Categories
ขนมไทย

ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์

ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์
ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์

ขนมเรไรเป็นขนมไทยโบราณที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เกิดขึ้นในพระราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 2 มีหลักฐานคือการที่ถูกกล่าวถึงในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ดังนี้ “รังไรโรยด้วยแป้ง เหมือนนกแกล้งทำรังรวง โอ้อกนกทั้งปวง ยังยินดีด้วยมีรัง ” คาดว่าชื่อเรไรนี้คงมีที่มาจากลักษณะของขนมที่คล้ายรังของตัวเรไรที่ม้วนสานกันไปมา อีกทั้งเสียงในขณะที่บีบแป้งจากพิมพ์ยังมีเสียงจี๊ด ๆ เล็กน้อย เหมือนเสียงของจิ้งหรีดหรือลูกนกที่อยู่ในรัง และถือเป็นภูมิปัญญาของชาววังที่สร้างสรรค์ขนมไทยหลากหลายชนิดสืบต่อกันมาจนให้เราได้พบเจอและรับประทานกันในปัจจุบัน

ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์
ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์

วัตถุดิบในการทำขนมเรไร สีสันสวยงาม

ขนมเรไรมีวัตถุดิบหลักคือ แป้ง กะทิ มะพร้าว น้ำตาล และในส่วนของสีสันที่หลากหลายนั้นสามารถใช้สีจากธรรมชาติ เช่น ใบเตย กระเจี๊ยบ อัญชัน หรือจะใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารก็ได้เหมือนกัน หากกล่าวถึงรสชาตินั้นก็นับเป็นอีกหนึ่งขนมไทยที่มีความอร่อยไม่แพ้ขนมชนิดอื่น จากความนุ่มนิ่มละมุนลิ้น ความลงตัวของงาและกะทิ รวมถึงความหอมของน้ำลอยดอกมะลิที่หอมชื่นใจไม่น้อย

ส่วนผสมตัวขนมเรไร

  1. แป้งข้าวเจ้า ปริมาณ 2 ถ้วย
  2. แป้งท้าวยายม่อม ปริมาณ 1/4 ถ้วย
  3. แป้งมันสำหรับทำแป้งนวล
  4. น้ำลอยดอกมะลิ ปริมาณ 1 ถ้วย
  5. หางกะทิ(มะพร้าวขาว) ปริมาณ 1 ถ้วย
  6. สีผสมอาหาร หรือสีธรรมชาติก็ได้ตามความสะดวกและความชอบเฉพาะตัว

เครื่องประกอบทานคู่กับขนม

  1. หัวกะทิข้น (คั้นจากมะพร้าวขาว 500 กรัม ) ปริมาณ 1/2 ถ้วย (ตั้งไฟอ่อน)
  2. เกลือป่น ปริมาณ 1/2 ช้อนชา (ผสมรวมกันกับหัวกะทิข้างบน)
  3. น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วย
  4. งาขาวและงาดำ คั่วบุบพอแตก ปริมาณ 1/2 ถ้วย (เคล้าให้เข้ากันกับน้ำตาลทรายข้างบน)
  5. มะพร้าวทึนทึกขูดฝอยนึ่งผสมกับเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ ปริมาณ 2 ถ้วย (นึ่ง 7-10 นาที)
ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์
ขนมเรไร รังไร ขนมไทยในพระราชนิพนธ์

วิธีการทำขนมรังไร ขนมที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน

ในปัจจุบันนั้นหาทานได้ยากแล้ว เนื่องจากวิธีการทำนั้นต้องใช้ความประณีตพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ขั้นตอนที่ยากที่สุดคือขั้นตอนการทำเส้นของขนมเรไร ซึ่งหากทำตามขั้นตอนที่มีแต่โบราณในหนึ่งวันนั้นสามารถทำได้เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น จึงไม่นิยมทำขายกันในปัจจุบัน เราจึงมีสูตรที่ทำง่ายขึ้นมาแนะนำให้คุณได้ทำตามกัน สำหรับคนที่อยากลองชิม และคนที่ต้องการจะนำไปทำขายเพื่อสร้างอาชีพ

    1. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อมบดก่อนเล็กน้อย มาผสมกันในถ้วยอะลูมิเนียมหรือชามผสม ใส่กะทิสลับกับน้ำลอยดอกมะลิในขณะที่นวด นวดต่อจนแป้งและส่วนผสมทั้งหมดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นแบ่งแป้งเป็นส่วน ๆ ใส่ถ้วยในประมาณเท่า ๆ กันตามจำนวนสีที่ต้องการใช้
    2. ผสมสีผสมอาหารเล็กน้อยเพื่อให้เป็นสีอ่อน ๆ พาสเทลน่ารับประทาน ใช้ช้อนหรือทัพพีคนให้แป้งและสีเข้ากัน
    3. ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่แป้งที่ผสมสีแล้วลงไปกวนด้วยไม้พาย กวนเรื่อย ๆ จนแป้งเหนียว ร่อนจากกระทะ หลังจากนั้นนำแป้งไปนวดกับแป้งนวลนวดจนกว่าจะเป็นเนื้อเดียวกัน ทำซ้ำแบบเดียวกันกับแป้งสีอื่น ๆ ที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นนำมาปั้นไว้เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเท่าเหรียญ 10
    4. นำก้อนแป้งกลมที่ปั้นไว้มากดใส่พิมพ์เรไร โดยนำแป้งนวลรองก่อน แล้วค่อย ๆ กดลงไปให้แป้งออกมาเป็นเส้น ๆ และใช้มือหรือส้อมตะล่อมให้เข้ากันเป็นลักษณะกลมเล็กน้อย จากนั้นใช้มีดตัดปลายแป้งออกจากพิมพ์ ทำซ้ำจนกว่าแป้งจะหมด
    5. เตรียมซึ้งนึ่งโดยนำใบตองมารองก่อนจะใส่ตัวรังเรไรของเราลงไป เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือดจัดเป็นเวลา 3 – 4 นาที แล้วยกออกมาพักไว้
    6. ระหว่างรอให้ตั้งหม้อโดยใช้ไฟปานกลาง ใส่กะทิ เกลือป่น ลงไปกวนให้เข้ากันให้พออุ่น แล้วยกออก มาจัดเสิร์ฟคู่กับขนมเรไร มะพร้าวทึนทึกขูดฝอยผสมเกลือเล็กน้อย และน้ำตาลผสมกับงาทั้งสองชนิด เพียงเท่านี้ก็ได้ขนมเรไรแสนอร่อยมาทานกันแล้วค่ะ
Categories
เบเกอรี่

ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด

ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด
ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด

หลายคนเมื่อเห็นรูปร่างหน้าตาลักษณะของเบเกอรี่ชนิดนี้แล้ว มักจะเรียกว่าเอแคลร์ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าขนมที่เราเรียกกันอย่างติดปาก แท้จริงแล้วคือ ชูครีม ส่วนเอแคลร์นั้นจะต่างกัน ด้วยลักษณะที่เป็นทรงยาวราดด้วยช็อกโกแลต และกาแฟ เหมือนกันตรงแป้งที่ใช้แบบเดียวกัน และมีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสเหมือนกัน ชูครีมนั้นแต่เดิมมีชื่อว่า “ชู อา ลาเคร์ม” ซึ่งมีความหมายว่า กะหล่ำปลีที่มีครีม ตามรูปร่างที่คล้ายกะหล่ำปลีนั่นเอง และถูกนำเข้ามาในเมืองไทยในปี พ.ศ. 2443 เนื่องจากในปีนั้นชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาในประเทศไทย และได้ทำเอแคลร์และชูครีมรับประทาน โดยมีคนไทยเข้าไปช่วยทำ จนได้รู้สูตร และชื่อของขนม แต่เพราะชื่อที่เรียกยาก คนไทยนั้นจึงเรียกขนมทั้งสองนี้ว่า เอแคลร์ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกัน เป็นเหตุให้เข้าใจผิดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด
ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด

วัตถุดิบสำหรับการทำชูครีม เบเกอรี่สอดไส้

ชูครีมนั้นเป็นเบเกอรี่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีขายทั่วไปในประเทศไทย เพราะมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มนิ่ม เข้ากันกับครีมที่สอดไส้อยู่ข้างใน กลิ่นหอมละมุน ลักษณะเล็กกลม หยิบเคี้ยวเพลินจนลืมตัวเลยละค่ะ ในปัจจุบันนั้นถูกนำมาดัดแปลงสูตรให้มีความหลากหลากมายขึ้น เช่น ชูครีมสตรอว์เบอรี่ , ช็อกโกแลต วานิลลา ไข่เค็ม ทุเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยราคาซื้อขายเองก็แตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ราคาที่ถูก ไปจนถึงราคาแพง ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น การตกแต่ง แบรนด์ รวมไปถึงวัตถุดิบที่นำมาใช้ ซึ่งในวันนี้เราก็มีสูตรดี ๆ มาแนะนำให้ได้ทำกัน เริ่มจากวัตถุดิบ ซึ่งเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

วัตถุดิบสำหรับทำแป้งชูครีม

  1. เนยสดเค็ม 35 กรัม
  2. น้ำเปล่า 80 กรัม
  3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  4. แป้งสาลีชนิดพิเศษ 55 กรัม
  5. ไข่ไก่ 2 ฟอง

วัตถุดิบสำหรับทำไส้ครีมคัสตาร์ด

  1. ไข่แดง 1 ฟอง
  2. น้ำตาลทราย 45 กรัม
  3. นมสด 130 กรัม
  4. วิปปิ้งครีม 30 กรัม (สำหรับใช้ผสมไส้คัสตาร์ด)
  5. แป้งสาลีชนิดพิเศษ 10 กรัม 
  6. วิปปิ้งครีม 200 กรัม (สำหรับใช้ตีครีม)
  7. กลิ่นวานิลลา 1/2 ช้อนชา
  8. น้ำตาลไอซิ่ง
ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด
ชูครีม นุ่มนิ่ม สอดไส้ เบเกอรี่ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด

วิธีทำชูครีมไส้คัสตาร์ด นุ่ม หวาน หอม อร่อยเพลิน

เราเชื่อว่าหลายคนนั้นเคยทานชูครีม แต่ไม่เคยทำรับประทานเอง จะดีกว่าไหมหากเราสามารถทำเบเกอรี่รับประทานเอง โดยไม่ต้องเสียเงินมากมาย และไม่ต้องเสียความรู้สึกหากซื้อแล้วรสชาติไม่ถูกปาก เมื่อได้ทำเองจะสามารถปรับสูตรได้อย่างตามใจชอบ ชอบหวานใส่หวาน ชอบมันใส่มัน ชอบเปรี้ยวก็สามารถเพิ่มได้เอง แล้วแต่เราจะรังสรรค์ ดังนั้น เราไปทำชูครีมกันเลยค่ะ

  1. เริ่มจากการทำแป้งชู โดยใส่ เนยสดเค็ม น้ำเปล่า เกลือป่น ใส่ลงไปในหม้อ ตั้งไฟกลาง และใช้ไม้พายคนจนส่วนผสมเริ่มเดือด จากนั้นใส่แป้งสาลีชนิดพิเศษลงไปคนต่อให้เข้ากัน จนมีเนื้อนุ่ม เสร็จแล้วนำไปใส่ภาชนะและใช้ไม้พายคนให้คลายความร้อน 
  2. เมื่อแป้งเริ่มอุ่นแล้ว ให้นำไข่มาตีและเทลงไปผสมทีละนิดและคนให้เข้ากันจนกว่าไข่จะหมด จากนั้นนำไปใส่ถุงบีบโดยใช้หัวบีบแบบแฉก 
  3. เตรียมถาดอบและรองด้วยกระดาษลองอบ บีบครีมลงไปในถาด ให้เป็นทรงสวยงาม เสร็จแล้วเคาะถาดเล็กน้อยให้แป้งที่บีบลงไปขยายตัว ฉีดน้ำใส่เล็กน้อย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
  4. นำไปอบที่อุณภูมิ 200 องศาเซลเซียส ไฟบนล่าง เป็นเวลาประมาณ 30 – 35 นาที จนตัวแป้งพอง เสร็จแล้วนำออกมาพักไว้ให้เย็น
  5. ทำไส้ครีมคัสตาร์ด โดยใส่ไข่แดง น้ำตาลทราย แป้งสาลี นมสด วิปปิ้งครีม ใช้ตระกร้อคนให้ส่วนผสมเข้ากัน และนำขึ้นตั้งไฟ คนจนส่วนผสมมีลักษณะข้นหนืดและยกเราจากเตา จากนั้นนำไปกรอง
  6. มาถึงขั้นตอนการตีครีม ใส่วิปปิ้งครีม และกลิ่นวนิลลาตีให้ดขกันด้วยเครื่องผสมอาหาร จนส่วนผสมฟูตั้งยอด จากนั้นใส่คัสตาร์ดที่เย็นแล้วลงไปคนด้วยไม้พายให้เข้ากัน นำไปใส่ถุงบีบ โดยใช้หัวบีบสำหรับบีบไส้
  7. ทิ่มหัวบีบไส้ลงไปในตัวขนมที่พักไว้จนแน่น จัดใส่จานโรยด้วยน้ำตาลไอซิ่ง และนำไปแช่เย็นให้เซตตัว เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้วค่ะ
Categories
ขนมไทย

นำเสนอขนมวัยเด็ก ขนม ถัง แตก สูตรโบราณ แป้งนุ่มฟู หวานพอดี

ขนม ถัง แตก

มาย้อนวันวานไปเที่ยวงานวัดหาขนมอร่อยๆ ทานกันบ้าง และขนมที่ได้รับความนิยมในวัยเด็กคือ ขนม ถัง แตก รสชาติหวานอร่อยกำลังดี ซึ่งขนมถังแตกทำมาจากแป้งข้าวเจ้า และกะทิ หรือในบางสูตรจะใส่พร้าวขูดผสมกับงาดำ แต่ปัจจุบันมีการทำขนมให้ชวนทานด้วยการโรยหน้า ฝอยทอง ข้าวโพด เผือก และลูกเกด รสชาติอร่อยสีสันสดใสทานได้อิ่มอร่อยทั้งวัน 

