Categories
ขนมไทย

ขนม รังนก หรือ มันรังนก ขนมจากพืชไร่กรุบกรอบ

ขนม รังนก

เมนูขนมไทย หลากหลายเมนูถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อเพิ่มมูลค่าของ ผัก ผลไม้ หรือแม้แต่วัตถุดิบส่วนผสมที่หาได้ง่ายทั่วไปในประเทศไทย อีกทั้งวิธีการนี้ยังสามารถช่วยให้วัตถุดิบเหล่านี้สามารถเก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น และเมนู ขนม รังนก ที่เราได้นำสูตรมาแนะนำในบทความนี้ก็เป็นหนึ่งในขนมหาทานยาก ที่น้อยคนนักจะรู้จัก และน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้ลองรับประทานแบบสดใหม่ ดังนั้น เราจึงขออนุรักษ์ ขนมไทยพื้นบ้าน ชนิดนี้ด้วยการบอกต่อสูตรขนมไทยทำง่าย และแนะนำประวัติความเป็นมา พร้อมสาระความรู้เกี่ยวกับขนมให้ได้รู้จักมากขึ้นค่ะ

ขนม รังนก จากพืชไร่ สู่ขนมไทยแปรรูป เพิ่มมูลค่า

ขนมรังนก หรือ มันรังนก คือ ขนมหวานที่ใช้มันเทศที่หาได้ง่ายเป็นส่วนผสมหลัก ถูกรังสรรค์ขึ้นมาโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยคิดค้นขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้มากขึ้น และเพื่อแปรรูปอาหารจากหัวมันเทศที่มีปลูกอยู่ทั่วไปนั่นเอง แม้ว่าจะเป็นขนมพื้นบ้าน ขนมมันรังนก กลับถูกจัดว่าเป็น ขนมไทยหาทานยาก จึงมักจะพบเห็นได้น้อยมากในปัจจุบัน พบเห็นได้เป็น ขนมของฝาก ในบางจังหวัดเพียงเท่านั้น เช่น จังหวัดสงขลา เป็นต้น

ลักษณะ และรสชาติของ ขนมมันรังนก ขนมรสชาติดี มีประโยชน์ 

ขนมรังนก มีลักษณะคล้ายรังของนกสมกับชื่อขนม คือ เป็นเส้นบางๆหลายเส้น จับตัวกันคล้ายรังนก รสชาติหวานมัน หอมเนย เนื้อสัมผัสกรุบกรอบรับประทานเพลิน และมันเทศที่นิยมนำมาทำเป็น ขนมรังนก เป็นพืชที่เป็นอาหารของทั้งคนและสัตว์ นำไปรังสรรค์อาหารได้หลากหลายเมนู นอกจากนี้ยังเป็น ขนมมีประโยชน์ ทานแล้วดีต่อร่างกาย เพราะมันเทศนั้นมีประโยชน์มากมายเหมาะกับคนรักสุขภาพ เช่น ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาโรคโลหิตจาง ความดันโลหิต บำรุงม้าม กระเพาะ และระบบย่อยอาหารได้ดี ฯลฯ 

หนึ่งในขนมไทยมงคลความหมายดี

ขนมไทยในพิธีแต่งงาน หรือพิธีมงคลต่างๆ มักจะประกอบด้วยขนมที่ชื่อมีความหมายเป็นสิริมงคล ขนมรังนก เป็นขนมที่อร่อย สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย และดีต่อร่างกายแล้วยังเป็นหนึ่งใน ขนมมงคล ความหมายดี ซึ่งชื่อของขนมไทยชนิดนี้มีความหมายถึง การมีหลักแหล่งที่พักพิง เปรียบเสมือนรังที่นกใช้พักผ่อนเป็นที่อยู่อาศัย จึงเหมาะแก่การนำขนมไทยชนิดนี้ไปประกอบในพิธีมงคลเพื่อเสริมสิริมงคลให้กับชีวิตค่ะ

ขนม รังนก

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมมันรังนก ขนมไทยทำง่าย 

ใครที่กำลังเป็นมือใหม่หัด ทำขนม อย่าพลาดที่จะลองทำ ขนมรังนก ของว่างทานเล่น ในรูปแบบขนมไทยทอด ขนมไทยทำง่าย  ไม่มีความสลับซับซ้อน ใช้วัตถุดิบน้อยเพียง 4 อย่างเท่านั้น และวัตถุดิบเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่หาได้ง่ายทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้ความประณีตมากมายหลากหลายขั้นตอนเหมือนดังขนมไทยชนิดอื่นๆ เพียงแต่ต้องระมัดระวังการใช้ไฟระหว่างทอด เพื่อไม่ให้ขนมของเราไหม้จนไม่น่ารับประทาน ดังนั้น เราไปเริ่มต้นเตรียมวัตถุดิบเพื่อเริ่มทำขนมไทยหาทานยาก สูตรขนมรังนก กันเลยค่ะ

วัตถุดิบทำ ขนมรังนก ทอดกรอบ 

  1. มันเทศ 2 กิโลกรัม
  2. เนยเค็ม 1 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
  4. น้ำมันสำหรับทอด 1+1/2 ขวด
ขนม รังนก

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ขนมรังนก เริ่มต้นจากการนำมันเทศมาปลอกเปลือก แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ก่อนจะพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ และนำมาฝานเป็นชิ้นบางเท่ากันด้วยมีดสองคม หรือใช้ที่สไลด์แทนก็ได้นะคะ เมื่อฝานมันเทศจนหมดแล้วจึงนำมาซ้อนกันเป็นชั้นหั่นเป็นเส้นบางๆเท่ากัน (หรือหากใครมีที่ขูดเส้นก็สามารถนำมาขูดให้เป็นเส้นบางๆได้เลยนะคะ) เพื่อให้นำไปทอดแล้วสุกกรอบทั่วกันดี
  2. เมื่อหั่นมันเทศเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ใส่ลงไปในชามผสม จากนั้นให้ตั้งกระทะใส่น้ำมันรอให้ร้อน ปรับไฟเป็นไฟกลางแล้วใส่มันเทศที่เตรียมไว้ลงไปทอดจนเริ่มกรอบ จากนั้นใส่เนยเค็ม และมันเทศลงไปทอดให้เข้ากัน ระหว่างนี้ให้หมั่นคนเพื่อให้ไม่ติดกันจนเกินไป โดยระยะเวลาทอดจะขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นมันเทศ จากนั้นใช้กระชอนช้อน มันรังนกทอด ขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน จากนั้นทำซ้ำกับส่วนผสมที่เหลือ
  3. หลังจาก ขนมไทยกรอบ สะเด็ดน้ำมันแล้วให้ตักใส่ถ้วยขนาดเล็ก ก่อนจะคว่ำวางลงในถาดรองเพื่อให้ได้ขนมรูปทรงคล้ายรังนก (ขั้นตอนนี้แนะนำให้ทำตอนขนมยังร้อนๆนะคะ เพื่อให้ขนมจับตัวเป็นก้อน) เสร็จแล้วพักไว้ให้เย็น ตัวขนมจะกรอบมากยิ่งขึ้น
ขนมรังนก

