ

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888

Categories
ขนมไทย

ขนม ข้าว แต๋น ขนมไทยดั้งเดิมที่ใช้ข้าวเหนียว

ขนม ข้าว แต๋น

ขนม ข้าว แต๋น ขนมไทยโบราณ ของทางภาคเหนือ ตัวขนมเป็นรูปวงกลมทำมาจากข้าวเหนียวนึ่ง ซึ่งนิยมรับประทานกันทั้งประเทศไทย เราจึงมักจะพบเจอ ขนมไทยข้าวแต๋น ได้ในภาคอื่นๆด้วยเช่นกัน และสำหรับคนที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน ขอบอกเลยว่าต้องลองรับประทานกันดูสักครั้ง ด้วยรสชาติที่หวานหอมของน้ำตาลโรยหน้าที่แห้งสนิท แต่ยังคงความหนึบคล้ายคาราเมล ผสมผสานกับเนื้อสัมผัสของข้าวเหนียวที่ผ่านการทอดมาจนกรุบกรอบ นับว่าอร่อยทานเพลินจนหยุดทานไม่ได้เลยทีเดียว

แนะนำ ขนม ข้าว แต๋น ขนมของฝาก จากจังหวัดลำปาง

สำหรับ ขนมข้าวแต๋น นั้น นับว่าเป็น ขนมของฝาก ขึ้นชื่อของภาคเหนือ มักจะนิยมทำเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง นักท่องเที่ยว หรือผู้มาเยือนยังพื้นที่ และหากใครได้มีโอกาสได้ไปท่องเที่ยวภาคเหนือในช่วงงานทำบุญใหญ่ หรือที่เรียกกันว่างานบุญล้านนา ชาวบ้านในพื้นที่ก็มักจะทำประกอบในพิธีด้วย และด้วยความนิยมของขนมข้าวแต๋น จึงกลายเป็น ขนมทำขาย สร้างรายได้ให้กับชาวลำปาง และชาวบ้านภาคเหนือได้อย่างมหาศาล

ขนม ข้าว แต๋น

ประวัติความเป็นมาของ ข้าว แต๋น

ข้าวแต๋น ประวัติ ความเป็นมานั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หรือใครเป็นผู้คิดค้น สูตรขนมไทย ขนมข้าวแต๋น ขึ้นมา จึงยังเป็นข้อสันนิษฐานมาจนถึงปัจจุบัน บ้างก็บอกว่าพบหลักฐานบางชิ้นที่บ่งบอกว่ามีแหล่งกำเนิดที่ประเทศจีน บ้างก็บอกว่าเกิดขึ้นในวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยบังเอิญเก็บข้าวเหนียวเหลือจากการรับประทานมาตากแห้ง แล้วนำมาทอดเพื่อถนอมอาหารให้เก็บรับประทานได้เป็นเวลานาน และยังมีอีกแหล่งข้อมูลกล่าวถึงการทำข้าวเหนียวเพื่อพกติดตัวไปรับประทานประทังชีวิตในช่วงสงครามอีกด้วย

ขนมข้าวแต๋น กับขนมนางเล็ด แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนคงเคยสงสัยว่า ขนมข้าวแต๋น กับ ขนมนางเล็ด เป็นขนมไทยชนิดเดียวกันหรือไม่ และขนมทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเราขอตอบเลยว่าเป็นขนมชนิดเดียวกัน โดยชื่อ ข้าวแต๋น นั้นเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันของคนภาคเหนือ ส่วนชื่อ นางเล็ด นั้นเป็นชื่อที่รู้จักกันดีของคนภาคอื่นๆ นั้นเอง

ขนม ข้าว แต๋น

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ให้อร่อยหวานดั่งใจ 

หากใครเคยรับประทาน ขนมข้าวแต๋น มาก่อนแล้วจะรู้ดีว่าความอร่อยของ ขนมไทยพื้นบ้าน เมนูนี้อยู่น้ำตาลโรยหน้า เรียกว่าใครชอบทาน ของหวาน แล้วมักจะหยิบชิ้นที่โรยหน้าด้วยน้ำตาลเยอะๆก่อนชิ้นอื่นๆ เราจึงได้นำ สูตรข้าวแต๋นน้ำแตงโม รสชาติหวานอร่อยทั้งส่วนของตัวขนม และที่สำคัญเมื่อทำรับประทานด้วยตัวเองก็สามารถโรยหน้าน้ำตาลได้เยอะตามความต้องการ โดยสูตรของเราก็มีดังนี้