สอนขั้นตอนการทำ ขนม ถัง แตก สูตรขนมแป้งฟู หอมอร่อยกลิ่นงาคั่ว 

ขนม ถัง แตก

มีหลายคนที่ชอบทานขนม ถัง แตก แป้งนุ่มเป็นอย่างมาก แต่ทุกวันนี้ขนม ถังแตกค่อนข้างหาทานได้ยาก โดยเฉพาะในเขตชุมชนจะไม่ค่อยมีขายมากนัก อีกทั้งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมทานขนมเบเกอรี่มากขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจะมาเอาใจสาวกขนมถังเงิน หรือขนมถังแตกด้วยการพามาทำขนมสูตรแป้งนุ่มฟูอัดแน่นด้วยไส้หวานๆ ล้นทะลักทานได้แบบไม่อั้น

วัตถุดิบ และส่วนผสมที่ต้องเตรียม

  1. น้ำเปล่า 500 มิลลิลิตร
  2. กะทิ 130 กรัม
  3. แป้งข้าวเจ้า 400 กรัม
  4. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 180 กรัม
  5. น้ำตาลทราย 180 กรัม
  6. กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  7. ยิสต์ 1 ช้อนชา
  8. ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
  9. ไข่ไก่ 1 ฟอง
ขนม ถัง แตก

ส่วนผสม และวัตถุดิบของน้ำตาลโรยหน้า

  1. น้ำตาลทราย 180 กรัม
  2. งาขาวคั่ว 40 กรัม
  3. งาดำคั่ว 40 กรัม

ส่วนผสม และวัตถุดิบของไส้ที่ต้องเตรียม

  1. ฝอยทอง ½ ถ้วยตวง
  2. เผือก ½ ถ้วยตวง
  3. มันม่วง ½ ถ้วยตวง
  4. ข้าวโพด ½ ถ้วยตวง
  5. มะพร้าวทึนทึก 200 กรัม

ขนมถังแตกสามารถทำได้หลากหลายไส้ ดังนั้นใครชอบไส้อะไรก็สามารถใส่ได้แบบไม่อั้น และก่อนที่จะลงมือทำขนมต้องทำการคั่วงาเตรียมไว้ก่อน เพื่อจะได้ทำขนมได้สะดวกมากขึ้น ในส่วนวิธี ทำ ขนม ถัง แตกฉบับทำเองที่บ้านสามารถทำตามได้ดังนี้

ขนม ถัง แตก
  1. ทำการทำหมักแป้งขนมด้วยการแบ่งน้ำเปล่าประมาณ 100 มิลลิลิตร นำไปเข้าไมโครเวฟให้อุ่น จากนั้นคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย ใส่ยิสต์ลงไปผสมให้เข้ากัน และทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
  2. นำน้ำเปล่า เกลือ น้ำตาล ใส่ในภาชนะ ส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน เมื่อน้ำตาลละลายหมดแล้วให้ใส่แป้งสาลีอเนกประสงค์ และแป้งข้าวเจ้า ตะล่อมให้เข้ากัน ใส่ไข่ไก่ กลิ่นวานิลลา หัวกะทิ และส่วนผสมของยีสต์ที่เตรียมไว้ ตะล่อมใส่ผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ทยอยเติมน้ำ และผงฟูลงไปจนหมดแล้วใช้ไม้พายตะล้อมแป้งให้เข้ากันอีกครั้ง พักแป้งให้อิ่มตัวประมาณ 3 ชั่วโมง 
  3. นำมะพร้าวขูดไปนึ่งประมาณ 5 นาที แล้วมาคลุกกับเกลือ จากนั้นนำงามาผสมกับน้ำตาลพักไว้ก่อน นำเผือก มันม่วง และข้าวโพด นำมานึ่งให้สุก พักไว้ก่อน
  4. นำกระทะมาตั้งเตา ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย พอให้กระทะร้อยใส่แป้งที่เตรียมไว้ ปิดฝาทั้งไว้ประมาณ 2 นาที ใส่ไส้ต่างๆ ที่เตรียมไว้ จากนั้นพับแป้งเข้าหากันตักใส่จาน
ขนม ถัง แตก

สำหรับสูตร ขนม ถัง แตกที่เรานำมาให้ทำตามเป็นสูตรแป้งนุ่มจึงทำให้ขนมที่ได้มีเนื้อแป้งนุ่มฟู และหากใส่ไส้ต่างๆ ลงไปยิ่งเพิ่มความน่าทานมากขึ้นเลยทีเดียว แถมรสชาติหวาน นุ่มลิ้นอร่อยกำลังพอดี ดังนั้นหากใครอยากลองทำขนมถังแตกทานย้อนวัยเด็ก แนะนำสูตรขนม ถัง แตก โบราณของเราได้เลยอร่อยเหมือนทานตอนเด็กแน่นอน

หมายเหตุ! ทำขนม ถัง แตก ให้รสชาติหวานอร่อย เหมือนทานที่ร้าน

ขนม ถัง แตก

การทำขนม ถัง แตกเองที่บ้านทำง่ายก็จริง แต่ในขั้นตอนทำขนมถัง แตก โบราณโรยหน้าด้วยน้ำตาลจะต้องระวังอย่าให้น้ำตาลละลาย โดยต้องให้แป้งขนมที่ทำเสร็จแล้วเย็นตัวก่อน แล้วค่อยใส่มะพร้าว งาคั่ว และโรยน้ำตาลทรายลงไปทีหลัง ไม่เช่นนั้นหากโรยน้ำตาลลงไปในขณะที่แป้งยังร้อนอยู่จะทำให้น้ำตาลละลายได้ เพียงแค่นี้ก็จะได้ก็ขนมถังแตกสูตรไส้มะพร้าวหวานกรุบกรอบแสนอร่อยอิ่มท้องนาน แถมยังสามารถทานได้ตลอดทั้งวันไม่มีเบื่อ 

อ่านบทความอื่นๆ:

Categories
เบเกอรี่

คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก

คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก
คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก

หลายคนอาจไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้จักขนมเบเกอรี่สัญชาติฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก และเกือบจะหายไปตลอดกาล ซึ่งมีชื่อว่า “คานาเล่” หรือ Canelé เบกอรี่ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ชิ้นนี้มีถิ่นกำเนิดในเมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 โดยเกิดจากโรงงานผลิตไวน์นั้นได้บริจาคไข่แดงให้กับแม่ชีท่านหนึ่ง แม่ชีจึงได้คิดค้นขนมชนิดนี้ขึ้นมา และนำไปแจกให้กับผู้ที่มีฐานะยากจน เมื่อสำนักชีได้ปิดตัวลง สูตรของขนมก็ได้หายไปด้วย ต่อมาได้มีพ่อครัวขนมอบได้ค้นพบสูตรนี้ และได้ทำขายจนได้รับความนิยม 

คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก
คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก

วัตถุดิบในการทำคานาเล่ เบเกอรี่กรอบนอกนุ่มใน

ขนมคานาเล่นั้นมีเนื้อสัมผัสที่กรอบนอกนุ่มใน หอมกลิ่นใหม่ และกลิ่นวานิลลาผสมกัน เมื่อนำมารับประทานกับไวน์แล้วอร่อยเข้ากันเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากเป็นขนมหวานที่มีส่วนผสมของเหล้ารัม จึงไม่เหมาะกับเด็กมากนัก หรือใครจะงดการใส่เหล้ารัมก็ได้ แต่อาจจะทำให้ขาดเอกลักษณ์ที่สำคัญของเบเกอรี่ชิ้นนี้ไป และวัตถุดิบในการทำก็มีดังนี้