บทสรุป

หลังจากอ่านมาจนถึงตอนนี้ เราเชื่อว่าหลายคนคงได้ทำความรู้จักกับ ขนมรังนก กันมากขึ้น และสามารถทำได้เองแบบง่ายๆ เก็บไว้รับประทานได้นาน เป็น ขนมของว่าง รองท้องที่ดีต่อสุขภาพ หากทานมากไปก็ทำให้อิ่มท้องไปได้ทั้งมื้อด้วยเช่นกัน และสำหรับ สูตรขนมไทย ของเราในบทความนี้สามารถใช้มันม่วง หรือมันชนิดอื่นๆแทนได้ เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ และเพิ่มความอร่อยให้ถูกอกถูกใจคนรับประทานมากยิ่งขึ้น สุดท้ายก่อนจากกันไปในบทความนี้ ขอแนะนำให้รับประทานมันรังนกในขณะที่ยังอุ่นๆอยู่นะคะ รสชาติดีอย่าบอกใครเลยทีเดียว

gclub เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ ที่ผู้ใช้นิยมมากที่สุด

Categories
ขนมไทย

ขนม โคกะทิ หรือขนมหัวล้าน หนึ่งในขนมไทยโบราณ

ขนม โคกะทิ

เชื่อว่าหากใครไม่ใช่คนท้องถิ่นในภาคใต้แล้ว คงไม่เคยรับประทาน ขนม โคกะทิ หรือขนมหัวล้านมาก่อน เพราะในปัจจุบันนั้นถือเป็นขนมไทยโบราณหาทานยาก ที่มักจะพบเจอได้น้อยในภาคอื่นๆของประเทศไทย บางท้องถิ่นของภาคใต้มักจะเรียกชื่อขนมชนิดนี้แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ขนมโคน้ำ,ขนมโคน้ำกะทิ,ขนมหัวล้านทอด,ขนมมด ซึ่งก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามไปด้วย

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม โคกะทิ สอดไส้มะพร้าว

ขนม โคกะทิ หรือ ขนมหัวล้านกะทิ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวเนื้อนุ่มนิ่ม ในสมัยก่อนจะเติมสีสันด้วยน้ำสมุนไพร สอดไส้ด้วยไส้หวานจากเนื้อมะพร้าวกับน้ำตาล และไส้เค็มจากถั่วเขียวกวนนั้นเอง นับเป็น ขนมโคกะทิสูตรโบราณ รับประทานคู่กับน้ำกะทิหวานมันที่เข้ากันเป็นอย่างดี

วัตถุดิบทำขนมโคกะทิ

  1. น้ำตาลมะพร้าวหั่นชิ้นเล็ก 100 กรัม
  2. กะทิ 250 มิลลิลิตร
  3. มะพร้าวอ่อนขูด 300 กรัม
  4. แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
  5. เกลือป่น 1 ช้อนชา
  6. สีผสมอาหาร 
  7. งาขาวคั่ว ปริมาณตามชอบ
ขนม โคกะทิ

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกตั้งกระทะด้วยไฟอ่อนค่อนกลาง ใส่น้ำตาลมะพร้าวและน้ำเปล่าเล็กน้อย ทำการผัดส่วนผสมหรือไส้ ขนม โคกะทิ ให้ละลายดีแล้วใส่เนื้อมะพร้าวขูดลงไปผัดต่อ ให้มีความแห้งและเหนียวจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ เสร็จแล้วพักไว้ให้พออุ่น
  2. เตรียมชามผสมสองชามแล้วใส่แป้งข้าวเหนียวลงไปในปริมาณเท่ากัน ชามแรกใส่สีผสมอาหารลงไปนวดให้เข้ากัน จากนั้นทยอยใส่น้ำเปล่าลงไปในระหว่างนวด จนแป้งนุ่มเนียนจับตัวเป็นก้อน ไม่ติดมือ  ชามที่สองทำเหมือนชามที่หนึ่งแต่ไม่ใส่สีผสมอาหาร (ในกรณีที่ต้องการใช้สองสีนะคะ)
  3. แบ่งแป้งออกมาเป็นวงกลม คลึงให้มีลักษณะแบนแล้วใส่ไส้ที่เตรียมไว้ตรงกลาง แล้วทำการปั้นให้แป้งห่อหุ้มไส้ให้หมด ทำซ้ำจนกว่าแป้งและไส้จะหมด
  4. ตั้งเตาต้มน้ำเปล่าให้เดือดแล้วใส่ขนมลงไปต้ม เมื่อขนมเริ่มสุกจะลอยขึ้นมา ต้มต่ออีก 3 นาที เพื่อให้แป้งและไส้สุกดีเป็นสีใส จากนั้นใช้กระชอนตักขนมขึ้นมาแช่ในน้ำเย็นจัด
  5. ตั้งหม้อด้วยไฟกลางค่อนอ่อน ใส่กะทิและเกลือลงไปต้มให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน รอจนกะทิเดือดแล้วจัดใส่จานเสิร์ฟได้เลยค่ะ
ขนม โคกะทิ

สูตร ขนม โคกะทิ สูตรนี้สามารถทำได้ง่าย ทุกคนที่อยากรับประทาน ขนมไทยอร่อย ก็สามารถหาซื้อวัตถุดิบได้ง่ายทั่วไป ไม่ต้องไปหาซื้อไกลถึงภาคใต้ก็ได้ทาน ขนมไทยภาคใต้ ที่ทำด้วยตัวเองกันแล้ว ดังนั้น อย่าลืมนำสูตรนี้ไปปรับใช้แล้วลองทำกันให้ได้นะคะ และอย่าลืมติดตามสูตรขนมต่างๆที่เราได้นำมาฝากกันในบทความอื่นๆ สำหรับบทความนี้ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีค่ะ

ufaball.bet เว็บพนันออนไลน์ เว็บตรง ฝากถอนได้ไม่มีขั้นต่ำ

Categories
ขนมไทย

ขนม ฝักบัว หรือขนมดอกบัว ขนมพื้นเมือง

ขนม ฝักบัว

ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานหรือกักตัวอยู่ที่บ้าน เราขอเชิญชวนทุกคนมาทำขนมไทยง่ายๆด้วยตัวเอง โดยใช้สูตรการทำ ขนม ฝักบัว หรือ ขนมดอกบัว ของดีปักษ์ใต้ที่นิยมรับประทานกันทั่วประเทศ ซึ่งส่วนตัวต้องบอกเลยว่าชื่นชอบขนมไทยเมนูนี้มาก ด้วยความกรอบของขอบผสานความเหนียวนุ่มด้านใน และรสชาติหวานมันกลมกล่อม นอกจากนี้ยังเป็น ขนมไทยมงคล ที่มีความหมายดี สื่อถึงโชคลาภ ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรือง ในอดีตจึงมักใช้ในพิธีสำคัญอย่างงานแต่งงาน หรือแม้แต่พิธีมงคลอื่นๆเพื่อความเป็นสิริมงคล

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม ฝักบัว ใบเตย ทำง่าย ไม่ต้องหมักแป้ง

