Categories
ขนมไทย

ขนมลูกชุบ ขนมไทยที่รังสรรค์ได้ดั่งใจทั้งรูปร่าง และสีสัน

ขนมลูกชุบ ขนมไทยที่รังสรรค์ได้ดั่งใจทั้งรูปร่าง และสีสัน

ขนมลูกชุบ ในอดีตนั้นเป็นขนมประจำถิ่นของชาวโปรตุเกส ใช้อัลมอนด์เป็นวัตถุดิบหลัก ก่อนจะถูกนำมาดัดแปลงเป็นขนมไทยแล้วจึงใช้ถั่วเขียวมาเป็นวัตถุดิบหลักแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์มาอย่างลงตัว ด้วยรสชาติที่อร่อย หวาน มัน สีสันสวยงาม ผสมผสานกับความกรอบนอกของวุ้นหนา และความนุ่มของถั่วเขียวเข้ากันเป็นอย่างดี รับรองเลยว่าหากได้หยิบทานหนึ่งชิ้นแล้วต้องทานซ้ำจนหมดแบบไม่รู้ตัวอย่างแน่นอน

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำขนมลูกชุบผลไม้

หากจะให้พูดถึง ขนมไทยยอดนิยม หลายคนคงนึกถึง ขนมลูกชุบ มาเป็นอันดับแรก ๆ เพราะในปัจจุบันนี้ได้นำเอาลูกชุบมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย บ้างก็นำมาแต่งหน้าเค้ก บ้างก็นำไปปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น อาหารไทย , สัตว์ เสมือนจริงจนแยกไม่ออกเลยว่าเป็นเมนูลูกชุบจริง ๆ ซึ่งเราก็ได้นำสูตรวิธีการทำขนมไทยมาให้ทุกท่านได้ทำตามกันอีกเช่นเคย มาศึกษาวัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำลูกชุบกันได้เลย

วัตถุดิบทำถั่วกวน

  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก 250 กรัม
  2. กะทิ 250 มิลลิลิตร
  3. น้ำตาลทราย  180 กรัม
  4. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  5. สีผสมอาหารตามชอบ

วัตถุดิบทำวุ้น

  1. น้ำเปล่า 700 มิลลิลิตร
  2. ผงวุ้น 25 กรัม
  3. น้ำตาลทราย 80 กรัม

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกนำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 4 รอบ หรือจนกว่าน้ำจะใสแล้วแช่น้ำสะอาดเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นกรองน้ำออกด้วยตะแกรงแล้วนำไปนึ่งด้วยไฟกลาง 30 นาที
  2. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกที่สุกแล้วใส่โถปั่น ตามด้วยกะทิ น้ำตาลทราย และเกลือป่น ทำการปั่นรวมกันจนกว่าส่วนผสมจะละเอียดเข้ากันดี และนำไปใส่กระทะพร้อมกับกะทิ น้ำตาลทราย และเกลือป่นปริมาณเท่าเดิม เปิดเตากวนด้วยไฟอ่อนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียว แห้ง ไม่ติดกระทะ
  3. เมื่อถั่วกวนคลายความร้อนแล้วให้นำมาปั้นเป็นรูปร่างตามชอบ เสร็จแล้วนำไปพักไว้ในถาดคลุมด้วยผ้าขาวบาง (เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อขนมแห้งระหว่างที่ปั้นรูปอื่น ๆ) ทำการผสมน้ำเปล่ากับผงวุ้นให้เข้ากัน พักไว้จนกว่าจะปั้นรูปร่างของถั่วกวนเสร็จ
  4. ผสมสีผสมอาหารกับน้ำเปล่า แล้วทำการนำถั่วกวนที่ปั้นเสร็จแล้วเสียบกับไม้จิ้มฟันก่อนจะจุ่มลงไปในสี และนำไม้จิ้มฟันไปปักไว้ที่โฟม รอจนกว่าสีจะแห้งแล้วเปิดเตาวุ้นด้วยไฟกลาง คนให้ละลายเข้ากันไม่มีเม็ดทรายของผงวุ้น เติมน้ำตาลทรายลงไปคนต่ออีกครั้งให้ละลายดีแล้วปิดเตา จากนั้นช้อนฟองที่ลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำออก
  5. นำถั่วกวนลงไปชุบวุ้นประมาณ 2 รอบ รอให้แห้งแล้วนำวุ้นออกจากไม้จิ้มฟันไปจัดเสิร์ฟรับประทานได้เลย