  1. นมสดจืด 360 มิลลิลิตร
  2. ไข่ไก่ 70 กรัม
  3. น้ำตาลทรายขาว 150 กรัม
  4. แป้งอเนกประสงค์ 100 กรัม
  5. เหล้ารัม 20 มิลลิลิตร
  6. กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก
คานาเล่ เบเกอรี่ฝรั่งเศสที่หาทานได้ยาก

ขั้นตอนวิธีการทำแบบง่าย ๆ แต่ต้องหมักแป้งเป็นเวลานาน

สำหรับใครที่อยากลองรับประทานเบเกอรี่ คานาเล่ ขอบอกเลยว่าหาทานได้ยากมากนอกประเทศฝรั่งเศส แต่ในวันนี้ด้วยสูตรวิธีการทำของเรา คุณไม่ต้องบินไปทานไกลถึงประเทศต้นกำเนิด เพราะสามารถทำเบเกอรี่คาเน่เล่ทานได้ที่บ้านได้แบบง่าย ๆ แต่ต้องใช้เวลาหมักแป้งนานข้ามวันกันเลยทีเดียว

  1. ตั้งหม้อด้วยไฟอ่อนแล้วใส่นมสดรสจืดลงไปต้มให้ร้อน ระหว่างนี้ให้ใส่ไข่ไก่ และน้ำตาลทรายลงไปตีให้เข้ากันในชามผสมด้วยตะกร้อมือ ต่อด้วยการเติมแป้งอเนกประสงค์ลงไปคนให้เข้ากัน แล้วทยอยเทนมร้อนของเราลงไปผสม และคนจนกว่าจะเข้ากันทั้งหมด จากนั้นใส่เหล้ารัม และกลิ่นวานิลลาลงไปคนเล็กน้อย จากนั้นห่อชามผสมด้วยกระดาษห่ออาหาร นำไปแช่ตู้เย็นเป็นเวลา 24 ชม.
  2. เมื่อเราหมักแป้งจนครบเวลา ให้ทาเนยให้ทั่วพิมพ์คานาเล่ ก่อนจะใส่แป้งที่เราหมักไว้ลงไป (ก่อนเทให้คนส่วนผสมก่อนนะคะ) โดยเทให้เหลือที่ว่างไว้เล็กน้อยเผื่อขนมของเราฟูขึ้นตอนอบค่ะ
  3. ก่อนจะนำขนมไปอบให้อุ่นเตาอบด้วยอุณหภูมิ 200 องศา ไฟบนล่าง เปิดพัดลม จากนั้นให้ใส่ขนมของเราเข้าไปอบด้วยอุณหภูมิเท่าเดิม ประมาณ 10 นาที จากนั้นอบรอบสองด้วยอุณหภูมิ 170 องศา ไฟบนล่าง เปิดพัดลม ประมาณ 45 นาที เสร็จแล้วนำออกจากเตาอบ
  4. นำขนมของเราออกจากพิมพ์ พักไว้ให้เย็น และจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ
Categories
ขนมไทย

ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน

ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน
ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน

ขนมกลีบลำดวน หรือขนมดอกลำดวนนั้น ถือเป็นขนมที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของขนมไทยได้อย่างชัดเจน คือ มีรูปลักษณ์เหมือนดอกลำดวนที่สวยงามตามชื่อ แสดงถึงความประณีต และตั้งใจของผู้ทำขนมชนิดนี้ มีกลิ่นหอมหวนชวนชิมของเทียนอบ รสชาติ และเนื้อสัมผัสหวานนุ่มละมุนลิ้น นับเป็นอีกหนึ่งขนมที่ถูกรังสรรค์มาโดย “ท้าวทองกีบม้า” ราชินีขนมไทยของเรานั่นเอง ซึ่งในอดีตนั้นนิยมทำรับประทานกันในวังเท่านั้น จึงถือเป็นขนมที่หาทานได้ยากในอดีต แต่หาทานได้ง่ายในปัจจุบัน โดยจะพบเจอทั่วไปตามตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือร้านขายขนมไทยต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นขนมไทยอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมรับประทานกันไม่แพ้ขนมไทยชนิดอื่น

ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน
ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน

วัตถุดิบการทำขนมไทยโบราณ ขนมกลีบลำดวน

หลายคนอาจจะเข้าใจว่าขนมไทยมงคลนั้นมีเพียง 9 ชนิด นั่นก็คือ ทองหยิบ , ทองหยอด , ฝอยทอง , เม็ดขนุน , ทองเอก , ดาราทอง , ถ้วยฟู , ขนมชั้น , เสน่ห์จันทน์ แต่จริง ๆ แล้วยังมีขนมไทยอีกหลายชนิด รวมถึงขนมกลีบลำดวนที่นิยมนำมาใช้ประกอบในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานเฉลิมฉลอง ฯลฯ เนื่องจากเป็นขนมที่คนในสมัยโบราณนั้นเชื่อกันว่า จะช่วยทำให้มีชื่อเสียง อีกทั้งยังมีชื่อ และหน้าตาที่สวยงามเป็นดอกลำดวนที่เป็นดอกไม้ที่สวย และมีเสน่ห์ สื่อถึงความงดงามของชีวิตคู่อีกด้วย มาถึงตอนนี้หลาย ๆ คนคงรู้จักกับขนมไทยชนิดนี้มากขึ้นแล้ว ดังนั้น เราไปดูวัตถุดิบในการทำของเรากันเลยค่ะ

  1. แป้งสาลีเอนกประสงค์ 450 กรัม 
  2. น้ำตาลทรายไอซิ่ง 180 กรัม
  3. เกลือ 1/2 ช้อนชา
  4. น้ำมันพืช 200 กรัม
  5. สีผสมอาหารตามชอบ
  6. เทียนอบขนม
ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน
ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยรสชาติหวาน กลิ่นหอมควันเทียน

วิธีการทำขนมกลีบลำดวน รสชาติหวานหอมถูกใจ

เอกลักษณ์ของขนมกลีบลำดวน นั่นก็คือ หน้าตาของขนมคล้ายดอกลำดวน ที่ต้องอาศัยความประณีตในการทำให้ออกมาสวยงาม และที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างของขนมไทยชนิดนี้นั่นก็คือ กลิ่นหอมของควันเทียน ซึ่งหากใครจะทำรับประทานด้วยตนเองก็สามารถทำได้ง่าย แต่ต้องใช้เวลาในการทำมากเสียหน่อย เพราะต้องมีการพักแป้ง และอบควันเทียนเป็นเวลานาน สำหรับใครที่อยากลองทำขนมไทยมงคลอย่างขนมกลีบลำดวนกันแล้ว ไปดูขั้นตอนวิธีการทำที่เรานำมาฝากกันในตอนนี้เลยค่ะ