แม้ว่าขนม ฝักบัว จะเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน  แต่ในปัจจุบันนี้นับว่าเริ่มกลายเป็น ขนมไทยหาทานยาก หากไม่ใช่ตลาดแถวภาคใต้ก็จะพบเจอร้านที่ทำขายน้อยมากๆ (ในภาคใต้จะนิยมเรียกขนมไทยเมนูนี้ว่า จูจุ่น ) การ ทำขนมฝักบัว ทานด้วยตัวเอง จึงถือเป็นคำตอบที่ใช่ที่สุด โดยวัตถุดิบและขั้นตอนการทำนั้นก็แสนจะง่ายดาย แค่มีอุปกรณ์อย่างกระทะหลุมลึกติดครัวก็สามารถทำทานได้เองด้วยเวลาไม่นาน

วัตถุดิบ ทำขนมดอกบัว

  1. แป้งสาลีเอนกประสงค์ 1 ถ้วยตวง
  2. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
  3. หัวกะทิ 100 มิลลิลิตร
  4. น้ำใบเตยเข้มข้น 150 
  5. น้ำตาลทรายขาว 1/4 ถ้วยตวง
  6. น้ำตาลมะพร้าว 1/3 ถ้วยตวง
  7. เกลือ 1/2 ช้อนชา
ขนม ฝักบัว

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกนำหัวกะทิ และน้ำตาลมะพร้าวใส่ลงไปในหม้อ เปิดเตาด้วยไฟกลางค่อนอ่อนแล้วทำการคนให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน เมื่อเริ่มเดือดแล้วให้ลดเป็นไฟอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้กะทิแตกมัน จากนั้นพักไว้ให้พออุ่น
  2. เตรียมชามผสมใส่แป้งข้าวจ้าว แป้งสาลีอเนกประสงค์ น้ำตาลทรายขาย และเกลือ ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมเข้ากันดี ตามด้วยส่วนผสมของน้ำตาลมะพร้าวในขั้นตอนที่ 1 ทำการคนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วทยอยเทน้ำใบเตยลงไปในระหว่างคน เมื่อน้ำใบเตยหมดแล้วคนต่อจนส่วนผสมเริ่มข้นหนืด มีฟองอากาศเล็กน้อย 
  3. ตั้งกระทะด้วยไฟอ่อน ใส่น้ำมันลงไปด้วยปริมาณเล็กน้อย (ประมาณก้นกระทะ) รอให้ร้อนจัดแล้วใส่แป้งลงไปตรงกลาง หากขนมเริ่มสุกพองถึงตรงกลางแล้วให้ตักน้ำมันราด เพื่อให้ขนม ฝักบัว สุกทั่วกันแล้วใช้กระชอนตักขึ้นมาพักไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน
ขนม ฝักบัว

ขนมไทยโบราณ อย่างขนม ฝักบัว ชื่อนี้มีความหมายถึงลักษณะของขนมที่คล้ายกับรูปทรงของดอกบัว อีกทั้งยังเป็นขนมไทยมงคลความหมายดีที่นิยมทำเพื่อไปทำบุญที่วัด หรืองานมงคลต่างๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยมีหลักฐาน ประวัติความเป็นมาขนมฝักบัว จากหลายแหล่ง ทั้งหนังสือไตรภูมิพระร่วง และในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

gclub เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ ที่ผู้ใช้นิยมมากที่สุด

Categories
ขนมไทย

ขนมพระพาย ขนมสีหวานแสนน่ารัก

ขนมพระพาย

ขนมพระพาย นอกจากจะเป็นขนมที่มีรูปร่างหน้าตา และสีสันที่สวยงามน่ารับประทานแล้วยังเป็น ขนมไทยชาววัง ที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ กล่าวคือ ขุนพิทักษ์ราชกิจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระพิทักษ์ราชกิจ และได้จัดพิธีแต่งงานขึ้น ชาววิเสท (คนทำกับข้าวในวังหลวง) จึงได้คิดค้นขนมเพื่อใช้ในพิธีแต่งงาน ซึ่งนั้นก็คือ ขนม พระ พาย ที่ทำมาจากข้าวเหนียว สอดไส้ด้วยถั่วกวน โดยทั้งสองสิ่งนี้ก็มีความหมายที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมพระพาย ขนมมงคลความหมายดี

สำหรับชื่อของขนมพระพาย มีความหมายว่า ลม สื่อถึงความสงบร่มเย็น ชื่อนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อระลึกถึงงานแต่งงานของพระพิทักษ์ราชกิจ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ทำเองก็มีความหมาย เช่น ข้าวเหนียว หมายถึง ความรักที่กลมเกลียวเหนียวแน่น , พระพายไส้ถั่วกวน รสชาติหวานเหมือนความรักที่หวานชื่น ฯลฯ ดังนั้น จึงกลายเป็น ขนมไทยมงคล ที่ชาววังนิยมใช้กันในงานแต่งงาน

วัตถุดิบ ทำขนม พระ พาย

  1. แป้งข้าวเหนียว 1 1/2 ถ้วยตวง
  2. สีผสมอาหาร หรือสีธรรมชาติตามชอบ
  3. น้ำเปล่า สำหรับต้มขนม
  4. ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก 1 ถ้วยตวง
  5. น้ำตาลมะพร้าว 50 กรัม
  6. น้ำตาลทรายแดง 50 กรัม
  7. แป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนโต๊ะ
  8. เกลือป่น
  9. กะทิ สำหรับใส่ไส้ขนม 100 มิลลิลิตร
  10. กะทิ สำหรับราดหน้าขนม 150 มิลลิลิตร
  11. กะทิ สำหรับใส่ตัวขนม 1 ช้อนโต๊ะ
ขนมพระพาย

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกนำถั่วเขียวนึ่งสุกมาปั่นให้ละเอียด จากนั้นใส่ลงไปในกระทะเติมน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทราย กะทิสำหรับใส่ไส้ขนม และใส่เกลือเล็กน้อย เปิดเตาด้วยไฟอ่อนแล้วผัดให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน ผัดตลอดเวลาจนกว่าไส้จะแห้งจับตัวกันเป็นก้อน เสร็จแล้วปิดเตาพักไว้ให้เย็น
  2. เมื่อรอจนถั่วเขียวเย็นแล้วให้นำมาปั้นเป็นก้อน (ขนาดเท่าเหรียญสิบ) เพื่อเตรียมไส้ขนมพระพาย
  3. ต่อมาให้ใส่กะทิสำหรับทำราดหน้าขนมลงไปในหม้อ ตามด้วยแป้งข้าวจ้าว และเกลือป่นเล็กน้อย คนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันก่อนจะเปิดเตาด้วยไฟอ่อน คนต่อจนกระทั่งน้ำกะทิเดือด และมีความข้น
  4. ใส่แป้งข้าวเหนียวลงไปในชามผสม ใส่กะทิเล็กน้อยแล้วใช้มือนวดให้เข้ากัน ทยอยเติมน้ำเปล่าระหว่างนวดจนแป้งจับตัวก้อน 
  5. แบ่งแป้งออกเป็นส่วนๆใส่ชามผสมตามจำนวนสีที่ต้องการใช้ และใส่สีลงไปนวดให้เข้ากันกับแป้ง จากนั้นปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม แผ่ออกให้บางแล้วใส่ไส้ที่เตรียมไว้ลงไปตรงกลาง ก่อนจะปั้นเป็นรูปวงกลมห่อหุ้มไส้ ทำซ้ำจนกว่าส่วนผสมจะหมด
  6.  ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือด แล้วใส่ขนมที่ปั้นไว้ลงไปในหม้อ เมื่อเริ่มสุกแล้วตัวขนมจะลอยขึ้นมา ให้ต้มต่ออีก 5 นาที เพื่อให้แป้งและไส้สุกทั่วกัน จากนั้นตักขนมขึ้นมาพักไว้ให้คลายความร้อนเล็กน้อย
  7. จัดขนมใส่ถ้วยตะไล หรือภาชนะตามต้องการ ราดหน้าขนมด้วยน้ำกะทิที่เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จสิ้นพร้อมเสิร์ฟแล้วค่ะ
ขนมพระพาย