วัตถุดิบทำ ข้าวแต๋น

  1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงูใหม่ (ล้างให้สะอาดแล้วแช่น้ำข้ามคืน) 500 กรัม 
  2. น้ำแตงโม (แตงโมหั่นชิ้นปั่นละเอียด) 200 มิลลิลิตร 
  3. หัวกะทิ 50 มิลลิลิตร
  4. น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 3 ช้อนโต๊ะ
  5. เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
  6. ใบเตยมัด 1 มัด
  7. น้ำมันปาล์มสำหรับทอด 1 ขวด

วัตถุดิบทำ น้ำตาลโรยหน้าข้าวแต๋น

  1. น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลปี๊บ 450 กรัม
  2. น้ำตาลทรายแดง 100 กรัม
  3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  4. น้ำเปล่า 40 มิลลิลิตร
ขนมข้าวแต๋น

ขั้นตอนวิธีการทำ ข้าวแต๋นน้ำแตงโม

  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ขนมข้าวแต๋น ตั้งหม้อนึ่งใส่น้ำและใบเตยมัดลงไปต้มให้เดือดด้วยไฟกลางค่อนแรง ก่อนจะใส่ข้าวเหนียวเขี้ยวงูคลุมด้วยผ้าขาวบางลงไปในซึ้ง และนึ่งต่อด้วยน้ำเดือดจัดเป็นเวลาประมาณ 30 นาที หรือจนกว่าข้าวจะสุกดี
  2. ระหว่างรอให้มาปรุงรสน้ำแตงโมด้วยกะทิ น้ำตาลไม่ฟอกสี และเกลือป่น คนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดี เสร็จแล้วให้นำไปมูนกับข้าวเหนียวสุก โดยการเทข้าวเหนียวเขี้ยวงูที่นึ่งเสร็จแล้วลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันกับน้ำแตงโม จากนั้นพักไว้เป็นเวลา 20 นาที เพื่อให้ข้าวเหนียวดูดซึมน้ำแตงโมเข้าไป
  3. เมื่อพักไว้จนครบเวลาแล้วให้เตรียมกระด้งทาด้วยน้ำมันพืชบางๆ (เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวขนมติดกระด้ง) และใช้ช้อนจุ่มน้ำเล็กน้อยตักข้าวเหนียวใส่ลงไปในพิมพ์คุกกี้ หรือพิมพ์อื่นๆ จุ่มน้ำก่อนใช้ด้วยเช่นกัน (หากหาไม่ได้สามารถใช้ฝากะปิ หรือฝาขนมแทนได้นะคะ) ใช้ช้อนเกลี่ยข้าวเหนียวใส่พิมพ์พอให้เกาะกัน และคว่ำวางลงในกระด้งให้เป็นชิ้นวางให้มีระยะห่างกันเล็กน้อย นำไปตากแดดร้อนจัดเป็นเวลา 2 วัน หรือจนกว่าข้าวเหนียวจะแห้งสนิท
  4. ตั้งกระทะใส่น้ำปาล์มสำหรับทอดลงไป เปิดเตาด้วยไฟแรงจัดวอร์มให้น้ำมันร้อนแล้วปรับเป็นไฟกลาง จากนั้นนำข้าวลงไปทอดให้เหลืองกรอบ แล้วกลับด้านเพื่อให้สุกทั่วกันทั้งสองด้าน เมื่อสุกแล้วให้นำไปพักไว้ในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน 
  5. ขั้นตอนต่อมาเป็นขั้นตอนการทำ น้ำตาลโรยข้าวแต๋น เริ่มต้นจากการนำน้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายแดง เกลือ และน้ำเปล่าใส่ลงไปในหม้อ จากนั้นเปิดเตาด้วยไฟกลาง เคี่ยวให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดีแล้วปิดเตายกลงมาคนให้ข้นได้ที่ และใช้ช้อนตักส่วนผสมโรยหน้าขนมได้ตามชอบ รอให้น้ำตาลเซทตัวแล้วนำไปรับประทาน หรือแพ็คใส่ภาชนะได้ทันที
ขนม ข้าว แต๋น

บทสรุป

ปัจจุบันการทำ ขนมข้าวแต๋น นั้นถูกปรับสูตรให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้เลือกทำเลือกซื้อกันอย่างจุใจ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวแต๋นหลากสี ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ข้าวแต๋นหมูหยอง ข้าวแต๋นใบเตย ข้างแต๋นธัญพืช ข้าวแต๋นพริกเผา ฯลฯ และการทำข้าวแต๋น 1 ครั้ง ยังสามารถเก็บไว้ได้ 1–2 สัปดาห์เลยทีเดียว

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