  1. ขั้นตอนแรกนี้ให้เตรียมถ้วยสำหรับผสม และตะแกรงร่อนแป้ง ใส่แป้งสาลี น้ำตาลไอซิ่ง และเกลือลงไปร่อนใส่ถ้วยผสม จากนั้นคนให้เข้ากันด้วยตระกร้อมือ จากนั้นทำหลุมตรงกลางแป้งแล้วเทน้ำมันพืชลงไป ใช้ไม้พายค่อย ๆ ตะล่อมให้ส่วนผสมเข้ากัน
  2. ล้างมือให้สะอาดแล้วทำการนวดแป้งที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ให้เป็นก้อนเดียวกัน (หากนวดแล้วยังไม่จับตัวเป็นก้อน สามารถเติมน้ำมันลงไปเพิ่มได้) เสร็จแล้วคลุมด้วยฟิล์มห่ออาหาร พักไว้เป็นเวลา 2 – 3 ชั่วโมง
  3. เมื่อพักแป้งจนครบเวลาแล้ว นำแป้งมานวดอีกครั้ง จากนั้นแบ่งแป้งออกตามจำนวนสีผสมอาหารที่เราเลือกใช้แล้วหยดสีผสมอาหารลงไปในแป้งเล็กน้อย นวดให้เข้ากัน แบ่งแป้งบางส่วนมาปั้นเป็นวงกลมขนาดเล็กสำหรับทำเกสรดอกลำดวน และแบ่งแป้งส่วนที่เหลือมาปั้นเป็นก้อนกลมสำหรับทำกลีบ จากนั้นตัดแบ่งก้อนกลมของเราออกมาเป็นสี่ส่วน โดยแบ่งออก 1 ส่วน ให้เป็นกลีบดอกลำดวน (หรือหากใครจะทำเป็น 4 กลีบ เพื่อให้สะดวกต่อการทำมากยิ่งขึ้นก็ไม่ต้องแบ่งอีกหนึ่งส่วนออกค่ะ) จากนั้นแปะด้วยเกสร หั่นตรงกลางให้เป็น 4 แฉก แล้วนำไปวางไว้ที่ถาดรองอบ ทำซ้ำจนกว่าแป้งที่เตรียมไว้จะหมด
  4. วอร์มเตาอบให้ร้อน โดยใช้ไฟบนล่าง เปิดพัดลม ด้วยอุณหภูมิ 120 องศา จากนั้นนำแป้งที่เตรียมไว้ในถาดรองอบเข้าไปอบเป็นเวลา 50 – 60 นาที พักไว้ให้เย็นแล้วนำออกจากพิมพ์ได้เลย
  5. เตรียมภาชนะที่มีฝาปิด นำเทียนสำหรับอบขนมใส่ถ้วยขนาดเล็กวางไว้ตรงกลาง และขนมของเราลงไปรอบ ๆ เสร็จแล้วจุดไฟ และดับไฟลงให้ขึ้นควัน จากนั้นปิดฝาได้เลยค่ะ หากใครอยากให้หอมมากยิ่งขึ้นให้อบเพิ่มอีก 1 – 2 ครั้ง หลังจากนั้นนำไปจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ
Categories
เบเกอรี่

Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล

Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล
Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล

ในปัจจุบันนั้นเบเกอรี่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในการนำมารับประทานเป็นอาหารว่าง หรือใช้ประกอบในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น งานเฉลิมฉลอง งานแต่ง วันเกิด ปีใหม่ คริสต์มาส เป็นต้น ในวันนี้เราจึงได้นำ Fruit Cake หรือเค้กผลไม้มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก และลองทำตามกันค่ะ โดยเป็นเค้กจากประเทศอังกฤษที่มีส่วนผสมของเหล้ารัม มีกลิ่นหอมเย้ายวนน่ารับประทาน รสชาติหวานอมเปรี้ยวจากผลไม้แห้งนา ๆ ชนิด 

Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล
Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำ Fruit Cake เบเกอรี่ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน

เบเกอรี่เค้กผลไม้ หรือ Fruit Cake นั้นได้รับความนิยมมากในประเทศแถบสหรัฐอเมริกา และยุโรป มักจะทำกันบ่อย ๆ ในช่วงเทศกาล ด้วยความที่อร่อย นุ่ม ฟู ของเนื้อเค้ก และที่สำคัญยังสามารถแช่เย็นเก็บไว้รับประทานได้เป็นปีเลยทีเดียว ซึ่งล่าสุดนั้นมีข่าวออกมาว่าได้ค้นพบเบเกอรี่นี้ในทวีปแอนตาร์กติกา มีอายุนานถึง 106 ปี และยังสามารถรับประทานได้อยู่ เนื่องจากวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้สามารถยืดอายุของเค้กผลไม้ให้สามารถเก็บไว้ทานได้นานขึ้นค่ะ

  1. ผลไม้แห้งตามชอบ 320 กรัม (หั่นชิ้นเล็กหมักเหล้ารัมในปริมาณเท่ากัน แช่ไว้ในตู้เย็น 1 วัน)
  2. แป้งอเนกประสงค์ 150 กรัม
  3. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา 
  4. ผงอบเชยป่น 1/2 ช้อนชา
  5. เนยสดรสจืดละลายอุณหภูมิห้อง 170 กรัม
  6. น้ำตาลทรายธรรมชาติ 185 กรัม
  7. สารแต่งกลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  8. ไข่ไก่ 3 ฟอง
Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล
Fruit Cake เค้กสุดคลาสสิค นิยมทำในช่วงเทศกาล

ขั้นตอนวิธีการทำเค้กแสนอร่อย หาทานได้ยาก

แม้จะเป็นเบเกอรี่เค้กยอดนิยมในหลาย ๆ ประเทศ แต่ในประเทศไทยนั้นถือว่าหาทานได้ยาก และถึงเราจะหาทาน Fruit Cake ได้ก็มักจะมีราคาที่สูง เนื่องจากต้องใช้เวลาหมักผลไม้แห้งด้วยเหล้ารัมเป็นเวลานาน กว่าสามารถนำมาทำเป็นเค้กผลไม้ให้เราได้รับประทานกันได้ บางสูตรนั้นใช้เวลาในการหมักมากกว่า 7 วัน แต่สูตรที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ เราจะใช้เวลาหมักเพียง 1 วันนะคะ ดังนั้น เราไปดูวิธีการทำกันเลยค่ะ

  1. เตรียมชามผสมแล้วใส่เนยสดรสจืด และทยอยใส่น้ำตาลทรายธรรมชาติลงไปตีด้วยเครื่องผสมอาหารความเร็วปานกลางจนกว่าส่วนผสมทั้งหมดจะละลายเข้ากัน จากนั้นใส่ไข่ลงไปตีทีละฟอง ต่อด้วยการร่อนแป้งอเนกประสงค์ เกลือ และผงอบเชยลงไปตีด้วยความเร็วต่ำสุดแล้วปาดด้วยไม้พายให้เข้ากัน และใส่ผลไม้แห้งที่หมักไว้ลงไปกวนให้เข้ากัน
  2. เตรียมพิมพ์สำหรับอบ รองด้วยกระดาษรองอบ และใส่ส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ลงไป และปาดให้หน้าขนม Fruit Cake ของเราเรียบเนียน
  3. วอร์มเตาอบด้วยอุณหภูมิ 165 องศา ไฟบน – ล่าง ไม่เปิดพัดลม เสร็จแล้วนำขนมเข้าไปเป็นเวลา 10 – 15 นาที เมื่อครบเวลาแล้วให้ลดอุณหภูมิลงเป็น 150 องศา ไฟบน – ล่าง โดยใช้เวลาในการอบประมาณ 1.30 ชั่วโมง
  4. เมื่ออบเสร็จแล้วให้นำออกมาพักไว้ให้เย็นสนิท จากนั้นนำออกจากพิมพ์แล้วตัดแบ่งเป็นชิ้น และจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ
Categories
ขนมไทย

ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีกระแสหันมาอนุรักษ์ขนมไทยกันมากยิ่งขึ้น ทำให้ขนมโบราณในอดีตที่ห่างหายไปอย่างยาวนานจนเราไม่สามารถหารับประทานได้ กลับมาให้เราสามารถหารับประทานได้อีกครั้ง นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เราได้เห็นขนมโบราณในอดีตฟื้นคืนชีพกลับมาให้คนในยุคปัจจุบันได้รับประทานกัน แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังหารับประทานได้ยาก ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาแนะนำสูตรการทำหนึ่งในขนมโบราณที่ฟื้นคืนชีพอีกครั้งนั่นก็คือขนมอินทนิล ลูกพี่ลูกน้องของขนมบัวลอยลูกครึ่งกับขนมเปียกปูนกะทิสด เป็นการผสมผสานรวมเอาสิ่งที่ดีของขนมกะทิเหล่านี้มารวมเอาไว้ด้วยกัน

ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

วัตถุดิบที่ต้องเตรียมสำหรับการทำขนมหยกสด

ขนมอินทนิลเป็นขนมไทยชื่อสวยที่มีชื่อเล่นเรียกง่ายๆ ว่าขนมหยกสด ที่มาเกิดจากการที่ตัวแป้งมีส่วนผสมของน้ำใบเตยทำให้สีของมันออกมามีสีเขียวคล้ายกับอัญมณีอย่างหยกนั่นเอง เป็นขนมที่ทำได้ง่ายและมีวัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่างประกอบไปด้วย

  1. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง หากใช้กะทิคั้นสดให้เลือกใช้เฉพาะหัวกะทิเท่านั้นแต่หากใช้กะทิกระป๋องหรือกะทิกล่องสำเร็จรูปสามารถใช้ได้เลยโดยที่ไม่ต้องแยก
  2. หางกะทิ 3 ถ้วยตวง
  3. น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วยตวง หากต้องการให้มีความหวานน้อยลงก็สามารถปรับลดได้ตามความต้องการ
  4. เกลือป่น 1 ช้อนชา 
  5. เทียนอบควันเทียน
  6. น้ำใบเตยคั้นสด 4 ถ้วยตวง วิธีการคือนำเอาใบเตยสดมาตัดให้เป็นท่อนเล็ก ๆ จากนั้นนำเอาลงไปต้มในน้ำเดือดจัด พักให้เย็นแล้วใช้ผ้าขาวบางกรอง
  7. แป้งมันสำปะหลัง 2 ถ้วยตวง 
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

ขั้นตอนการทำขนมอินทนิล ขนมโบราณระดับเริ่มต้นที่ทำตามได้ทุกคน

แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่ไม่มีทักษะด้านการทำขนมเลยแม้แต่น้อย แต่ขอรับรองได้ว่าคุณจะสามารถทำขนมไทยโบราณอย่างขนมอินทนิลได้อย่างแน่นอน เพราะมันเป็นขนมที่ทำได้ง่ายมาก ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ มันจึงเป็นขนมระดับเริ่มต้นที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่เคยทำขนมมาก่อน ที่อยากจะลองทำขนมไทยเป็นครั้งแรก หรือจะเป็นขนมที่เอาไว้ทำในครอบครัวร่วมกับลูกหลานเป็นกิจกรรมร่วมกันก็ได้เช่นเดียวกัน ขั้นตอนจะประกอบไปด้วย

  1. นำน้ำกะทิใส่ชามหรืออ่างที่มีระดับความสูงมากกว่าปกติ จากนั้นให้นำเอาเทียนอบควันเทียนใส่ในถ้วยขนาดเล็ก ทำการจุดให้มีควัน นำเอาลงไปลอยในน้ำกะทิแล้วปิดฝาอ่างหรือชามไว้ ทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที หากต้องการให้ขนมมีความหอมแบบไทยเดิมสามารถนำเอากระดังงาลนไฟใส่ลงไปด้วยได้
  2. ตั้งหม้อด้วยไฟกลาง นำเอากะทิที่ได้ใส่ลงไปพร้อมกับเกลือป่นและน้ำตาลทราย คนให้เข้ากันจนน้ำตาลและเกลือละลาย คนจนเดือดหลังจากนั้นให้ยกลงมาพักไว้
  3. นำแป้งมาผสมกับน้ำใบเตยในชามผสม คนให้เข้ากันจนแป้งละลายไปกับน้ำใบเตยเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. นำขึ้นตั้งไฟโดยใช้ไฟอ่อน เมื่อหม้อเริ่มร้อนให้นำเอาแป้งใส่ลงไปในหม้อแล้วใช้ไม้พายกวนส่วนผสมตลอดเวลาห้ามหยุดเด็ดขาด เพราะถ้าหยุดขนมจะไหม้ก้นหม้อทันที 
  5. ใช้เวลากวนประมาณ 10 – 20 นาที ตัวแป้งก็จะเริ่มสุก สังเกตได้จากการที่แป้งมีความเหนียวจนยกไม้พายขึ้นมาแล้วมีแป้งติดขึ้นมาด้วย สีของแป้งก็จะใสมากยิ่งขึ้นจนเกือบจะโปร่งแสง
  6. นำเอาหม้อที่มีแป้งสุกแล้วใส่ลงในอ่างที่มีน้ำเย็นและน้ำแข็งเพื่อหยุดความร้อน เพราะหากโดนความร้อนไปเรื่อย ๆ ตัวขนมก็จะแข็งจนไม่สามารถปั้นได้
  7. ขั้นตอนต่อมาต้องอาศัยความอดทนต่อความร้อนเล็กน้อย เพราะเราต้องใช้มือจุ่มน้ำสะอาดจากนั้นให้ไปหยิบแป้งปั้นเป็นก้อนขนาดกำลังพอดีแล้วนำเอาแป้งที่ได้ใส่ลงไปในน้ำกะทิที่เราเตรียมไว้ในขั้นตอนแรก อย่าลืมเอามือชุบน้ำอยู่เป็นประจำเพื่อไม่ให้แป้งติดมือ
  8. ตักขนมและน้ำกะทิใส่ถ้วย เติมน้ำแข็งลงไป หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมสามารถนำเอาดอกมะลิสดล้างสะอาดลงไปลอยในถ้วยได้ เพียงเท่านี้เราก็ได้ขนมหวานเย็นชื่นใจมารับประทานอย่างเอร็ดอร่อย
Categories
เบเกอรี่

English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย

English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย
English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย

เราจะเห็นได้ว่าขนมปังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย และต่างประเทศ ด้วยความที่เป็นเบเกอรี่ที่สามารถทานคู่กับอะไรก็อร่อย ไม่ว่าจะเป็นน้ำชา กาแฟ นม แยม ฯลฯ ก็เข้ากันเป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถพกพาไปทานที่ไหนก็ได้ ทานในเวลาไหนก็ได้ เพราะสามารถทานได้ง่าย และอิ่มท้อง ทานแทนมื้ออาหารหลักได้เลย ในวันนี้เราจึงได้นำสูตรขนมปังอังกฤษที่มีชื่อว่า English Muffin มาให้ทุกคนได้รู้จักค่ะ โดยขนมปังก้อนกลม ๆ นี้สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ มือใหม่เองก็สามารถทำได้