หลังจากจบบทความนี้แล้ว เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะได้ทำความรู้จักขนมพระพาย กันมากขึ้น ทั้งประวัติความเป็นมาของ ขนมมงคลความหมายดี รวมถึง สูตรขนมพระพาย และวัตถุดิบในการทำขนม จนสามารถนำไปทำทานได้ด้วยตัวเอง ทำเพื่อมอบให้กับคนพิเศษ หรือจะทำเพื่อใช้ในพิธีแต่งงานเพื่อเพิ่มความหวาน ด้วยขนมหน้าตาน่ารัก และความหมายดี

สนับสนุนโดย : https://hilospec.com

Categories
ขนมไทย

ขนม ปั้นขลิบ หรือปั้นสิบ ขนมไทยโบราณ

ขนม ปั้นขลิบ

หากกล่าวถึง ขนม ปั้นขลิบ หรือปั้นสิบ หลายคนคงไม่รู้จัก และไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน แต่เมื่อเห็นหน้าตาของขนมแล้วคงคิดอีกว่าเป็นขนมกะกรี่ปั๊บชิ้นเล็ก ซึ่งขนมทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างที่รู้สึกได้เมื่อรับประทาน นั้นก็คือปั้นสิบมีความกรอบและแข็งมากกว่ากะหรี่ปั๊บ ทานเป็นขนมของว่างคู่ชากาแฟได้เข้ากันเป็นอย่างดี

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม ปั้นขลิบ ไส้ปลาทูน่า

ขนมปั้นขลิบ ถือเป็น ขนมไทยหาทานยาก มากในปัจจุบัน เพราะขั้นตอนวิธีการทำที่หลายขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนการทำแป้ง และไส้ของขนม ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยม ขนมปั้นสิบไส้ปลา แต่ก็สามารถรังสรรค์ได้หลายไส้ทั้งคาวหวาน ยกตัวอย่างเช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ หรือแม้แต่ถั่วเขียว สับปะรดกวน ฯลฯ หากใครอยากลองทำรับประทานด้วยตัวเองต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบเล็กน้อย และเทคนิคเล็กๆในการปั้นขนมให้เป็นรูปทรงน่ารับประทาน

วัตถุดิบทำไส้ปลาทูน่า

  1. เนื้อปลาทูน่าฉีก หรือปลาทูน่ากระป๋อง 125 กรัม 
  2. ถั่วลิสงค์คั่วบดละเอียด 150 กรัม                                           
  3. รากผักชีซอย 4 ราก
  4. พริกไทยขาวเม็ด 1/2 ช้อนชา
  5. หัวไชโป้หวานสับละเอียด 50 กรัม                                            
  6. หอมแดงซอย 160 กรัม
  7. น้ำตาลปี๊บ 90 กรัม                                               
  8. น้ำปลา 1 ช้อนชา                                              
  9. ซีอิ้วขาว 1 ช้อนชา                                              
  10. เกลือ 1/2 ช้อนชา
  11. น้ำมันหอมเจียว 1 + ½ ช้อนโต๊ะ

วัตถุดิบทำตัวแป้ง

  1. แป้งเอนกประสงค์ตราว่าว 300 กรัม                           
  2. น้ำมันพืชถั่วเหลือง 75 กรัม
  3. น้ำปูนใส 60 กรัม                         
  4. น้ำเปล่าเย็น 75 กรัม
  5. น้ำตาลทราย 15 กรัม
  6. เกลือ 1 ช้อนชา
ขนม ปั้นขลิบ

ขั้นตอนวิธีการทำไส้ทูน่าขนม ปั้นขลิบ

  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ไส้ขนมปั้นขลิบ นำรากผักชี และพริกไทยขาวมาโขลกรวมกันให้ละเอียด 
  2. ตั้งกระทะด้วยไฟอ่อนรอให้ร้อนแล้วปรับเป็นไฟกลางค่อนอ่อน ใส่หอมแดงซอยลงไปเจียวจนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองอ่อน ให้ตักขึ้นมาพักไว้บนตะแกรงที่รองด้วยกระดาษทิชชู่เพื่อซับน้ำมัน
  3. เตรียมชามผสมใส่น้ำตาลปี๊บ เกลือ น้ำปลา และซีอิ๊วขาว ใช้ช้อนคนเครื่องปรุงให้ละลายเข้ากัน จากนั้นตั้งกระทะด้วยไฟกลางค่อนอ่อน ใส่น้ำมันหอมเจียวลงไป ตามด้วยส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ลงไปผัดให้หอมแล้วใส่หัวไชโป้สับลงไปผัดต่อจนสุก แล้วใส่เนื้อทูน่ากับเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ลงไปผัดต่อ
  4. เมื่อผัดส่วนผสมจนเข้ากันดีแล้วใส่ถั่วลิสงบด และหอมเจียวลงไปผัดให้เข้ากันด้วยไฟอ่อนจนไส้เริ่มแห้งติดกัน เสร็จแล้วปิดเตานำออกมาใส่จานพักไว้จนเย็นสนิท 
  5. นำไส้ทูน่าขนม ปั้นขลิบ มาปั้นเป็นก้อนกลมน้ำหนักประมาณ 5 กรัม พักไว้ในถาด

