ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีกระแสหันมาอนุรักษ์ขนมไทยกันมากยิ่งขึ้น ทำให้ขนมโบราณในอดีตที่ห่างหายไปอย่างยาวนานจนเราไม่สามารถหารับประทานได้ กลับมาให้เราสามารถหารับประทานได้อีกครั้ง นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เราได้เห็นขนมโบราณในอดีตฟื้นคืนชีพกลับมาให้คนในยุคปัจจุบันได้รับประทานกัน แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังหารับประทานได้ยาก ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาแนะนำสูตรการทำหนึ่งในขนมโบราณที่ฟื้นคืนชีพอีกครั้งนั่นก็คือขนมอินทนิล ลูกพี่ลูกน้องของขนมบัวลอยลูกครึ่งกับขนมเปียกปูนกะทิสด เป็นการผสมผสานรวมเอาสิ่งที่ดีของขนมกะทิเหล่านี้มารวมเอาไว้ด้วยกัน

ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

วัตถุดิบที่ต้องเตรียมสำหรับการทำขนมหยกสด

ขนมอินทนิลเป็นขนมไทยชื่อสวยที่มีชื่อเล่นเรียกง่ายๆ ว่าขนมหยกสด ที่มาเกิดจากการที่ตัวแป้งมีส่วนผสมของน้ำใบเตยทำให้สีของมันออกมามีสีเขียวคล้ายกับอัญมณีอย่างหยกนั่นเอง เป็นขนมที่ทำได้ง่ายและมีวัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่างประกอบไปด้วย

  1. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง หากใช้กะทิคั้นสดให้เลือกใช้เฉพาะหัวกะทิเท่านั้นแต่หากใช้กะทิกระป๋องหรือกะทิกล่องสำเร็จรูปสามารถใช้ได้เลยโดยที่ไม่ต้องแยก
  2. หางกะทิ 3 ถ้วยตวง
  3. น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วยตวง หากต้องการให้มีความหวานน้อยลงก็สามารถปรับลดได้ตามความต้องการ
  4. เกลือป่น 1 ช้อนชา 
  5. เทียนอบควันเทียน
  6. น้ำใบเตยคั้นสด 4 ถ้วยตวง วิธีการคือนำเอาใบเตยสดมาตัดให้เป็นท่อนเล็ก ๆ จากนั้นนำเอาลงไปต้มในน้ำเดือดจัด พักให้เย็นแล้วใช้ผ้าขาวบางกรอง
  7. แป้งมันสำปะหลัง 2 ถ้วยตวง 
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง
ขนมอินทนิล ขนมไทยที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง

ขั้นตอนการทำขนมอินทนิล ขนมโบราณระดับเริ่มต้นที่ทำตามได้ทุกคน

แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่ไม่มีทักษะด้านการทำขนมเลยแม้แต่น้อย แต่ขอรับรองได้ว่าคุณจะสามารถทำขนมไทยโบราณอย่างขนมอินทนิลได้อย่างแน่นอน เพราะมันเป็นขนมที่ทำได้ง่ายมาก ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ มันจึงเป็นขนมระดับเริ่มต้นที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่เคยทำขนมมาก่อน ที่อยากจะลองทำขนมไทยเป็นครั้งแรก หรือจะเป็นขนมที่เอาไว้ทำในครอบครัวร่วมกับลูกหลานเป็นกิจกรรมร่วมกันก็ได้เช่นเดียวกัน ขั้นตอนจะประกอบไปด้วย

  1. นำน้ำกะทิใส่ชามหรืออ่างที่มีระดับความสูงมากกว่าปกติ จากนั้นให้นำเอาเทียนอบควันเทียนใส่ในถ้วยขนาดเล็ก ทำการจุดให้มีควัน นำเอาลงไปลอยในน้ำกะทิแล้วปิดฝาอ่างหรือชามไว้ ทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที หากต้องการให้ขนมมีความหอมแบบไทยเดิมสามารถนำเอากระดังงาลนไฟใส่ลงไปด้วยได้
  2. ตั้งหม้อด้วยไฟกลาง นำเอากะทิที่ได้ใส่ลงไปพร้อมกับเกลือป่นและน้ำตาลทราย คนให้เข้ากันจนน้ำตาลและเกลือละลาย คนจนเดือดหลังจากนั้นให้ยกลงมาพักไว้
  3. นำแป้งมาผสมกับน้ำใบเตยในชามผสม คนให้เข้ากันจนแป้งละลายไปกับน้ำใบเตยเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. นำขึ้นตั้งไฟโดยใช้ไฟอ่อน เมื่อหม้อเริ่มร้อนให้นำเอาแป้งใส่ลงไปในหม้อแล้วใช้ไม้พายกวนส่วนผสมตลอดเวลาห้ามหยุดเด็ดขาด เพราะถ้าหยุดขนมจะไหม้ก้นหม้อทันที 
  5. ใช้เวลากวนประมาณ 10 – 20 นาที ตัวแป้งก็จะเริ่มสุก สังเกตได้จากการที่แป้งมีความเหนียวจนยกไม้พายขึ้นมาแล้วมีแป้งติดขึ้นมาด้วย สีของแป้งก็จะใสมากยิ่งขึ้นจนเกือบจะโปร่งแสง
  6. นำเอาหม้อที่มีแป้งสุกแล้วใส่ลงในอ่างที่มีน้ำเย็นและน้ำแข็งเพื่อหยุดความร้อน เพราะหากโดนความร้อนไปเรื่อย ๆ ตัวขนมก็จะแข็งจนไม่สามารถปั้นได้
  7. ขั้นตอนต่อมาต้องอาศัยความอดทนต่อความร้อนเล็กน้อย เพราะเราต้องใช้มือจุ่มน้ำสะอาดจากนั้นให้ไปหยิบแป้งปั้นเป็นก้อนขนาดกำลังพอดีแล้วนำเอาแป้งที่ได้ใส่ลงไปในน้ำกะทิที่เราเตรียมไว้ในขั้นตอนแรก อย่าลืมเอามือชุบน้ำอยู่เป็นประจำเพื่อไม่ให้แป้งติดมือ
  8. ตักขนมและน้ำกะทิใส่ถ้วย เติมน้ำแข็งลงไป หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมสามารถนำเอาดอกมะลิสดล้างสะอาดลงไปลอยในถ้วยได้ เพียงเท่านี้เราก็ได้ขนมหวานเย็นชื่นใจมารับประทานอย่างเอร็ดอร่อย