English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย
English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำ English Muffin ขนมปังอังกฤษ

ขนมปังอังกฤษ หรือ English Muffin มีเนื้อสัมผัสกรอบนอกนุ่มใน เป็นเบเกอรี่ขนมปังที่นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เป็นต้น มีรสชาติหวานฉ่ำเนย และมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะตอนทำเสร็จใหม่นั้นน่ารับประทานมากค่ะ ดังนั้น เราไปเตรียมวัตถุดิบกันเลย

  1. เเป้งอเนกประสงค์ 350 กรัม
  2. นํ้าตาลทรายขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  3. ยีสต์เเห้ง 1 + 1/2 ช้อนชา 
  4. เกลือ 1/2 ช้อนชา
  5. นมสดรสจืด 200 มิลลิลิตร
  6. เนยสดรสจืด ละลายอุณหภูมิห้อง 25 กรัม
  7. Corn Grit แป้งข้าวโพดอบแห้งบดหยาบ
  8. น้ำมันพืชเล็กน้อย
English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย
English Muffin ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน ทานกับอะไรก็อร่อย

ขั้นตอนวิธีทำขนมปังอังกฤษง่าย ๆ ไม่ง้อเตาอบ

แม้ว่าจะมีชื่อว่าขนมปัง แต่ก็เป็นเบเกอรี่ที่มีวิธีการทำแตกต่างจากขนมปังทั่วไปที่นิยมใช้วิธีการอบ แต่ English Muffin หรือขนมปังอังกฤษนั้นจะใช้วิธีการทอด หรือปิ้งด้วยกระทะแทนนะคะ จึงสามารถทำได้ง่ายกว่าขนมปังทั่วไป หากใครพร้อมแล้วเราไปดูวิธีการทำง่าย ๆ ของเราเลยนะคะ

  1. เตรียมชามผสมใส่แป้งอเนกประสงค์ น้ำตาลทรายขาว เกลือ และยีสต์แห้งลงไป คนให้เข้ากันด้วยตะกร้อมือ ทำหลุมตรงกลางตัวแป้งแล้วใส่นมสดรสจืด เนยละลายลงไปตรงกลาง ทำการนวดคลึงให้เข้ากันจนมีเนื้อเนียนนุ่ม ไม่เป็นผง และไม่ติดมือ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ต่อด้วยการนวดให้เป็นก้อนกลม นำมาพักไว้ในชามผสม คลุมด้วยฟิล์มห่ออาหาร และพักไว้ 1 ชั่วโมง
  2. เมื่อพักไว้จนครบเวลาแล้วให้โรยผง Corn Grit ให้ทั่ว จากนั้นนำไม้รีดแป้งรีดให้แป้งมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นใช้พิมพ์ตัดแป้งแบบวงกลมตัดลงไปให้เป็นชิ้น ๆ และนำออกมาพักไว้
  3. เตรียมถาดรองอบ รองด้วยกระดาษรองอบ และโรย Corn Grit ลงไปให้ทั่ว นำแผ่นแป้งที่เตรียมไว้วางลงไปให้ห่างกันเล็กน้อย โรยผง Corn Grit อีกครั้งที่หน้าขนม พักไว้ประมาณ 30 นาที
  4. ตั้งกระทะเทฟล่อน เทน้ำมันพืชใส่เล็กน้อย และใช้กระดาษทิชชู่เช็ดออกให้หมด ก่อนจะเปิดเตาด้วยไฟอ่อน เมื่อกระทะร้อนแล้วให้นำแป้ง English Muffin ลงไปทอด โดยใช้เวลาด้านละ 5 นาที หรือจนกว่าแต่ละด้านจะสุก และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทอง จากนั้นช้อนออกมาจากกระทะ มาพักไว้แล้วจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ
Categories
ขนมไทย

ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

ข้าวต้มมัดเป็นขนมไทยที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเรามักจะเห็นเป็นประจำในงานบุญต่าง ๆ ที่เราไปเข้าร่วม ทั้งเห็นขั้นตอนวิธีการทำที่อาจจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเลยก็ว่าได้ เพราะใช้คนจำนวนมากในการร่วมกันทำขนมไทยชนิดนี้ในงานบุญ เช่น งานออกพรรษา เป็นต้น เพื่อนำไปถวายพระ หรือรับประทานกันภายในงาน ซึ่งขนมข้าวต้มมัดนั้นจะถูกนำไปใช้ในการทำบุญตักบาตร เพราะเป็นขนมที่พกพาสะดวก รับประทานง่าย เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์นั้นใช้เป็นเสบียงในการเดินทาง

อีกความเชื่อหนึ่งของขนมข้าวต้มมัดก็คือ ในตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จมาจากสวรรค์ คนในยุคนั้นได้ไปเฝ้าพระองค์กันอย่างมากมาย ทำให้ไม่สามารถไปใส่บาตรได้ครบทุกคน จึงได้ทำข้าวต้มโยนขึ้นไปใส่บาตรแทน ซึ่งก่อนโยนนั้นจะมีการอธิษฐานให้ข้าวต้มได้หล่นลงไปในบาตร ถือเป็นขนมไทยที่มีตำนานเรื่องเล่า และอยู่คู่คนไทยเราเป็นระยะเวลานาน

ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

วัตถุดิบการทำข้าวต้มมัด ขนมไทยหลากหลายชื่อ

ขนมข้าวต้มมัดนั้นถูกเรียกชื่อแตกต่างกันไป และใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันเล็กน้อยตามภูมิภาคในประเทศไทย แต่ยังคงลักษณะของขนมไทยอย่างข้าวต้มมัดที่คล้ายกันอยู่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเรียกว่าข้าวต้มกล้วย สอดไส้กล้วยในตัวขนม , ภาคเหนือนั้นมักจะหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ นำมาคลุกเคล้าด้วยมะพร้าวขูด โรยน้ำตาล เรียกว่า ข้าวต้มหัวหงอก ส่วนข้าวต้มมัดของภาคใต้นั้นจะไม่มีใส้ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นความแตกต่าง และหลากหลายของขนมไทยโบราณ และในตอนนี้เราก็มีสูตรวิธีการทำมาฝากให้ทุกคนได้ลองทำตามกัน แต่ก่อนอื่นต้องไปดูวัตถุดิบของเรากันก่อนนะคะ

  1. ข้าวเหนียว แช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืน และล้างให้สะอาด 1 กิโลกรัม
  2. ถั่วดำแช่น้ำจนนิ่ม และล้างให้สะอาด 250 กรัม
  3. หัวกะทิ 1000 มิลลิลิตร 
  4. น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลมะพร้าว 400 กรัม 
  5. เกลือป่น 2 ช้อนชา
  6. กล้วยน้ำว้าสุกงอมปลอกเปลือก หั่นครึ่ง 1 หวี
  7. ใบเตยเพิ่มความหอม 3 – 4 ใบ
  8. ใบตองตัดพอดีสำหรับห่อข้าวต้มมัด 2 ชั้น ชั้นล่างแผ่นใหญ่ ชั้นบนแผ่นเล็ก
  9. ตอกเส้นยาวสำหรับมัดข้าวต้มมัด
  10. น้ำเปล่าสำหรับนึ่ง
ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
ข้าวต้มมัด ขนมไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