ขั้นตอนวิธีการทำแป้งขนม

  1. ขั้นตอนการทำ แป้งขนมปั้นขลิบ เริ่มจากการร่อนแป้งอเนกประสงค์ใส่ลงไปในชามผสม ตามด้วยน้ำตาลทราย และเกลือ ใช้ไม้พายคนให้เข้ากันแล้วใส่น้ำปูนใส น้ำเปล่า และน้ำมันพืชลงไป ใช้ไม้พายคนเล็กน้อยแล้วใช้มือนวดให้ส่วนผสมจับตัวเป็นก้อน และคลึงเป็นก้อนกลมห่อด้วยฟิล์มถนอมอาหาร พักไว้เป็นเวลา 30 นาที
  2. ครบเวลาแล้วให้แบ่งตัดแป้งให้ได้ขนาดชิ้นละ 6 กรัม แล้วปั้นเป็นก้อนกลม คลุมด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อไม่ให้แป้งแห้ง 
  3. นำแป้งมาแผ่เป็นแผ่นกลมบนฝ่ามือ วางไส้ที่เตรียมไว้ตรงกลางแผ่นแป้งแล้วห่อให้มิด ใช้นิ้วขลิบจีบให้สวยงามจนเป็นทรงคล้ายกระหรี่ปั๊บชิ้นเล็ก
  4. หลังจากที่ห่อแป้งเสร็จแล้วให้ตากลมไว้สักครู่เพื่อให้ผิวขนมแห้ง ก่อนจะนำไปทอด
  5. ตั้งน้ำมันให้พอร้อนด้วยไฟอ่อน เมื่อเริ่มร้อนแล้วให้ใส่ขนมลงไปทอดด้วยไฟอ่อนค่อนกลาง เมื่อผิวขนมตึง และเปลี่ยนเป็นสีขาวด้านแล้วให้ตักออกมาพักไว้ให้พออุ่น 
  6. ตั้งน้ำมันด้วยไฟกลางค่อนอ่อน นำขนมลงไปทอดเป็นรอบที่สองจนขนมเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง เสร็จแล้วตักขึ้นไปพักไว้บนตะแกรงจนเย็น เป็นอันเสร็จสิ้นรับประทานได้เลย
ขนม ปั้นขลิบ

เคล็ดลับความอร่อยของขนม ปั้นขลิบ นั้นอยู่ที่ไส้ของขนม หากจะทำเป็นไส้เนื้อสัตว์ต้องคัดสรรเนื้อสัตว์ที่สดใหม่ เพื่อลดกลิ่นเหม็นคาวของเนื้อสัตว์เมื่อนำมาทำ ขนมหวานไทย สำหรับใครที่อยากลองรับประทาน อย่าลืมนำสูตรนี้ไปปรับใช้กันนะคะ

สนับสนุนโดย : https://hilospec.com

Categories
ขนมไทย

ขนม อาลัว กรอบนอกนุ่มใน หนึ่งในสูตรขนมไทยขายดี

ขนม อาลัว

ขนม อาลัว มีชื่อที่คล้ายคลึงกับ ขนมของต่างประเทศ นั่นก็เป็นเพราะว่าเป็น ขนมไทย อีกหนึ่งอย่างที่ท้าวทองกีบม้าเป็นคนรังสรรค์ขึ้นมา โดยต้นกำเนิดที่แท้จริงของขนมอยู่ที่ประเทศโปรตุเกส นำมาตั้งชื่อที่มีความหมายถึงขนมที่ยั่วยวนชวนให้รับประทาน  มีลักษณะเป็นขนมชิ้นเล็กสีหวาน เนื้อสัมผัสด้านนอกจะกรอบ แต่ด้านในนั้นกลับนุ่มลิ้นหวานละมุน หยิบทานเพลินอย่าบอกใครเลยละ

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนม อาลัว ขนมไทยทำง่าย

ในปัจจุบันนั้นขนมอาลัว ถือเป็น ขนมไทยยอดนิยม อีกหนึ่งอย่างที่คนไทยให้ความสนใจกันมาก ด้วยรสชาติที่อร่อยจนใครๆต่างหลงใหล ทั้งยังสามารถเก็บไว้ได้นาน นำใส่กล่องพกพาไปรับประทานได้สะดวก หลายคนจึงชื่นชอบ ขนมไทยโบราณ ชนิดนี้กันมาก แถมยังเป็นขนมที่ใช้วัตถุดิบในการทำน้อย แต่ขั้นตอนการทำนั้นต้องใช้ระยะเวลาสักนิด แต่เราจะพาทุกคนไปทำขนมอาลัวลดเวลา โดยใช้เตาอบแทนการนำขนมไปตากแดดกันค่ะ

วัตถุดิบทำขนมอาลัว

  1. แป้งเค้กหรือแป้งสาลีอเนกประสงค์ 65 กรัม 
  2. น้ำตาลทราย 150 กรัม
  3. กะทิ 250 มิลลิลิตร
  4. น้ำเปล่า 60 มิลลิลิตร
  5. สารแต่งกลิ่นมะลิ ½ ช้อนชา
  6. สีผสมอาหารตามชอบ
ขนม อาลัว

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกในการทำขนมอาลัว ให้ใส่กะทิ และแป้งเค้กหรือแป้งสาลีอเนกประสงค์ลงไปในชามผสม ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน และนำไปกรองด้วยตะแกรงใส่ลงไปในกระทะเทฟล่อน หรือกระทะทองเหลือง
  2. ใช้ไม้พายคนส่วนผสมในกระทะให้เข้ากัน เติมน้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลายเข้ากันอีกครั้ง จากนั้นเติมสารแต่งกลิ่นมะลิลงไปคนให้เข้ากันก่อนทำขั้นตอนถัดไป
  3. เปิดไฟตั้งกระทะด้วยไฟกลางค่อนไฟแรง ใช้ไม้พายคนส่วนผสมตลอดเวลาจนกว่าส่วนผสมจะข้น แล้วปรับไฟลงเป็นไฟกลางค่อนอ่อน คนต่อให้ส่วนผสมร่อนจากกระทะ มีเนื้อเนียนเริ่มจับตัวเป็นก้อน ปิดเตาได้เลย
  4. นำแป้งออกมาแบ่งใส่ชามผสมตามจำนวนสีผสมอาหารที่เลือกใช้ ใส่สีผสมอาหารลงไปผสมให้เข้ากัน 
  5. ใส่แป้งอาลัวลงไปในถุงบีบ พร้อมใส่หัวบีบอาลัว จากนั้นเตรียมถาดรองอบรองด้วยกระดาษไข หรือกระดาษรองอบ บีบขนมลงไปให้ทั่วโดยห่างกันเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดกัน 
  6. อบขนมด้วยเตาอบที่อุณหภูมิ 50 องศา ไฟบนล่าง เปิดพัดลม เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือจนกว่าขนมจะแห้งดี จากนั้นนำออกมาพลิกด้านขนมแล้วนำไปอบอีกครั้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เป็นอันเสร็จสิ้นพักไว้ให้เย็นแล้วรับประทานได้เลยค่ะ
ขนม อาลัว

หลังจากจบบทความการทำ สูตรขนมอาลัวไม่ตากแดด เชื่อว่าหลายคนคงจะสามารถทำ ขนมอาลัว รับประทานกันได้เองที่บ้านแล้ว แต่หากใครจะทำขายก็นับว่าเป็น ขนมไทยขายดี ที่สามารถสร้างรายได้เสริมได้เป็นกอบเป็นกำ โดยขนมอาลัวนี้จริงๆแล้วมีอยู่สองชนิด คือ อาลัวชาววัง และอาลัวจิ๋ว ซึ่งสูตรที่เราเห็นได้บ่อยครั้งก็เห็นจะเป็นเจ้าอาลัวจิ๋วนี่แหละ