บทสรุป

ขนมลูกชุบ นอกจากทำแล้วจะได้ขนมหวานอร่อย ๆ ไว้รับประทาน ยังได้เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางศิลปะ แถมยังได้ความสนุกสนานจากขั้นตอนการทำ อีกทั้งหากใครสร้างสรรค์รูปร่างลูกชุบได้แตกต่าง หากทำลูกชุบขายก็อาจสร้างกำไรได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว 

 

 

 

 

เว็บบอล

Categories
ขนมไทย

ขนมตาล ขนมไทยพื้นบ้าน สูตรทำง่ายแป้งนุ่มฟูหอมหวานอร่อย

ขนมตาล ขนมไทยพื้นบ้าน สูตรทำง่ายแป้งนุ่มฟูหอมหวานอร่อย

ขนมไทยพื้นบ้านในปัจจุบันนั้นมีมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และน่าค้นหาอยู่ไม่น้อย ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาอนุรักษ์ขนมไทยไปกับ ขนมตาล ขนมที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นชิ้นเล็ก ๆ สีเหลืองเหมือนลูกตาล เนื้อสัมผัสนุ่ม ฟู ผสานไปกับกลิ่นหอมของลูกตาลซึ่งเป็นเอกลักษณ์ นิยมทำในงานบุญต่าง ๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมตาล สูตรไม่ต้องตากแดด

ขนมตาล หนึ่งในขนมในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในอดีตนั้นมีส่วนผสมหลักที่หาได้ง่ายเพียงสี่อย่างเท่านั้น คือ แป้ง มะพร้าว เนื้อตาล และน้ำตาล เพียงเท่านั้น จนกระทั่งถูกปรับปรุงพัฒนา สูตรขนมตาล ให้มีส่วนผสม และวิธีการทำที่มากขึ้น บรรจุใส่ในกระทงใบตองสีสันสวยงามเข้ากับสีเหลืองของขนม ในบทความนี้เป็น สูตรทำขนมง่าย ๆ ไม่ต้องตากแดด ลดเวลาในการทำขนม

วัตถุดิบทำขนมตาล

  1. เนื้อตาลสุก 350 กรัม
  2. แป้งเค้ก 300 กรัม
  3. แป้งข้าวเจ้า 400 กรัม
  4. น้ำตาลทรายละเอียด 500 กรัม
  5. ยีสต์ ขนมปัง 1 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือ 1/2 ช้อนชา (สำหรับผสมแป้ง)
  7. กะทิ 700 กรัม
  8. มะพร้าวทึนทึก 300 กรัม
  9. เกลือ 1/2 ช้อนชา (สำหรับใส่มะพร้าว)

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกร่อนแป้งเค้ก และแป้งข้าวเจ้าใส่ชามผสม ตามด้วยเนื้อตาลสุกลงไปนวดขยำให้เข้ากันกับแป้ง ทยอยเทน้ำกะทิลงไปนวดต่อจนกว่าจะหมดเพื่อให้แป้งนุ่ม (แบ่งใส่สามครั้ง) ใช้เวลานวด 10 นาที 
  2. ใส่น้ำตาลทรายลงไปนวดต่อในชามผสมแป้งเนียนเป็นเนื้อเนียน ใส่ยีสต์ลงไปเพิ่มความนุ่มฟู และเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ ใช้มือคนทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นคลุมชามผสมด้วยฟิล์มถนอมอาหาร พักแป้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แป้งฟู
  3. เมื่อครบเวลาแล้วให้นำถ้วยตะไลจัดวางในซึ้งให้เต็มก่อนจะตักเนื้อแป้งหยอดใส่ลงไป โดยเหลือพื้นที่บนถ้วยไว้เล็กน้อยเผื่อให้เนื้อขนมฟูขึ้น โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือ ก่อนจะนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุกดี เสร็จแล้วนำออกมาพักให้เย็นแล้วรับประทานได้เลยค่ะ

บทสรุป

เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ทำให้แม่ค้าหลายคนมักจะใส่เนื้อตาลในปริมาณน้อย ในปัจจุบันนี้เราจึงสามารถหาซื้อ ขนมตาล ที่มีรสชาติดีได้ยากมาก เราจึงขอแนะนำให้ทุกคนทำ ขนมไทยพื้นบ้าน เพื่อให้ได้รับประทาน ขนมหวาน ที่รสชาติดี กลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น รับรองได้เลยว่าอร่อยแบบไม่มีผิดหวังแน่นอน

 

 

 

เว็บบอล