วิธีการทำข้าวต้มมัด มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ข้าวต้มมัดเป็นขนมไทยที่นิยมกันเป็นอย่างมาก ทั้งใช้ในการทำบุญ หรือแม้กระทั่งทำเพื่อรับประทานกันเองที่บ้าน ซึ่งวิธีการทำนั้นก็ง่ายดาย แต่ต้องใช้ความประณีตในการห่อใบตอง เพื่อให้ออกมาสวยงามน่ารับประทาน หลายคนคงเคยทานขนมไทยโบราณชนิดนี้แล้ว แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าในปี พ.ศ. 2557 ข้าวต้มมัดของเรานั้นได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถจับต้องไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สูญหายไป ซึ่งหากใครอยากลองทานกันแล้ว ไปดูสูตรวิธีการทำของเราเลยค่ะ

  1. ขั้นตอนแรกตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่หัวกะทิ และใบเตยเพิ่มความหอม ทำการเคี่ยวจนกว่ากะทิจะแตกมัน เติมเกลือป่นคนให้ละลายแล้วเติมข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ลงไปผัดไปเรื่อย ๆ ให้ข้าวดูดน้ำกะทิจนหมด จากนั้นหรี่ไฟอ่อนแล้วเติมน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลมะพร้าวลงไปผัดต่อให้เนื้อไม่แฉะ ปิดไฟพักไว้ให้อุ่น 
  2. วางถั่วตำลงในใบตอง ตักข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ ใส่กล้วยน้ำว้าลงไปครึ่งชิ้น และใส่ข้าวเหนียวลงไปอีกหนึ่งรอบในปริมาณเท่าเดิม จากนั้นโรยถั่วดำอีกครั้ง ห่อจัดรูปทรงห่อขนมให้สวยงามเป็นรูปสามเหลี่ยม บีบเล็กน้อย และจับให้แห้ง พับมุมสามเหลี่ยมลงมาให้ชิดติดกับขนม จากนั้นพับปลายทั้งสองด้านให้เป็นรูปทรงข้าวต้มมัด เสร็จแล้วพักไว้แล้วไปทำซ้ำกับส่วนผสมที่เหลือในแบบเดียวกันจนกว่าจะหมด
  3. นำขนมที่ห่อเสร็จแล้วสองชิ้นมาประกบกัน บีบให้แน่น และใช้ตอกมัดสองรอบแบบสลับฝั่ง เพื่อให้ตอนนึ่งขนมที่มัดไว้จะได้ไม่แยกออกจากกัน
  4. จัดขนมของเราใส่ซึ้งเตรียมนึ่ง จากนั้นตั้งหม้อนึ่งจนน้ำเดือดแล้วเบาไฟลงเป็นไฟอ่อน จากนั้นนำซึ้งที่เตรียมไว้ลงไปนึ่งพร้อมปิดฝาเป็นเวลา 2 – 3 ชั่วโมง พักไว้ให้อุ่นแล้วจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ
Categories
เบเกอรี่

โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย

โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย
โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย

หากใครชอบเล่นโซเชียลมีเดีย คงจะรู้จักกับเบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่นอย่าง “โมจิหยดน้ำ” หรือ Mizu Shinggen Mochi กันเป็นอย่างดี เพราะเคยเป็นกระแสฟีเวอร์มาแล้วในทุกช่องทางโซเชียล จนหลายคนต้องตามหามารับประทานกันเลยทีเดียว ซึ่งก็เป็นเบเกอรี่สุดฮิตจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่โด่งดังเรื่องขนมสุดแสนจะน่ารัก และน่ารับประทานอยู่แล้ว เมื่อนำเข้ามาในไทยจึงได้รับความนิยมมาก ๆ

โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย
โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย

วัตถุดิบในการทำโมจิหยดน้ำ ขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่น

เนื่องจากความนิยมของโมจิหยดน้ำ เบเกอรี่รูปทรงหยดน้ำ ใสแจ๋ว จากญี่ปุ่น รสชาติหวานละมุนเข้ากันได้ดีกับน้ำเชื่อม และผงถั่วคินาโกะ อร่อยถูกใจทุกเพศทุกวัย ทำให้มีการทำขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่นนี้ขายกันมากมาย หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบออริจินอล แบบแฟนซีน่ารัก ๆ และแบบผลไม้สอดไส้ โดยราคาซื้อขายนั้นเริ่มตั้งแต่ชิ้นละหนึ่งร้อยบาทขึ้นไป หากใครอยากลองทานแบบ Save Cost ละก็ไปดูวัตถุดิบในการทำกันเลยค่ะ

วัตถุดิบทำตัวขนมโมจิหยดน้ำ

  1. น้ำเปล่า 300 มิลลิลิตร
  2. ผงวุ้นญี่ปุ่น 9 กรัม
  3. น้ำตาลทราย 40 กรัม
  4. ผงถั่วคินาโกะ ตามชอบ

วัตถุดิบทำน้ำเชื่อม

  1. น้ำตาลทรายแดงป่นละเอียด 100 กรัม
  2. น้ำเปล่า 50 มิลลิลิตร
โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย
โมจิหยดน้ำ ขนมญี่ปุ่นที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์ในไทย

ขั้นตอนวิธีการทำง่าย อุปกรณ์น้อย

หลังจากเราได้รู้จักวัตถุดิบในการทำกันไปแล้ว เรามาดูขั้นตอนวิธีการทำที่แสนจะง่ายดายของโมจิหยดน้ำกันเลยค่ะ แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะคะว่า แม้คุณจะไม่เคยทำเบเกอรี่เลยก็สามารถทำขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่นชิ้นนี้ได้ เพราะทำง่ายมาก ๆ วัตถุดิบน้อย อุปกรณ์น้อย และไม่สลับซับซ้อนมากขั้นตอน เพียงเรามีความตั้งใจในการทำ เราก็สามารถทำได้แบบง่าย ๆ และได้ขนมสุดน่ารักมารับประทานกันที่บ้าน

  1. ตั้งหม้อโดยใช้ไฟอ่อนใส่น้ำเปล่าลงไป และนำผงวุ้นญี่ปุ่น กับน้ำตาลมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เมื่อน้ำที่ตั้งไฟไว้เริ่มร้อนให้ใส่น้ำตาล และผงวุ้นญี่ปุ่นลงไป รอให้เดือด ระหว่างนั้นให้ใช้ช้อนคนให้ละลายเข้ากัน หากเดือดแล้วเกิดฟองขึ้นมา ให้ช้อนฟองออกให้หมด จากนั้นนำออกจากเตาพักไว้ให้เย็น
  2. ทำน้ำเชื่อมสำหรับทานคู่กับโมจิหยดน้ำ โดยนำน้ำตาลทรายแดงป่นละเอียดใส่ลงไปในหม้อ ใส่น้ำเปล่า และเปิดไฟ เคี่ยวให้ละลายเข้ากันจนข้นเหนียวเล็กน้อย จากนั้นพักไว้
  3. เทส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ลงไปในพิมพ์หยดน้ำ ต่อด้วยการนำไปแช่ตู้เย็นเป็นเวลา 2 – 3 เพื่อให้เป็นรูปทรง และเซตตัวสวยงาม จากนั้นนำออกจากตู้เย็นแล้วจัดใส่จาน จัดเสิร์ฟพร้อมผงถั่ว และน้ำเชื่อมได้เลยค่ะ