Categories
ขนมไทย

ขนมเนื้อนวลไข่เค็ม รสชาติหวานมันเค็ม นุ่มละลายในปาก

ขนมเนื้อนวลไข่เค็ม

ขนมยอดนิยมที่กำลังมีกระแสมาแรงในโลกโซเชียล ณ เวลานี้ คงจะหนีไม่พ้นเมนู ขนมเนื้อนวลไข่เค็ม ซึ่งเป็นขนมที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันกับ “ขนมเปี๊ยะ” แต่จะมีความแตกต่างกันที่ รสชาติเนื้อนวลไข่เค็ม จะเหมือนขนมกลีบลำดวนมากกว่า คือ รสหวาน มัน เค็ม หลอมรวมกันเป็นความอร่อยที่ลงตัว ขอบอกว่าเนื้อกรอบนุ่มละลายในปากเลยทีเดียว

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมเนื้อนวลไข่เค็ม ขนมหวานยอดนิยม 

ขนมเนื้อนวลไข่เค็มเมนูขนมหวาน น้องใหม่ที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนได้ลองทานกันดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่รู้จักกันเพียงบางกลุ่มเท่านั้น จึงทำให้หาซื้อไม่ได้ง่ายๆเหมือนขนมชนิดอื่น แต่แน่นอนว่าในอนาคตต้องได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เราจึงได้นำ สูตรขนมทำง่าย มาให้ทำทานด้วยตัวเองกันค่ะ 

วัตถุดิบทำขนมเนื้อนวล

  1. แป้งเค้ก ตราบัวแดง 200 กรัม
  2. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ตราว่าว 20 กรัม
  3. น้ำตาลไอซิ่ง 75 กรัม
  4. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
  5. น้ำมันรำข้าว 95 กรัม
  6. ไข่แดงเค็ม (สุก) 5 ฟอง

วัตถุดิบทำ ไข่แดงทาหน้าขนมเนื้อนวล

  1. ไข่แดงของไข่ไก่ 1 ฟอง
  2. น้ำมันพืช 1/2 ช้อนชา
ขนมเนื้อนวลไข่เค็ม

ขั้นตอนวิธีการทำ เนื้อนวลไข่เค็ม สูตร

  1. ขั้นตอนแรกในการทำขนมเนื้อนวลไข่เค็ม เริ่มจากการร่อนส่วนผสมแห้งทั้งหมดรวมกันใส่ชามผสม (แป้งเค้ก แป้งสาลีอเนกประสงค์ น้ำตาลไอซิ่ง และเกลือป่น) ใช้ไม้พายเกลี่ยแป้งให้มีหลุมตรงกลาง จากนั้นใส่น้ำมันรำข้าวลงไปตะล่อมให้เข้ากัน และนวดสักครู่จนแป้งจับตัวเป็นก้อน
  2. นำส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 มาแบ่งช่างน้ำหนักให้ได้ก้อนละ 8 กรัม และปั้นให้เป็นวงกลมจนกว่าแป้งจะหมด วางเรียงกันในถาดรองอบรองด้วยกระดาษไข ปั้นเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าขาวบางคลุมพักไว้
  3. ตัดแบ่งไข่แดงเค็มแดงให้มีขนาดเล็ก เพื่อเตรียมทำไส้ ขนมเนื้อนวล (ไข่แดง 1 ลูก สามารถแบ่งได้ 12 ชิ้น) 
  4. นำแป้งที่แบ่งไว้มาแผ่ให้แบนแล้วใส่ ไส้ไข่แดงเค็ม ลงไปตรงกลาง ทำการปั้นคลึงให้กลม เสร็จแล้ววางพักไว้ในถาดรองอบที่เดิม และห่อใส่ไส้ชิ้นต่อๆไปจนหมด
  5. วอร์มเตาอบด้วยอุณหภูมิ 160 องศา ไม่เปิดพัดลม เป็นเวลา 20 นาที ก่อนจะนำ เนื้อนวลไส้ไข่เค็ม ที่ปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วเข้าไปอบต่อด้วยอุณหภูมิเท่าเดิม 15-20 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุกดี 
  6. ระหว่างรอขนมสุกให้เตรียมไข่แดงทาหน้าขนม โดยนำไข่แดงของไข่ไก่มาคนผสมกันกับน้ำมันพืช (หากใครต้องการให้สีขนมเข้มขึ้น สามารถเพิ่มสีผสมอาหารได้เลย) เมื่อขนมสุกแล้วให้นำออกจากเตา ใช้แปรงหรือพู่กันทาหน้าขนมด้วยไข่แดงที่เตรียมไว้ รอให้หน้าหน้าขนมแห้งแล้วทาซ้ำอีกรอบ 
  7. นำขนมไปเข้าเตาอบเป็นรอบที่สอง โดยใช้ไฟเท่าเดิม แต่ใช้เวลาในการอบเพียง 5 นาทีเท่านั้น เสร็จแล้วนำออกจากเตาอบมาพักไว้ให้เย็นก่อนรับประทาน
ขนมเนื้อนวลไข่เค็ม

จบไปแล้วกับสูตรขนมเนื้อนวลไข่เค็ม ที่เราได้นำมาบอกต่อกันในบทความนี้ หากต้องการให้ขนมมีความหอมเย้ายวลชวนรับประทาน หลังอบเสร็จให้นำไป ขนมอบควันเทียน ต่อนะคะ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทานให้มากยิ่งขึ้น และสำหรับใครที่ต้องการ สูตรขนมทำขาย นำไปสร้างรายได้เสริมให้กับตัวเอง แนะนำให้ใช้สูตรนี้เลย เพราะซื้อง่ายขายคล่องแบบสุดๆ แถมต้นทุนในการทำยังไม่สูงด้วยนะ

Categories
ขนมไทย

ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน สูตรง่ายๆ แม้จะเป็นมือใหม่ก็ทำทานได้

ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน

หนึ่งในขนมไทยโบราณที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว และได้รับความนิยมสูงสุดนั้นก็คือ ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน ขนมที่มีความอร่อย หวาน มัน เหนียวนุ่มเนื้อแป้ง ผสานกับความกรุบกรอบของเนื้อมะพร้าว จึงไม่แปลกใจเลยที่กลายเป็นขนมสุดโปรดของใครหลายๆคน แต่รู้หรือไม่ว่าขนมบ้าบิ่นนั้นมีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา จนเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่สองตำนาน บ้างก็ว่าถูกคิดค้นสูตรในสมัยรัตนโกสินทร์โดย “ป้าบิ่น” เป็นที่มาของชื่อขนม บ้างก็ว่าไม่ใช่ขนมไทยแท้ แต่เป็นขนมที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างประเทศโดยท้าวทองกีบม้า

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน สูตรเหนียวนุ่มไม่แห้ง

สำหรับใครที่กำลังหาสูตรทำ ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน เพื่อทำรับประทานเอง หรือทำขายสร้างรายได้ ในปัจจุบันก็มีอยู่หลายสูตร ยกตัวอย่างเช่น บ้าบิ่นสูตรโบราณ เป็นต้น ในบทความนี้เราก็ได้นำ สูตรขนมบ้าบิ่น ทำง่ายด้วยกระทะเทฟล่อน ที่รับรองได้เลยว่าใครได้รับประทานแล้วก็ต้องติดใจอย่างแน่นอน โดยเป็นสูตรที่มีเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม แม้จะทิ้งไว้ทั้งวันก็ยังคงความเหนียวนุ่มอยู่ 

วัตถุดิบทำขนมบ้าบิ่น

  1. แป้งข้าวเหนียวขาว 150 กรัม
  2. แป้งมันสำปะหลัง 90 กรัม
  3. แป้งท้าวยายม่อม 40 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 180 กรัม
  5. กะทิ 100 กรัม
  6. เกลือป่น 1 ช้อนชา
  7. มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น 700 กรัม
  8. น้ำเปล่า 210 มิลลิลิตร
ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  1. ขั้นตอนแรกเตรียมชามผสมแล้วใส่แป้งมัน แป้งข้าวเหนียว และแป้งท้าวยายม่อมลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำตาลทรายกับเกลือลงไปแล้วกะทิลงไปนวด ระหว่างนวดแป้งให้ทยอยใส่น้ำเปล่าลงไประหว่างนวดจนกว่าน้ำที่เตรียมไว้จะหมด เพื่อให้แป้งมีความข้น อิ่มน้ำ แต่ไม่หนืด
  2. เมื่อนวดส่วนผสมจนเข้ากันดีแล้ว ให้ทยอยใส่เนื้อมะพร้าวขูดลงไปในชามผสม ใช้มือนวดให้ส่วนผสมทั้งสองส่วนเข้ากันดี
  3. ตั้งกระทะเทฟล่อนด้วยไฟกลางค่อนอ่อน ทาน้ำมันพืชลงไปในกระทะให้ทั่วแล้วรอให้ร้อนก่อนจะตัก ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน ลงไปเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ รอจนขนมส่วนข้างล่างสุกเหลืองแล้วให้กลับด้าน เพื่อให้สุกทั่วกันทั้งสองข้าง เสร็จแล้วนำไปพักไว้บนตะแกรงให้พออุ่น เป็นอันเสร็จสิ้นรับประทานได้เลยค่ะ
ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน

แม้ว่า ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน จะเป็น ขนมไทยยอดนิยม ที่หาทานได้ง่ายทั่วไป แต่จะหาที่อร่อยถูกใจนั้นก็ยากแสนยาก เราจึงแนะนำให้ทุกคนลองนำ สูตรขนมบ้าบิ่น สูตรนี้ไปลองทำรับประทานกันเองที่บ้าน โดยปรับเพิ่มลดส่วนผสมได้ตามชอบ ใครชอบแป้งน้อยก็ใส่น้อย ชอบมะพร้าวเยอะก็สามารถใส่ได้แบบจุกๆเลย

Categories
ขนมไทย

ขนมลืมกลืน สูตรหวานมัน เนื้อเหนียวนุ่มละลายในปาก

ขนมลืมกลืน

ขนมลืมกลืน หนึ่งในขนมไทยโบราณประเภทกวนที่หลายคนยังไม่รู้จัก มีลักษณะเป็นชิ้นเล็กๆประกอบด้วยสองส่วนที่แตกต่างกัน คือส่วนของตัวขนมสีหวานที่ทำมาจากแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่มเหนียวนุ่ม และหน้าขนมจากกะทิหวานมัน โรยด้วยถั่วทองเพิ่มความกรอบ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะสัมผัสได้ถึงความหวาน มัน เค็ม เรียกได้ว่าเป็นขนมไทยที่อร่อยครบในชิ้นเดียวเลยจริงๆ

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมลืมกลืน ขนมไทยโบราณหาทานยาก

การทำขนมลืมกลืน นั้นสามารถทำได้ง่าย ใช้วัตถุดิบที่หาได้ทั่วไป ไม่ต้องทำหลายขั้นตอนเหมือนอย่างในสมัยก่อน ที่ต้องเตรียมวัตถุดิบเองตั้งแต่ขั้นตอนแรก เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปก็มีการรังสรรค์วัตถุดิบสำเร็จรูปขึ้นมา เพื่อให้การ ทำขนมไทย ในแต่ละครั้งสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในสมัยก่อนนั้นมักจะใช้กระทงใบตองในการใส่ขนม เพื่อให้ได้ความหอมของกลิ่นใบตอง แต่ในปัจจุบันสามารถใช้พิมพ์วุ้นในแทนที่ขนมลืมกลืนใบตอง ได้เลย

วัตถุดิบทำตัวขนมลืมกลืน

  1. แป้งถั่วเขียว 80 กรัม
  2. น้ำเปล่า 800 กรัม
  3. น้ำตาลทรายขาวปั่นละเอียด 240 กรัม
  4. สารแต่งกลิ่นตามชอบ 1/4 ช้อนชา
  5. สีผสมอาหารตามชอบ

วัตถุดิบทำหน้ากะทิ

  1. หัวกะทิ 300 กรัม
  2. แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนตวง
  3. แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนตวง
  4. น้ำตาลทราย 1 ช้อนตวง
  5. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
  6. ถั่วทองทอด สำหรับตกแต่ง
  7. ถ้วยวุ้นขนาดเล็ก 50 ถ้วย
ขนมลืมกลืน

ขั้นตอนวิธีการทำ 

  • ขั้นตอนแรกในการทำขนมลืมกลืน ให้เตรียมชามผสมแล้วใส่แป้งถั่วเขียว น้ำตาลทราย สารแต่งกลิ่น และน้ำเปล่าลงไป ใช้ตะกร้อมือคนผสมให้ละลายเข้ากัน
  • แบ่งส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ใส่ชามผสมในปริมาณเท่ากันตามจำนวนสีที่เลือกใช้ ผสมสีผสมอาหารลงไปคนให้เข้ากัน
  • เทแป้งสีแรกใส่กระทะแล้วเปิดเตาด้วยไฟอ่อน กวนแป้งไปในทางเดียวกันตลอดเวลาจนกว่าแป้งจะสุกใส เสร็จแล้วปิดเตานำไปเทใส่ถุงบีบแล้วบีบใส่พิมพ์วุ้น (บีบในขณะที่แป้งร้อน เพื่อให้แป้งเรียบ) ทำซ้ำขั้นตอนนี้กับสีอื่นๆที่เลือกใช้
  • ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำหน้ากะทิ เริ่มจากการใส่กะทิ แป้งข้าวจ้าว แป้งถั่วเขียว และเกลือลงไปในกระทะแล้วคนให้ละลายเข้ากันดี เปิดเตาด้วยไฟอ่อน จากนั้นคนตลอดเวลาเพื่อให้กะทิสุกข้น ปิดเตาได้แล้วตักกะทิใส่ถุงบีบ นำไปบีบตกแต่งบนหน้าขนมให้สวยงาม โรยด้วยถั่วทองทอด เป็นอันเสร็จสิ้น
ขนมลืมกลืน

ก่อนจะจากกันไปในบทความ สอนทำขนมไทย เมนูนี้ เราขอฝากข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของชื่อขนมลืมกลืน ที่มีอยู่หลายเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา บ้างก็บอกว่า เมนูขนมไทย เมนูนี้อร่อยเสียจนคนที่ได้กินเคี้ยวเพลินจนลืมกลืนเลยทีเดียว บ้างก็บอกว่าชื่อนี้มาจากความนุ่มลื่น เคี้ยวแล้วกลืนง่ายของขนม เป็นที่มาของชื่อ

Categories
ขนมไทย

แจกสูตร ขนม เบื้อง โบราณ แป้งบางกรอบ หวานเค็ม อร่อยพอดีคำ

ขนม เบื้อง โบราณ

ในสมัยอดีต ขนม เบื้อง โบราณ เป็นขนมที่ได้รับความนิยมของเด็กๆ ที่ชอบไปรอรถขายขนมตามหมู่บ้านหลังเลิกเรียนเป็นประจำ แต่ปัจจุบันขนมเบื้อง โบราณไม่ค่อยมีขายมากนัก และเด็กๆ ในสมัยนี้จะไม่ค่อยรู้จักขนมเบื้อง หรือเคยทานขนมเบื้องมาก่อน เพราะความนิยมคนไทยเริ่มลดน้อยลงนั่นเอง ดังนั้นเราะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับขนมเบื้องรวมถึงสูตร และวิธีทำขนมเบื้องโบราณให้มากขึ้น ว่าแล้วไปกันเลย 

ตามมาดูวิธีทำ ขนม เบื้อง โบราณ ขนมไทยในอดีต แป้งกรอบอร่อย 

ขนม เบื้อง โบราณ

ขนมเบื้อง โบราณ หนึ่งในขนมไทยในอดีตที่มีรสชาติหวาน มัน เค็ม ผสมผสานกับเนื้อแป้งบางกรอบอร่อยจนไม่สามารถหยุดทานได้เลย โดยเฉพาะขนมเบื้องหน้าฝอยทองที่มีรสชาติหวานจัดจ้าน กลิ่นหอมละมุน พอทานคู่กับแป้งกรอบๆ เข้ากันได้อย่างลงตัว เรียกได้ว่าขนมเบื้องเป็นขนมที่สามารถทานได้ตลอดไม่มีเบื่อเลยทีเดียว สำหรับใครที่ชอบทานขนมเบื้องอยู่แล้ว และอยากจะทำทานเองที่บ้านต้องไม่พลาดกับสูตร แป้ง เบื้อง โบราณ เนื้อแป้งบางกรอบ อัดแน่นไปด้วยไส้ขนมแบบจัดเต็ม 

วัตถุดิบ และส่วนผสมแป้งขนม

  1. แป้งถั่วเขียว ½ ถ้วยตวง
  2. แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
  3. น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง
  4. ไข่ไก่ 2 ฟอง
ขนม เบื้อง โบราณ

ส่วนผสม และวัตถุดิบของครีมขนม

  1. ไข่ขาว 2 ฟอง
  2. น้ำตาลปิ๊บ 300 กรัม

วัตถุดิบ และส่วนผสมของไส้หวาน

  1. ฝอยทอง ½ ถ้วยตวง
  2. งาขาวคั่ว ½ ถ้วยตวง
ขนม เบื้อง โบราณ

วัตถุดิบ และส่วนผสมของไส้เค็ม

  1. พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
  2. มะพร้าวขูด 1 ถ้วยตวง
  3. น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
  4. กุ้งสดสับละเอียด ½ ถ้วยตวง
  5. สีผสมอาหารสีส้ม ½ ช้อนชา
  6. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
  7. กระเทียม 5 กลีบ
  8. รากผักชี 2 ราก

สำหรับสูตร ขนม เบื้องทำเองมีทั้งหมด 2 ไส้คือ ไส้หวาน และไส้เค็ม ดังนั้นถ้าใครไม่อยากเสียเวลาทำขนมนานเกินไปสามารถเลือกทำแค่ไส้เดียวก็ได้ตามใจชอบ เมื่อเตรียมอุปกรณ์ และส่วนผสมทั้งหมดเรียบร้อยแล้วในขั้นตอนต่อมาจะเป็นการทำขนมเบื้องดังนี้

ขนม เบื้อง โบราณ
  1. มาเริ่มกันที่ทำแป้งขนมเบื้องกันก่อน นำแป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว น้ำตาลทราย และไข่ไก่มาเทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้แล้วผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ต่อมาใส่น้ำปูนใสลงไปทีละนิดแล้วนวดแป้งไปเรื่อยๆ จนได้เนื้อแป้งเป็นเนื้อเดียวกัน 
  2. ต่อมาจะเป็นการทำครีมขนม โดยนำไข่ขาวมาตีให้เข้ากันกับน้ำตาลปิ๊บจนไข่ขาวตั้งยอด ประมาฯ 15 นาที หลังจากนั้นให้มาทำไส้เค็มกันต่อ นำรากผักชี กระเทียม และพริกไทยมาโขลกให้เข้ากัน จากนั้นตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชลงไป เปิดไฟปานกลาง ใส่เครื่องโขลกที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้เข้ากันจนหอม ใส่กุ้ง และพร้าวขูดผัดให้เข้ากันจนสุก จากนั้นเติมสีผสมอาหารลงไป ปรุงรสด้วยเกลือป่น และน้ำตาลทราย ผัดให้เข้ากันอีกครั้ง เสร็จแล้วตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
  3. เปิดเตาขนมกระเบื้อง ใช้ไฟอ่อนๆ จากนั้นตักแป้งขนมละเลงลงบนเตารอจนแป้งสุก ใช้กระจ่าตักส่วนผสมครีมทาลงบนแป้ง รอจนครีมร้อนเป็นฟองอากาศ จากนั้นตกส่วนผสมไส้หวาน และไส้เค็มวางลงครีมได้ตามใจชอบ หลังจากแป้งเริ่มกรอบแล้วให้ใช้เกียงแซะแป้งขึ้นแล้วพับใหเป็นครึ่งวงกลม พร้อมตักใส่จาน 
ขนม เบื้อง โบราณ

สำหรับวิธี ทำ ขนม เบื้องอย่างง่ายๆ ตามฉบับขนมทำเองนั้น ถ้าไม่มีเตาทำขนมเบื้องสามารถใช้กระทะเทฟลอนแทนได้ โดยขนมเบื้องที่ทำเสร็จใหม่ๆ แป้งจะกรุบกรอบหวานอร่อย หอมละมุนชวนทานเป็นอย่างมาก และที่สำคัญไส้ขนมอร่อยกลมกล่อมอีกด้วย

รู้หรือไม่! ขนม เบื้อง โบราณ แป้งกรอบ มีหลายแบบหลายชนิด 

ขนม เบื้อง โบราณ

หลังจากที่ทำขนม เบื้อง โบราณอย่างง่ายๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาเราจะมาดูชนิดของขนมเบื้องกันบ้าง ซึ่งขนมไทยชนิดนี้มีทั้งแบบสูตรดั้งเดิมจะมีส่วนผสมหลักๆ เป็นแป้งข้าวเจ้า และกะทิ ผสมกับเกลือ แต่ปัจจุบันคนไม่นิยมทำแล้ว ส่วนขนมเบื้องสูตรชาววัง มีอยู่ 2 ไส้คือ ไส้กุ้งเค็ม กับไส้หวาน และขนมเบื้องสูตรสุดท้ายคือ ขนมเบื้องญวนจะใส่แป้ง ขนม เบื้องลงบนกระทะตามด้วยไส้ต่างๆ แล้วพับกลางนั่นเอง 

อ่านบทความอื่นๆ: