Categories
ขนมไทย

ขนมตาล ขนมไทยพื้นบ้าน สูตรทำง่ายแป้งนุ่มฟูหอมหวานอร่อย

ขนมตาล ขนมไทยพื้นบ้าน สูตรทำง่ายแป้งนุ่มฟูหอมหวานอร่อย

ขนมไทยพื้นบ้านในปัจจุบันนั้นมีมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และน่าค้นหาอยู่ไม่น้อย ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาอนุรักษ์ขนมไทยไปกับ ขนมตาล ขนมที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นชิ้นเล็ก ๆ สีเหลืองเหมือนลูกตาล เนื้อสัมผัสนุ่ม ฟู ผสานไปกับกลิ่นหอมของลูกตาลซึ่งเป็นเอกลักษณ์ นิยมทำในงานบุญต่าง ๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำ ขนมตาล สูตรไม่ต้องตากแดด

ขนมตาล หนึ่งในขนมในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในอดีตนั้นมีส่วนผสมหลักที่หาได้ง่ายเพียงสี่อย่างเท่านั้น คือ แป้ง มะพร้าว เนื้อตาล และน้ำตาล เพียงเท่านั้น จนกระทั่งถูกปรับปรุงพัฒนา สูตรขนมตาล ให้มีส่วนผสม และวิธีการทำที่มากขึ้น บรรจุใส่ในกระทงใบตองสีสันสวยงามเข้ากับสีเหลืองของขนม ในบทความนี้เป็น สูตรทำขนมง่าย ๆ ไม่ต้องตากแดด ลดเวลาในการทำขนม

วัตถุดิบทำขนมตาล

  1. เนื้อตาลสุก 350 กรัม
  2. แป้งเค้ก 300 กรัม
  3. แป้งข้าวเจ้า 400 กรัม
  4. น้ำตาลทรายละเอียด 500 กรัม
  5. ยีสต์ ขนมปัง 1 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือ 1/2 ช้อนชา (สำหรับผสมแป้ง)
  7. กะทิ 700 กรัม
  8. มะพร้าวทึนทึก 300 กรัม
  9. เกลือ 1/2 ช้อนชา (สำหรับใส่มะพร้าว)

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกร่อนแป้งเค้ก และแป้งข้าวเจ้าใส่ชามผสม ตามด้วยเนื้อตาลสุกลงไปนวดขยำให้เข้ากันกับแป้ง ทยอยเทน้ำกะทิลงไปนวดต่อจนกว่าจะหมดเพื่อให้แป้งนุ่ม (แบ่งใส่สามครั้ง) ใช้เวลานวด 10 นาที 
  2. ใส่น้ำตาลทรายลงไปนวดต่อในชามผสมแป้งเนียนเป็นเนื้อเนียน ใส่ยีสต์ลงไปเพิ่มความนุ่มฟู และเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ ใช้มือคนทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นคลุมชามผสมด้วยฟิล์มถนอมอาหาร พักแป้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แป้งฟู
  3. เมื่อครบเวลาแล้วให้นำถ้วยตะไลจัดวางในซึ้งให้เต็มก่อนจะตักเนื้อแป้งหยอดใส่ลงไป โดยเหลือพื้นที่บนถ้วยไว้เล็กน้อยเผื่อให้เนื้อขนมฟูขึ้น โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือ ก่อนจะนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุกดี เสร็จแล้วนำออกมาพักให้เย็นแล้วรับประทานได้เลยค่ะ

บทสรุป

เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ทำให้แม่ค้าหลายคนมักจะใส่เนื้อตาลในปริมาณน้อย ในปัจจุบันนี้เราจึงสามารถหาซื้อ ขนมตาล ที่มีรสชาติดีได้ยากมาก เราจึงขอแนะนำให้ทุกคนทำ ขนมไทยพื้นบ้าน เพื่อให้ได้รับประทาน ขนมหวาน ที่รสชาติดี กลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น รับรองได้เลยว่าอร่อยแบบไม่มีผิดหวังแน่นอน

 

 

 

เว็บบอล

Categories
ขนมไทย

กล้วยบวชชี สูตรขนมหวานไทยทำทานเองได้ รสชาติหวาน มัน อร่อย

กล้วยบวชชี สูตรขนมหวานไทยทำทานเองได้ รสชาติหวาน มัน อร่อย

Poached Banana in Young Coconut Sauce (กล้วยบวชชีมะพร้าวอ่อน)

กล้วยบวชชี เมนูขนมหวานไทยจากกล้วย ผลไม้ที่อร่อยแล้วยังเต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย เป็นขนมที่เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะอยู่คู่กับคนไทยเรามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมทำรับประทานกันในครัวเรือน และยังนำไปทำบุญที่วัด รับรองแขกบ้านแขกเรือน หรือแม้แต่ทำเลี้ยงแขกในพิธีมงคลต่าง ๆ ในส่วนของรสชาตินั้นอร่อยอย่าบอกใคร เราจึงได้นำสูตรทำกล้วยบวชชีมาแนะนำให้ทุกคนได้ลองทำตามกันแบบง่าย ๆ 

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำกล้วยบวชชี ขนมหวานแบบไทย ๆ

สำหรับเมนูขนมไทย กล้วยบวชชี ในอดีตนั้นถือว่ามีกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยาก แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการ ทำขนมไทย ลดขั้นตอนในการทำ และช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก แถมเมนูนี้ยังเป็นเมนูขนมหวานทำง่ายที่ใช่วัตถุดิบในการทำเพียงน้อยนิด วัตถุดิบในการทำก็หาได้ง่ายทั่วไป เพราะเป็นผลไม้ไทยที่ปลูกกันแทบทุกบ้านอยู่แล้ว ดังนั้น เราไปดูวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ทำขนม และขั้นตอนวิธีทำกันเลยค่ะ

วัตถุดิบทำกล้วย บวช ชี

  1. กล้วยน้ำว้าสุกห่าม 1 หวี
  2. หัวกะทิ 600 มิลลิลิตร
  3. หางกะทิ 1000 มิลลิลิตร
  4. น้ำตาลทราย 350 กรัม
  5. เกลือใส่น้ำกะทิ 1/2 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือใส่หม้อต้มกล้วย 1 ช้อนโต๊ะ
  7. ใบเตย 5 ใบ
กล้วย บวชชี วันนี้เป็นเมนูอาหารหวานหลายๆคนน่าจะชอบกินคาวต้องกินหวาน

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกนำกล้วยน้ำว้ามาตัดออกจากขั้วแล้วตั้งหม้อต้มน้ำให้ร้อนใส่เกลือลงไปเล็กน้อย จากนั้นนำกล้วยลงไปต้มเป็นเวลา 20 นาที หรือจนกว่ากล้วยจะสุกดี (วิธีสังเกตคือ กล้วยสุกแล้วเปลือกของกล้วยจะเริ่มแตก)
  2. เมื่อกล้วยที่ต้มไว้สุกได้ที่แล้วให้ปิดเตา นำกล้วยไปแช่ไว้ในน้ำเย็นเพื่อให้คลายความร้อน ต่อด้วยการปลอกเปลือกกล้วยแล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ใส่ชามพักไว้
  3. ตั้งหม้อต้มน้ำกะทิ ใส่เกลือ และน้ำตาลทราย ใช้ช้อนชนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันแล้วใส่มัดใบเตยลงไปต้มต่อให้น้ำกะทิสุก ใส่กล้วยที่เตรียมไว้ลงไปต้มต่อประมาณ 3 นาที ปิดเตานำไปใส่ถ้วยรับประทานได้เลยค่ะ
กล้วยบวชชี010-20200618 - ไร่เกษตร

บทสรุป

สูตรขนมไทย กล้วยบวชชี มีเคล็ดลับง่าย ๆ ในการทำให้อร่อยถูกปาก เนื้อกล้วยหวานกำลังดี ไม่ฝาด ไม่เละ นั้นก็คือการเลือกกล้วย ควรเลือกกล้วยที่สุกห่าม นำไปต้มกับน้ำเกลือทั้งเปลือก เพื่อให้ยางกล้วยลอยขึ้นแล้วจึงนำไปคลายความร้อนด้วยน้ำเย็นก่อนจะนำมาทำ ขนมไทยง่าย ๆ ที่เราเชื่อว่าทุกคนสามารถทำรับประทานเองได้อย่างแน่นอน

 

 

 

เว็บบอล

Categories
ขนมไทย

สังขยาไข่ เมนูขนมฉบับบดั้งเดิม รสชาติหอมหวานมันอย่างลงตัว

สังขยาไข่
สังขยาไข่ เมนูขนมฉบับบดั้งเดิม รสชาติหอมหวานมันอย่างลงตัว

เมื่อพูดถึงเมนูสังขยาไข่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คงรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ๆ จะตลาดหรือห้างสรรพสินค้าก็มักจะมีร้านขายขนมชนิดนี้อยู่เสมอ ขนมชนิดนี้เป็นขนมที่ได้รับการขนานนามมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ด้วยความที่มีสีเหลืองนวลของไข่ รสชาติหอม หวาน มัน น่ารับประทานเป็นอย่างมาก หากใครยังไม่เคยได้ทานถือว่าพลาดสุด ๆ เลยค่ะ

ขนมชื่อดังชนิดนี้เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางประเทศโปรตุเกสมาอย่างยาวนาน นิยมรับประทานคู่กับข้าวเหนียวหรือจะนำไปทำเป็นไส้ฟักทองก็ได้เช่นเดียวกัน ขนมชนิดนี้เป็นขนมที่แตกต่างออกไปจากสังขยาใบเตยเพราะส่วนประกอบสำคัญของขนมคือไข่ ถึงแม้ว่าจะเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอื่นแต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้กลายเป็นขนมแสนอร่อยประจำประเทศไทยไปแล้ว

สังขยาไข่ ขนมชื่อดังที่ได้รับอิทธิพลมาอย่างยาวนาน

เมื่อพูดถึงการใช้วัตถุดิบของเมนูสังขยาไข่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าส่วนประกอบของเมนูนี้มีอะไรบ้าง วิธีทำสังขยาไข่ให้อร่อยได้นั้นต้องใช้ไข่เป็ดแบบสดใหม่ น้ำตาล ใบเตยสด และกะทิสด หรือถ้าหากว่าใครอยากเพิ่มมะพร้าวอ่อนลงไปก็สามารถใส่ลงไปด้วยได้เช่นกัน ซึ่งวัตถุดิบทุกอย่างนั้นเป็นวัตถุดิบที่พื้นบ้านมาก ๆ แถมยังหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปอีกด้วย 

เมนูนี้เป็นเมนูที่ได้รับการต่อยอดมาจากข้าวเหนียวมูนที่เหลืออยู่ เพื่อการรับประทานที่มีหลากหลายมากขึ้นเมนูขนมสังขยาไข่จึงเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้จำเจกับการทานคู่กับมะม่วงเพียงอย่างเดียว แต่การจะออกไปซื้อมาทานอยู่บ่อย ๆ เนื้อสังขยาก็ช่างให้มาน้อยนิดจนเกินพอดี เรียกได้ว่าลงมือทำเองน่าจะอิ่มอร่อยจนจุกเลยทีเดียว

การเลือกไข่เป็นเพื่อทำสังขยาไข่ต้องเลือกไข่ที่สดใหม่ออกจากฟาร์มหรือเล้ามาหมาด ๆ เพื่อให้สีของไข่เป็นนั้นยังคงดูสดและนำไปทำเนื้อสังขยาได้นวลมากยิ่งขึ้น ส่วนน้ำตาลที่ใช้ถ้าจะให้แนะนำก็คงจะต้องใช้น้ำตาลมะพร้าวจะดีที่สุด เพราะน้ำตาลชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัวมากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น อีกหนึ่งข้อสำคัญเพื่อทำให้สังขยามีกลิ่นหอมกว่าปกติคือการใช้ใบเตยในการขยำไข่และส่วนประกอบอื่น ๆ ให้เข้ากัน

สังขยาไข่
สังขยาไข่ เมนูขนมฉบับบดั้งเดิม รสชาติหอมหวานมันอย่างลงตัว

ขนมชื่อดังที่ใครก็อยากลองทำ กลิ่นหอมหวานเตะจมูกน่าทานสุด ๆ H3

เมนูของหวานไทยชนิดนี้ตามร้านแต่ละร้านก็จะมีเคล็ดลับ กระบวนการทำ กรรมวิธีที่แตกต่างกันออกไป ไข่ที่ใช้ น้ำตาลที่ผสม ก็จะแตกต่างออกไปเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าส่วนผสมชนิดนี้จะไม่ได้มีเยอะอะไรมากมาย แต่การลงมือทำขนมไทยชนิดนี้ให้อร่อยได้ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก วันนี้เราได้นำสูตรสังขยาเด็ด ๆ มาฝากทุกคนกันค่ะ ไปเตรียมอุปกรณ์และลงมือทำกันได้เลย

วัตถุดิบและส่วนผสม

  1. ไข่เป็ด 4 ฟอง
  2. หัวกะทิ 130 มิลลิลิตร
  3. น้ำตาลมะพร้าว 130 กรัม
  4. ใบเตยสด 5 ใบ
  5. แป้งข้าวเจ้า 30 กรัม
สังขยาไข่
สังขยาไข่ เมนูขนมฉบับบดั้งเดิม รสชาติหอมหวานมันอย่างลงตัว

วิธีทำ

  1. ทำการตอกไข่ใส่กะละมังใบกว้าง ๆ หน่อย จากนั้นทำการใส่น้ำตาลมะพร้าวตามลงไป แล้วจึงทำการมัดใบเตยลงไปขยำกับไข่และน้ำตาลจนกว่าเนื้อไข่จะฟูขึ้น
  2. นำแป้งข้าวเจ้าเทลงไปในกะทิแล้วคนให้แป้งละลาย จากนั้นจึงค่อย ๆ เทกะทิใส่ลงไปในไข่ คนจนเข้ากันอีกครั้ง
  3. ทำการกรองเนื้อขนมด้วยกระชอน
  4. เทขนมใส่ในภาชนะแบบที่ต้องการ แล้วนำไปนึ่งในซึ้งด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 20-30 นาทีหรือจนกว่าสังขยาจะสุก
สังขยาไข่
สังขยาไข่ เมนูขนมฉบับบดั้งเดิม รสชาติหอมหวานมันอย่างลงตัว

สุดยอดเมนูชื่อดังของขนมในประเทศไทย ด้วยรสชาติที่อร่อยแบบลงตัว H2 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคนกับเมนูสังขยาไข่ที่เรานำมาฝากทุกคนวันนี้วัตถุดิบและวิธีทำง่ายมาก ๆ เลยใช่ไหมคะ เมนูนี้สามารถนำไปทำเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ เพราะว่าการขายขนมหวานไทยยังไงก็สามารถขายได้ในทุก ๆ วันอย่างแน่นอน เมนูนี้ถ้าหากว่าทานคู่กับข้าวเหนียวมูนจะดีมาก ๆ เลยค่ะเพราะรสชาติที่หอมหวานของสังขยาทานร่วมกับข้าวเหนียมมูนมัน ๆ อร่อยลงตัวสุด ๆ 

เว็บบอล

Categories
ขนมไทย

ขนมทองพลุ ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างชาติ

ขนมทองพลุ
ขนมทองพลุ ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างชาติ

ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับขนมไทยตระกูลทองที่ถูกตั้งชื่อที่เป็นมงคล ใช้ประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเลื่อนขั้น หรือแม้แต่พิธีขึ้นบ้านใหม่ หนึ่งในขนมไทยตระกูลทองยังมีขนมที่หลายคนยังไม่รู้จัก นั่นก็คือ “ขนมทองพลุ” ซึ่งเป็นขนมที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมของต่างประเทศ เป็นได้ทั้งของหวาน และของว่างทานเล่น นำไปรับประทานกับอะไรก็อร่อย ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม น้ำจิ้มรสหวาน ในปัจจุบันนิยมนำมาสอดไส้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทาน

ทำความรู้จัก ขนมทองพลุ ขนมไทยหาทานยาก

ขนมทองพลุ คือ ขนมไทยที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับขนมเอแคลร์ของประเทศฝรั่งเศส หลายคนอาจเห็นเจ้าขนมก้อนกลมนี้แล้วเกิดความคิดว่าเป็นขนมชนิดเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ ก็คือขนมเอแคลร์ที่เปลี่ยนจากการอบแบบเบเกอรี่ มาเป็นการทอดด้วยน้ำมันในกระทะร้อน ๆ กลายเป็นหนึ่งในขนมไทยตระกูลทองที่ชื่อของขนมสื่อความหมายมงคลที่แตกต่างกัน โดยคำว่าทอง สื่อถึงของมีค่า ส่วนคำว่าพลุ สื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง ขนม ทองพลุ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง และการมีชื่อเสียงเปรียบเหมือนพลุที่ส่งเสียงดัง

ขนมทองพลุ
ขนมทองพลุ ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างชาติ

ประวัติความเป็นมา

ตามตำนานเล่าสู่กันฟังว่า ขนมทองพลุ ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยพระนารายณ์มหาราช ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยท้าวทองกีบม้า หรือมาดาม กีมาร์ ราชินีขนมไทยที่รังสรรค์ปรับสูตรขนมจากต่างแดนมาเป็นขนมไทยโบราณหลายชนิด โดยขนม ทอง พลุถูกดัดแปลงมาจากสูตรขนมปาตาชูส์ หรือก็คือเอแคลร์ของประเทศฝรั่งเศส แตกต่างกันตรงที่เอแคลร์ใช้วิธีการอบ ส่วนขนมไทยชนิดนี้ใช้กรรมวิธีการทอดด้วยน้ำมันร้อน ๆ เมื่อทอดสุกแล้วจะขึ้นรูปเป็นทรงกลมสีทองอร่าม และวิธีการทำนี่เองที่ทำให้เกิดชื่อขนมขึ้นมา

พัฒนาการของขนมทองพลุ จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ขนมทองพลุ มีลักษณะเป็นแป้งทอดก้อนกลมคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองทอง ผิวเรียบเนียน เป็นโพรงกว้างด้านใน รสชาติหวาน และเค็มเล็กน้อย เนื้อสัมผัสกรอบนอกนุ่มใน สามารถนำไปรับประทานได้หลายแบบ ในอดีตถือเป็นขนมไทยหาทานยาก คนที่รับประทานได้จะมีเพียงข้าราชการชั้นสูง และผู้ที่มีฐานะร่ำรวยเพียงเท่านั้น ส่วนชาวบ้านธรรมดาจะหาทานได้ยากมาก จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงสอดไส้ต่าง ๆ ลงไป เช่น ทองพลุไส้หวาน ไส้เค็ม ไส้ผลไม้ต่าง ๆ แต่ไส้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ไส้ไก่ หรือไส้เค็มนั้นเอง

ขนมทองพลุ
ขนมทองพลุ ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างชาติ

วัตถุดิบ ขั้นตอนการทำขนม ทองพลุไส้ไก่

หากใครเคยทำขนมเอแคลร์มาแล้วจะสามารถทำขนมทองพลุได้อย่างง่ายดาย เพราะวิธีการทำไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ และหากคุณเป็นมือใหม่ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ สามารถทำได้ง่ายด้วยเช่นกัน โดยสูตรทำขนมไทยของเราในบทความนี้ มีทั้งสูตรทำตัวขนม และสูตรทำไส้ไก่ หรือไส้เค็มแบบง่าย ๆ แต่รสชาติต้องบอกเลยว่าไม่ธรรมดา และหาทานได้ยากมากในปัจจุบัน การทำรับประทานเองถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด รู้แล้วอย่ารอช้า ไปเตรียมวัตถุดิบ และลงมือทำขนมไทยทำง่ายกันเลย

วัตถุดิบทำขนมทองพลุ

  1. น้ำเปล่า 100 มิลลิลิตร
  2. เนย 50 กรัม
  3. เกลือ ¼ ช้อนโต๊ะ
  4. ไข่ไก่ 2 ฟอง
  5. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 60 กรัม
  6. น้ำมันพืช สำหรับทอดขนม

วัตถุดิบทำไส้ขนม (ไส้ไก่)

  1. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
  2. หอมใหญ่หั่นชิ้น 20 กรัม
  3. แครอทหั่นชิ้น 20 กรัม
  4. น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ
  5. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  6. ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
  7. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  8. พริกไทยขาว ¼ ช้อนโต๊ะ
  9. เนื้อไก่บด 150 กรัม
  10. พริกชี้ฟ้าซอย ปริมาณตามชอบ
  11. ผักชี ปริมาณตามชอบ
ขนมทองพลุ
ขนมทองพลุ ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างชาติ

ขั้นตอนวิธีทำ

  1. ขั้นตอนแรกตั้งหม้อด้วยไฟอ่อนใส่น้ำสะอาด ตามด้วยเนย และเกลือ เมื่อส่วนผสมเริ่มเดือดแล้วให้ยกออกจากเตา ร่อนแป้งสาลีอเนกประสงค์ใส่ลงไป คนให้ละลายเข้ากันจนเป็นเนื้อแป้งสุกมีสีใส และเริ่มจับตัวเป็นก้อน พักไว้ให้อุ่น
  2. เมื่อแป้งอุ่นแล้วให้ใส่ไข่ไก่ลงไปคนผสมให้เข้ากัน ก่อนจะตั้งหม้อด้วยไฟอ่อนค่อนกลาง ใส่น้ำมันพืชประมาณ 1/3 ของหม้อ หรือกระทะ รอให้เดือดแล้วใช้ช้อนตักแตงโต หรือช้อนทรงกลมตักขนมใส่ลงไปในน้ำมัน เมื่อสุกเหลืองแล้วให้พลิกด้านทอดอีกด้านให้สุกเท่ากัน (ขั้นตอนนี้ขนมจะพองเป็นก้อนกลม เป็นทองพลุสมชื่อเลย) สุกแล้วให้นำออกมาพักไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน 
  3. ตั้งกระทะด้วยไฟอ่อนค่อนกลาง ใส่น้ำมันพืช แครอท และหอมหัวใหญ่ คนจนส่วนผสมเริ่มสุกแล้วให้ใส่น้ำเปล่าลงไป ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส น้ำตาล และพริกไทยขาวลงไปคนให้เข้ากันแล้วใส่เนื้อไก่บดลงไปคนให้แตกตัว และแห้ง
  4. ใช้มีดผ่าตรงกลางขนมทองพลุ แล้วตักไส้ใส่ตรงกลาง ตกแต่งหน้าขนมด้วยพริกชี้ฟ้าซอย และผักชี เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำขนมง่าย ๆ ค่ะ
ขนมทองพลุ
ขนมทองพลุ ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมต่างชาติ

เคล็ดลับในการทำขนม

นอกจากขั้นตอนวิธีทำ ขนมทองพลุ พร้อมไส้ไก่แสนอร่อยแล้ว เรายังมีเคล็ดไม่ลับมาบอกต่ออีกด้วย คือ ต้องร่อนแป้งก่อนแล้วจึงผสมลงไปในส่วนผสมของเนย และน้ำ จากนั้นกวนด้วยความรวดเร็ว ห้ามให้แป้งจับตัวเป็นเม็ด เสร็จแล้วให้รอให้ส่วนผสมเย็นก่อนค่อยใส่ไข่ลงไป และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือการทอดขนมในกระทะทอง เพราะเป็นกระทะที่นำความร้อนได้ดี กระทะจะร้อนไว และร้อนต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เหมาะกับการทำขนมมาก ๆ ค่ะ

บทสรุป

เชื่อว่าหลังจากจบบทความนี้ ทุกคนคงได้รู้จักกับขนมทองพลุ ขนมไทยโบราณของเรากันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา และเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับขนม พร้อมสูตรวิธีทำง่าย ๆ ที่สามารถนำไปปรับสูตรใส่ไส้อื่น ๆ ได้ตามความต้องการ ตามแต่ความชอบของแต่ละคน หรือใครที่ไม่ชอบใส่ไส้ก็สามารถทำแค่ตัวขนมแล้วนำไปรับประทานควบคู่กับ ชา กาแฟ นมข้น หรือแม้แต่จิ้มกับแยมก็อร่อยด้วยเช่นกัน อย่าลืมนำสูตรขนมดี ๆ รสชาติอร่อย ไปลองทำตามกันดูสักครั้งนะคะ รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

Categories
ขนมไทย

ขนมน้ำดอกไม้ หรือขนมชักหน้า ขนมไทยทำง่าย สีสันสดใส

ขนมน้ำดอกไม้

ในบทความนี้เราจะขอเอาใจมือใหม่หัดทำขนมด้วยขนมไทยทำง่ายอย่าง “ขนมน้ำดอกไม้” ซึ่งเป็นขนมไทยที่แอบคล้ายเบเกอรี่อยู่เหมือนกัน เนื่องจากมีหน้าตา และสีสันอ่อน ๆ สวยงาม แปลกตากว่าขนมไทยโบราณทั่วไปที่เคยได้รู้จัก หลังจากที่นึ่งเสร็จ ตัวขนมจะมีรอยบุ๋มตรงกลาง เปรียบได้กับกิริยาของคนที่มีอาการโกรธแล้วชักสีหน้า คนโบราณจึงเรียกขนมไทยนี้ด้วยอีกชื่อว่า “ขนมชักหน้า” หรือ “ขนมชัก” แม้ว่าชื่อแสดงถึงอาการโกรธ แต่ทานแล้วรับรองได้เลยว่าต้องอารมณ์ดีแน่นอนค่ะ 

ทำความรู้จักกับขนมน้ำดอกไม้ ขนมไทยสีสันมุ้งมิ้ง

ขนมน้ำดอกไม้ ขนมไทยโบราณที่หลายคนยังไม่รู้จัก เราจึงจะขอบอกเล่าถึงลักษณะของขนมให้ได้รู้กันก่อน คือ รูปร่างลักษณะของขนมชักหน้ามีรอยบุ๋มตรงกลางหน้า แป้งนุ่ม ขึ้นมันเงา มีขนาดชิ้นเล็กพอดีคำ และมีสีสันอ่อน ๆ สไตล์พาสเทล ดูน่ารักน่ารับประทาน ต่อมาเป็นเรื่องของรสชาติที่หวานกำลังดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เนื้อสัมผัสของขนมที่เหนียวนุ่มหนึบหนับ บวกกับกลิ่นหอมละมุนของน้ำลอยดอกมะลิที่ใส่ลงไปเป็นส่วนผสมแล้วทำให้ยิ่งทานยิ่งฟินจนชิ้นเดียวไม่พออย่างแน่นอน

ขนมน้ำดอกไม้

จุดเด่นของขนมไทยชนิดนี้

นอกจากหน้าตาของขนมที่มีรอยบุ๋มตรงกลาง และสีสันที่อ่อนสวยงาม เป็นจุดเด่นที่เราสามารถมองเห็น หรือสังเกตได้จากภายนอกแล้ว ขึ้นชื่อว่า ขนมน้ำดอกไม้ แน่นอนว่าจุดเด่นของขนมอีกหนึ่งอย่างก็ต้องเป็นกลิ่นหอม ๆ จากน้ำลอยดอกไม้ หรือน้ำลอยดอกมะลิที่ใส่ลงไปเป็นส่วนผสม โดยเคล็ดลับในการทำขนมไทยนี้ให้อร่อย ต้องเริ่มจากการเลือกดอกมะลิที่ใช้ทำน้ำลอย ควรใช้ดอกมะลิที่เก็บสดใหม่จากต้นที่ปลูกเอง มั่นใจได้ว่าไม่มียาฆ่าแมลง และควรเก็บในช่วงเวลาเย็น โดยเด็ดจากกลีบเลี้ยงก่อนค่ะ

ขนมไทยโบราณที่หาทานได้ยาก

แม้ว่าขนมน้ำดอกไม้จะเป็นขนมหวานที่น่ารับประทาน แต่ก็ถูกจัดอยู่ในขนมไทยโบราณหาทานได้ยาก ไม่มีวางขายให้เห็นได้ทั่วไปเหมือนอย่างขนมไทยยอดนิยมชนิดอื่น ๆ ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ครั้งล่าสุดที่ได้รับประทานก็น่าจะเป็นในตอนเด็ก ๆ ที่นานจนจำแทบไม่ได้ แต่เมื่อนึกถึงรสชาติหวานหอมละมุนแล้ว ทำให้เกิดอยากรับประทานขึ้นมาทันทีเลย จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้ลองทำรับประทานด้วยตัวเอง เพื่ออนุรักษ์ขนมไทยของเรา ผ่านสูตรวิธีการทำง่าย ๆ ที่เราได้นำมาแนะนำให้ได้ทำตามนะคะ

ขนมน้ำดอกไม้

ขนมไทยที่เหมาะกับมือใหม่หัดทำขนม

ขนมไทยโบราณส่วนใหญ่จะเป็นขนมไทยแท้ที่ต้องอาศัยขั้นตอนมากมาย และความประณีตบรรจงในการรังสรรค์ขนมออกมาให้มีหน้าตาสวยงาม บ่งบอกถึงความตั้งใจของคนทำ (ซึ่งบางชิ้นก็สวยงามจนไม่กล้ารับประทานเลยทีเดียว) แต่ขนมน้ำดอกไม้นั้นเป็นหนึ่งในขนมไทยโบราณเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถทำได้ง่าย วัตถุดิบน้อย ขั้นตอนการทำไม่มากมาย จึงเป็นขนมไทยที่เหมาะกับมือใหม่ที่กำลังหัดทำขนมอร่อย ๆ ด้วยตัวเอง หากใครอยากรู้ว่าง่ายจริงหรือไม่ ไปอ่านต่อพร้อม ๆ กันเลย

ขั้นตอนวิธีการทำขนมน้ำดอกไม้

ขนมน้ำดอกไม้ หรือขนมชักหน้า ขนมไทยแท้ ๆ แบบดั้งเดิมที่ใช้วัตถุดิบหลักคือ แป้ง น้ำตาล ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในสมัยก่อน หากอยากได้สีสันที่สวยงามในสมัยนั้นจะใช้สีสันจากธรรมชาติแท้ ๆ เช่น สีม่วงจากดอกอัญชัน สีเหลืองจากฟักทอง สีแดงจากกระเจี๊ยบ เป็นต้น และเนื่องจากเป็นขนมที่สามารถทำได้ง่าย จึงนิยมทำรับประทานกันเป็นของว่างทานเล่น โดยมีวัตถุดิบ และขั้นตอนการทำขนมไทยง่าย ๆ ดังนี้

วัตถุดิบ

  1. แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม
  2. แป้งท้าวยายม่อม หรือแป้งมัน 25 กรัม
  3. น้ำอุ่น 240 กรัม
  4. น้ำตาลทรายขาว 65 กรัม
  5. กลิ่นมะลิ 2-3 หยด
  6. สีผสมอาหารตามชอบ
ขนมน้ำดอกไม้

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกนำน้ำตาลทรายไปละลายกับน้ำอุ่น ใช้ช้อนคนให้ละลายดีแล้วพักไว้
  2. เตรียมชามผสม ใส่แป้งข้าวเจ้า และแป้งเท้ายายม่อมลงไปแล้วใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากัน ตามด้วยน้ำเชื่อมที่ผสมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันดีแล้วใส่กลิ่นมะลิลงไปคนอีกครั้ง
  3. นำแป้งที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 2 มาแบ่งใส่ภาชนะตามจำนวนสีที่จะใช้ เพื่อใส่สีผสมอาหารลงไปผสมเพิ่มสีสันให้สวยงาม (ในขั้นตอนนี้แนะนำให้ใส่สีผสมอาหารน้อย ๆ นะคะ เพราะขนมต้องมีสีอ่อนพาสเทล)
  4. เตรียมถ้วยตะไลไปนึ่งในน้ำเดือดจัดประมาณ 10 นาที (เพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดพิมพ์) เมื่อครบเวลาแล้วให้เปิดฝาหม้อนึ่งออกด้วยความรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ไอน้ำหยดลงไปในพิมพ์ขนม
  5. ปรับไฟให้เป็นไฟอ่อน แล้วคนแป้งที่พักไว้เล็กน้อยเพื่อไม่ให้แห้งติดภาชนะ ก่อนจะตักหยอดลงไปในถ้วยตะไลจนเกือบเต็มถ้วย เมื่อหยอดเสร็จแล้วให้ปรับเป็นไฟแรงแล้วนึ่งต่อเป็นเวลา 15 นาที เสร็จแล้วพักไว้ให้เย็นสนิทแล้วใช้ไม้แหลมแคะตัวขนมออกจากพิมพ์ จัดเสิร์ฟได้เลย

เทคนิคในการทำขนม

แม้ว่าจะเป็นขนมหวานที่ทำง่ายมาก แต่ก็ยังมีบางคนที่ประสบปัญหาทำขนมแล้วหน้าไม่บุ๋มอย่างที่หวัง วิธีแก้ไขก็คือการเลือกใช้แป้งเก่า และไม่นวดแป้ง ใช้วิธีการผสมแล้วคนให้เข้ากันเพียงเท่านั้น และก่อนจะเทแป้งลงในถ้วยตะไล ควรคนส่วนผสมก่อนทุกครั้ง และที่สำคัญหลังนึ่งขนมเสร็จหากใจร้อนจนเกินไป ไม่พักเอาไว้ให้เย็น รีบนำขนมออกจากพิมพ์ จะทำให้ขนมเละ แป้งขรุขระ ติดถ้วย ไม่สวยงามค่ะ หากทำตามเทคนิคเหล่านี้แล้ว รับรองว่าคุณจะได้ขนมที่สวยงามน่ารับประทานแน่นอน

ขนมน้ำดอกไม้

บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเมนูขนมไทยง่าย ๆ สำหรับมือใหม่อย่างสูตรทำขนมน้ำดอกไม้ที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้ เชื่อว่าคงทำให้หลายคนได้รู้จักขนมโบราณนี้กันมากขึ้นจนสามารถทำรับประทานกันได้เองที่บ้าน หรือหากใครจะทำขายสร้างรายได้ก็สามารถทำได้นะคะ เพราะยังมีอีกหลายคนที่เคยทานแล้วอยากทานอีก แต่หาซื้อมารับประทานไม่ได้อยู่มากเลยทีเดียว 

Categories
ขนมไทย

ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

ขนมไทยมงคล
ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

ในช่วงเวลาดี ๆ ที่มีการจัดงานมงคลเยอะแบบนี้ เราจึงได้เห็นความสำคัญของการนำเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของไทย ซึ่งก็คือหนึ่งใน 9 ขนมไทยมงคลอย่าง ขนมทองหยอด ขนมที่ใช้ประกอบเครื่องคาวหวาน เลี้ยงแขกในวันมงคลต่าง ๆ ซึ่งเป็นขนมไทยที่มีชื่อความหมายดี อีกทั้งยังมีสีที่เปรียบเหมือนทองคำที่มอบให้กัน จึงสามารถนำมาใช้อวยพรซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก เป็นขนมไทยยอดนิยมอีกหนึ่งอย่างที่หลายคนชื่นชอบ

แนะนำขนมไทยมงคล ทองหยอด

เชื่อว่าคนไทยน้อยคนนักที่จะไม่เคยรับประทานขนมทองหยอด เนื่องจากเป็นขนมไทยยอดนิยมที่ขาดไม่ได้เลยในร้านขนมไทย หรือแม้แต่ตลาดก็แทบจะไม่มีที่ไหนเลยที่ไม่มีขาย ส่วนตัวก็เป็นคนที่ชื่นชอบขนมไทยชนิดนี้อยู่แล้ว จึงมีโอกาสได้ทำรับประทานอยู่บ่อย ๆ บอกเลยว่าทำได้ง่ายมาก ๆ แต่ก่อนที่เราจะไปดูวัตถุดิบ สูตรวิธีทำทองหยอด อยากให้ทุกคนได้รู้จักขนมไทยมงคลนี้ให้มากขึ้น จากเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับขนมไทยที่เราได้นำมาให้ได้เรียนรู้ 

ขนมไทยมงคล
ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

ประวัติความเป็นมาขนมทองหยอด 

ขนมทองหยอด ไม่ใช่ขนมไทยแท้ ๆ แต่เป็นขนมไทยประยุกต์จากขนมโปรตุเกส เกิดขึ้นในเมืองอเวโร และถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยของเราในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท้าวทองกีบม้า (ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์) หรือราชินีขนมไทยของเรานี่เอง ซึ่งท่านได้นำความรู้ที่มีมาแต่ถิ่นกำเนิดมาผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่นในประเทศไทยสมัยนั้นมาปรุงแต่ง และใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในไทยมาทำขนมขึ้นมาใหม่ ซึ่งในสมัยนั้นคนไทยยังเชื่อเรื่องเคล็ด จึงได้ตั้งชื่อขนมให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ทอง กลายเป็นขนมไทยมงคลที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

หน้าตา เนื้อสัมผัส และรสชาติของขนม

หากใครที่ยังไม่เคยรับประทานขนมไทยมงคลที่มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองอร่ามนี้ ต้องบอกเลยว่าทองหยอดนั้นมีรสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์จากน้ำตาล ถูกปากถูกใจคนไทยมาหลายยุคหลายสมัย สามารถทานเพลิน ๆ ได้เลย แต่หากทานมากเกินไปอาจเกิดอาการเลี่ยนได้ ในส่วนของเนื้อสัมผัสจะมีความนุ่มอิ่มน้ำ แม้ว่าขนมทองหยอดจะมีส่วนผสมหลักคือไข่ แต่กลับหอมละมุน ไม่มีกลิ่นคาวไข่ให้กังวลใจเลยค่ะ 

ขนมไทยมงคล
ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

ประโยชน์ของขนม

ขนมทองหยอด ขนมไทยมงคลที่มีความสวยงาม ประณีต ความหมายดี ใช้ในวันมงคล รสชาติอร่อยแล้วยังเป็นขนมที่มีประโยชน์จากส่วนผสมที่ใช้ ประกอบด้วยไข่ น้ำตาล และแป้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานต่อร่างกาย โปรตีนในไข่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพิ่มไขมันสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย นอกจากนั้นยังมีประโยชน์อีกมากมาย แต่หากทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้โดยที่ไม่รู้ตัว และเนื่องจากเป็นขนมที่มีรสหวาน จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานนะคะ

ขนมทองหยอด 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

ด้วยชื่อ และรูปร่างของขนมที่มีความหมายดี ในประเทศไทยจึงมักจะใช้ขนมไทยมงคลประกอบในวันพิธีมงคล หรือมอบเป็นของขวัญในวันพิเศษ ให้แก่ญาติผู้ใหญ่ หรือคนสนิท ซึ่งขนมทองหยอดก็ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 9 ขนมไทยมงคลเพื่อใช้ขนมแทนคำอวยพร ให้มั่งคั่งร่ำรวยมีเงินทองใช้จ่าย ตามอย่างที่เราได้บอกไปในข้างต้นว่าขนมไทยชนิดนี้เปรียบเหมือนทองคำ การให้ขนมไทย จึงเหมือนกับการให้ทองคำนั้นเอง

ขนมไทยมงคล
ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำทองหยอด

จากที่เคยทำขนมไทยมาแล้วมากมาย จึงบอกได้เลยว่าขนมทองหยอด เป็นขนมไทยทำง่าย อาศัยความพิถีพิถันเล็กน้อยในการทำเพียงเท่านั้น อีกทั้งวัตถุดิบที่ต้องเตรียมก็น้อย ไม่มากมายเหมือนขนมไทยบางชนิด และยังสามารถหาซื้อได้ทั่วไป เราจึงสามารถทำขนมไทยมงคลได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ที่บ้าน โดยใช้สูตรขั้นตอนการทำที่เรานำมาแนะนำ ดังนี้

วัตถุดิบทำตัวขนม

  1. ไข่เป็ด 7 ฟอง
  2. ไข่ไก่ 5 ฟอง
  3. แป้งข้าวเจ้า 60 กรัม
  4. น้ำตาลทรายขาว 1,000 กรัม
  5. น้ำเปล่า 1,000 กรัม
  6. กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา

วัตถุดิบทำน้ำเชื่อม

  1. น้ำตาลทรายขาว 1/2 กิโลกรัม
  2. น้ำเปล่า 800 มิลลิลิตร
  3. ขนมไทยมงคล
    ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกแยกไข่ขาวออกจากไข่แดงให้ได้มากที่สุด โดยนำไข่แดงไปวางในภาชนะที่รองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นรวบผ้าขาวบางขึ้นแล้วบีบไข่แดงใส่ลงไปในภาชนะ ตามด้วยการตีไข่แดงด้วยเครื่องผสมอาหารจนขึ้นฟู และร่อนแป้งข้าวเจ้าลงไป ใช้ไม้พาย หรือตะกร้อมือคนตะล่อมให้เข้ากันดี
  2. ทำน้ำเชื่อม โดยเริ่มจากการต้มน้ำให้เดือด ใส่น้ำทรายลงไป หมั่นคนให้น้ำตาลละลายดี ต้มให้เดือดจัด และแบ่งออกมาใส่ถ้วย ใส่กลิ่นมะลิลงไปทั้งสองส่วน 
  3. นำช้อนมาบีบให้งอ แล้วตักขนมหยอดลงไปในกระทะน้ำเชื่อมที่เดือดจัด เบาไฟลงแล้วใส่น้ำเปล่าลงไป เพื่อให้ฟองลดลง เมื่อขนมสุกเป็นสีเหลืองเข้มแล้วให้ตักขึ้นมาแช่ไว้ในน้ำเชื่อมที่แบ่งไว้ แช่ไว้จนกว่าขนมจะอิ่มน้ำเชื่อมดีประมาณ 2 – 3 นาที ใช้ตะแกรงตักขึ้นมาให้สะเด็ดน้ำเชื่อม เป็นอันเสร็จสิ้นรับประทานได้เลยค่ะ

เคล็ดลับในการทำขนมทองหยอด

ขนมทองหยอดที่ดีต้องมีพื้นผิว และรูปทรงที่สวยงาม ต้องอ่อนนิ่มทั้งด้านนอก และด้านใน จึงควรต้มให้สุกทั่ว ๆ กัน หากอยากได้ขนมไทยโบราณความหวานที่พอดี ควรแช่ในน้ำเชื่อมไม่นาน ที่สำคัญคือการเลือกวัตถุดิบ เพราะต้องเป็นขนมไทยมงคลที่ไม่ส่งกลิ่นเหม็น จึงควรเลือกไข่ที่สดใหม่มาใช้ในการทำเท่านั้น และการเลือกแป้งข้าวเจ้า หากใช้แป้งที่ใช้ข้าวสารโม้แป้งแบบสด ๆ จะทำให้แป้งเนื้อเนียนมากยิ่งขึ้น หากใช้แป้งสำเร็จรูปให้นำมาผสมไข่แดง พักไว้ 1 ชั่วโมง ให้แป้งละลาย และเซ็ตตัว

ขนมไทยมงคล
ขนมทองหยอด สูตรวิธีทำ 1 ใน 9 ขนมไทยมงคล

บทสรุป

ขนมทองหยอด ขนมไทยมงคลที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก โดยปรับแต่งประยุกต์มาให้เป็นขนมไทยโบราณ รสชาติหวานหอมกลมกล่อม อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ สามารถนำมาเป็นของว่างทานเล่น หรือขนมประกอบในพิธีสำคัญก็ได้เช่นเดียวกัน อย่าลืมนำสูตรนี้ที่เราได้แนะนำไปทำขนมไทยง่าย ๆ ทานกันที่บ้าน เพื่ออนุรักษ์ขนมไทยของเราเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก และไม่ลืมเลือนไปตามกาลเวลานะคะ

Categories
ขนมไทย

ชวนทำ ขนมทองเอก ขนมมงคลชาววัง รสชาติจัดจ้านสวยงามแปลกตา

ขนมทองเอก

ขนมทองเอก เป็นขนมไทย โบราณที่มีสีส้ม หรือสีเหลืองสวยงามแปลกตาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนขนมหวานชนิดอื่นทั่วไป เพราะการทำขนมต้องใช้ความพิถีพิถัน และมีความประณีตในทุกๆ ขั้นตอน จึงทำให้ขนมมีความสง่างามชวนทานมากขึ้น สำหรับขนมชนิดนี้ทำมาจากแป้งสาลี ไข่แดง กะทิ และน้ำตาล นำมาขั้นรูปด้วยพิมพ์ทองเอก และประดับยอดทองทองคำเปลวที่สามารถรับประทานได้ และแน่นอนว่าชนิดมีรสชาติที่หวานจัดจ้าน และหอมอร่อยตามแบบขนม หวาน ไทยๆ ที่ทานแล้วรู้สึกสดชื่น ชื่นใจสุดๆ 

ขั้นตอนการทำ ขนมทองเอก อย่างง่าย อร่อยตามสูตรชาววัง 

ขนมทองเอก

มาเข้าครัวไทยชาววังกันบ้าง สำหรับใครที่กำลังอยากทำขนมหวานที่มีชื่อเป็นมงคลไว้ทานกันในครอบครัว หรือจะทำฝากเพื่อนๆ รวมถึงญาติผู้ใหญ่ในวันพิเศษ ต้องไม่พลาด กับขนมหวานโบราณอย่างขนมทองเอก ขึ้นชื่อว่าเป็นขนม ไทย ทำ ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องหาซื้อทาน หรือซื้อเป็นของฝากให้เสียเงินอีกด้วย สำหรับสูตรที่ชวนทำในวันนี้เป็นขนมทองเอก สูตรโบราณฉบับชาววังที่หาทานได้ยากมาก แต่ก่อนที่เราจะไปเข้าสู่ขั้นตอนการทำขนม อันดับแรกจะต้องมาเตรียมส่วนผสมให้พร้อมก่อน เพื่อจะได้เตรียมพร้อมในการทำขนมต่อไป

ขนมทองเอก
  1. แป้งสาลัอเนกประสงค์ 2 ถ้วยตวง
  2. กะทิ 2 ถ้วยตวง
  3. ไข่ไก่ 10 ฟอง
  4. แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
  5. แผ่นทองคำเปลว 3 แผ่น
  6. น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง

สำหรับวัถตถุดิบในการทำขนม ทองเอกสูตรทำเองที่บ้าน หากบ้านไหนไม่ชอบหวานมากเกินไปสามารถลดปริมาณน้ำตาลลงไปได้เลย อีกทั้งถ้าต้องการทำขนมในปริมาณนิดเดียวก็ลดอัตราส่วนได้ตามที่ต้องการได้ และในลำดับขั้นตอนต่อมาจะเป็นการทำวิธีทำขนม ไทย ง่ายๆ ดังนี้

ขนมทองเอก
  1. ขั้นตอนแรก ให้ใส่น้ำตาลทราย และกะทิลงไปในกระทะทองเหลือง นำไปตั้งเตา เปิดไฟปานกลาง จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน และทำการเคี่ยวต่อไปจนกว่าน้ำตาลจะเข้มข้น ปิดไฟ และพักไว้ให้เย็น
  2. มาเตรียมไข่แดง โดยการนำไข่ไก่มาแยกไข่แดง และไข่ขาวออกจากกัน นำไข่แดงใส่ลงไปในกระทะน้ำตาลเคี่ยว เปิดไฟอ่อนๆ กวนจนร้อน จากนั้นค่อยๆ ใส่แป้งลงไปให้หมด คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันอีกครั้ง เมื่อส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี ปิดไฟ พร้อมยกออกจากเตา พักไว้ให้อุ่น แล้วให้ตักส่วนผสมใส่ลงไปในพิมพ์ทองเอกที่เตรียมไว้ให้แน่นแล้วเคาะออก ตกแต่งหน้าด้วยทองคำเปลว จัดเรียงใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ
ขนมทองเอก

ขนมทองเอกคือ ขนมที่สามารถทำทานได้เอง แถมรูปร่างของขนมยังสวยงามเหมือนที่ขายในร้านขนมอีกด้วย ดังนั้นใครที่ว่าขนมทองเอกเป็นขนม โบราณทำยาก แต่แท้จริงแล้วขนมชนิดนี้เป็นสูตร ขนม ไทยทำง่ายนิดเดียว อีกทั้งรสชาติหวานจัดจ้าน หอมอร่อยทานแล้วฟินทุกคำ และถ้าอยากทานขนมให้อร่อยควรนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นจะทำให้ขนมเย็นสดชื่นมากยิ่งขึ้น

แชร์เคล็ด (ไม่) ลับ ทำขนมทองเอก ให้อร่อย เนื้อขนมนุ่มชุ่มฉ่ำ 

ขนมทองเอก

ขนม ทองเอก เป็นขนมไทยที่สามารถเก็บไว้ทานได้นานไม่เน่าเสียง่าย แถมรสชาติยังคงอร่อยเหมือนเดิมแต่สิ่งสำคัญของขนมไทย ทำเองนั้นจะต้องเลือกใช้กะทิคั้นสดจะช่วยให้รสชาติของขนมอร่อยมากยิ่งขึ้น และขั้นตอนการกวนขนมจะต้องใช้ไฟอ่อนๆ กวนเรื่อยๆ อย่าหยุดจะทำให้ได้ขนมที่เป็นเนื้อเนียนสีสวยงาม นอกจากนี้การเก็บรักษาขนมอย่าให้ขนมโดนลม เพราะหากขนมโดนลมจะทำให้ขนมแข็งกระด้าง ไม่น่ารับประทาน ดังนั้นควรเก็บขนมไว้ในกล่องจะช่วยให้สามารถเก็บความชื้นได้เป็นอย่างดี

อ่านบทความอื่นๆ: 

สนับสนุนโดย: sa-game.bet

Categories
ขนมไทย

ขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟู ขนมไทยสีหวานเนื้อนุ่มฟู

ขนมปุยฝ้าย
ขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟู ขนมไทยสีหวานเนื้อนุ่มฟู

เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟูกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอีกหนึ่งขนมยอดนิยมของคนไทย และคนไทยเชื้อสายจีนด้วย นอกจากจะนิยมรับประทานแล้วยังเป็นหนึ่งในขนมไทยมงคลที่ถูกนำมาประกอบพิธีมงคลอีกด้วย ยิ่งในเทศกาลตรุษจีน หรือวันปีใหม่ของจีนด้วยแล้วจะมีราคาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หากนำไปทำขายจะสามารถสร้างรายได้ได้มาก เราจึงได้หยิบยกเอาความรู้เกี่ยวกับขนมถ้วย รวมถึงขั้นตอนวิธีการทำ พร้อมเทคนิคในการทำให้หน้าขนมแตกสวยงาม ใครอยากรู้กันแล้วไปอ่านต่อกันได้เลย

ทำความรู้จักขนมปุยฝ้าย ขนมไทยยอดนิยม

ขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟู เป็นขนมที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลานาน นับว่าเป็นขนมไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดของขนมมีที่มาจากชาวจีนเป็นขนมไทยเชื้อสายจีน ที่ถูกประยุกต์มาจากขนมฮวดโก้ย ซึ่งมีลักษณะและหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน โดยในความหมายของจีนมีความหมายมงคล คำว่า “ฮวด” แปลว่า เจริญงอกงาม ส่วนคำว่า “โก้ย” แปลว่า ฟู ดังนั้น จึงมีความหมายที่ตรงกับภาษาไทยว่า ขนมแห่งความเจริญเฟื่องฟู จึงเป็นขนมที่ถูกนำมาประกอบในวันสำคัญต่าง ๆ 

ขนมปุยฝ้าย
ขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟู ขนมไทยสีหวานเนื้อนุ่มฟู

หน้าตา เนื้อสัมผัส และรสชาติของขนม

หากใครที่ยังไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรับประทานขนมถ้วยฟูมาก่อนเลย เราก็ขอบอกถึงลักษณะของขนมหวานถ้วยฟูให้ได้รู้ เริ่มที่ลักษณะของขนมถ้วยฟูที่มีความนุ่มฟูเหมือนชื่อของขนม อีกทั้งยังมีสีสันที่สวยงาม สามารถรังสรรค์เพิ่มสีสันได้ตามชอบ รสชาติมีความหวานอร่อย เนื้อสัมผัสนุ่มละมุนลิ้น และยังมีกลิ่นที่หอมมาก แต่ข้อเสียคือเมื่อรับประทานไปแล้วจะรู้สึกฝืดคอ หรืออาจติดคอได้ จึงต้องรับประทานคู่กับน้ำ 

ประโยชน์ของขนม

สำหรับประโยชน์ของขนมไทยโบราณอย่าง ขนมปุยฝ้าย ก็คือประโยชน์จากวัตถุดิบที่ใช้ทำขนม เราจึงขอยกตัวอย่างประโยชน์จากแป้งข้าวเจ้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำขนมถ้วยฟู กล่าวคือ แป้งข้าวเจ้านั้นทำมาจากเมล็ดข้าวจ้าว ซึ่งมีผลดีต่อการทำงานของตับ มีเส้นใยอาหารในระดับสูงช่วยกำจัดสารอันตรายที่มีในร่างกาย นอกจากนั้นไฟเบอร์ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล มีประโยชน์ต่อระบบเผาผลาญในร่างกาย จึงเป็นแป้งที่เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนัก และนับว่าถ้วยฟูเป็นขนมที่ดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน

ขนมปุยฝ้าย
ขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟู ขนมไทยสีหวานเนื้อนุ่มฟู

ขนมปุยฝ้าย 1 ใน 9 ขนมมงคลของไทย

ขนมไทยมงคลในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ขนมที่มีชื่อมงคล และขนมที่มีลักษณะมงคล ซึ่งขนมถ้วยฟู หรือขนมปุยฝ้าย ถูกจัดอยู่ในขนมที่มีนามเป็นมงคล ตามความหมายที่เราได้บอกไปแล้วในข้างต้น ใช้เป็นขนมอวยพรให้เจริญรุ่งเรือง และเฟื่องฟู โดยจะทำขนมให้เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น ในงานแต่งงานจะใช้ขนมสีแดง , งานไหว้เจ้าใช้สีชมพู , งานไม่มงคล หรืองานไหว้บรรพบุรุษจะใช้สีขาว เป็นต้น นับเป็นขนมที่ได้รับความนิยมทั้งชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน และขาดไม่ได้เลยเมื่อมีงานมงคล 

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำขนมถ้วยฟู

หลังจากได้รู้ประวัติความเป็นมาของขนมถ้วยฟู และเรื่องราวน่ารู้กันมาพอสมควรแล้ว ใครที่อยากเข้าครัวลงมือทำขนมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อรับประทานเอง ทำขาย หรือแม้แต่ใช้ในพิธีมงคล เราก็ได้นำสูตรทำขนมถ้วยฟูมาฝากให้ได้ลองทำตามกันอย่างละเอียด รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถ มือใหม่ก็ทำได้ ยิ่งมือฉมังผ่านการทำขนมมามากมายแล้ว บอกเลยว่าชิล ๆ ยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปากค่ะ ไม่พูดพร่ำทำเพลงแล้ว ไปดูวัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำขนมกันเลยค่ะ 

วัตถุดิบ

  1. แป้งเค้ก 340 กรัม
  2. น้ำตาลทรายขาว 200 กรัม 
  3. ไข่ไก่ เบอร์ 1 2 ฟอง (ใช้ไข่ไก่ที่นำออกมาจากตู้เย็น)
  4. น้ำเย็น 300 มิลลิลิตร
  5. ผงฟู 2 ช้อนชา
  6. น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
  7. เอสพี 12 กรัม
  8. กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  9. สีผสมอาหารตามชอบ
ขนมปุยฝ้าย
ขนมปุยฝ้าย หรือขนมถ้วยฟู ขนมไทยสีหวานเนื้อนุ่มฟู

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกใส่ไข่ไก่ น้ำตาลทราย และน้ำเปล่าลงไปในชามผสม จากนั้นทำการร่อนแป้งเค้ก และผงฟูลงไปแล้วตีด้วยเครื่องผสมอาหารสปีดต่ำ หรือตะกร้อมือ โดยทาสารเอสพีลงไปที่หัวตะกร้อก่อนตีส่วนผสมให้เข้ากัน ระหว่างนี้ให้ใช้ไม้พายปาดข้างชามผสม ก้นชาม และหัวตะกร้อก่อนจะเปลี่ยนเป็นการตีด้วยสปีดสูงสุดเป็นเวลา 10 นาที หรือจนกว่าเนื้อแป้งจะข้นฟู ต่อด้วยการใส่น้ำมะนาว และกลิ่นวานิลลาลงไปตีต่อด้วยสปีดกลาง 3 นาที
  2. เมื่อเนื้อแป้งได้ที่แล้วให้แยกออกมาใส่ชามผสมตามจำนวนสีผสมอาหารที่เลือกใช้ และผสมสีผสมอาหารลงไปทีละนิดก่อนจะคนให้เข้ากัน เพื่อให้ได้สีพาสเทลสวยงาม
  3. คนส่วนผสมอีกครั้งก่อนจะตักเนื้อแป้งใส่พิมพ์ รองด้วยถ้วยรองอบ วางเรียงกันในซึ้งนึ่ง จากนั้นนำไม้จิ้มฟันมาจุ่มในน้ำมะนาว และวาดเป็นรูปทรงกากบาทเพื่อให้น่าขนมแตก
  4. ตั้งหม้อนึ่งให้เดือดแล้วนำขนมถ้วยฟูลงไปนึ่งด้วยไฟกลางค่อนแรง โดยใช้เวลาในการนึ่ง 15 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุก เสร็จแล้วนำไปจัดเสิร์ฟรับประทานได้เลย

บอกต่อเคล็ดลับในการทำขนมถ้วยฟู

หลายคนอาจเคยลองทำขนมปุยฝ้ายกันมาแล้ว แต่กลับต้องประสบปัญหาในการทำขนม โดยส่วนใหญ่นั้นเป็นปัญหาที่หน้าขนมถ้วยฟูไม่แตก ไม่ฟูตามชื่อ ทำให้ขนมนั้นไม่สวยงามอย่างที่หวัง เราจึงมีทริคในการทำขนมถ้วยฟูง่าย ๆ มาบอกต่อ คือ การนำไม้จิ้มฟันจุ่มน้ำมะนาวกรีดลงไปในหน้าขนมก่อนทำการนึ่ง เพื่อวาดรูปทรงก่อนการนึ่งขนม และที่สำคัญในตอนที่เปิดฝาหม้อนึ่ง แนะนำให้เปิดไปด้านข้างด้วยความรวดเร็ว เพราะการที่เรายกฝาขึ้นช้า ๆ นั้นจะทำให้น้ำในหม้อนึ่งหยดใส่ขนม จนทำให้มีความชื้นจนไม่น่ารับประทานค่ะ

บทสรุป

ขนมปุยฝ้าย เป็นขนมที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นขนมไทยมงคลที่ได้รับความนิยม ทานแล้วอร่อย ทานแล้วชีวิตเจริญรุ่งเรืองเหมือนชื่อขนม สุดท้ายแล้วเราหวังว่าทุกคนจะนำสูตรวิธีการทำขนมถ้วยฟูไปลองทำกันที่บ้านนะคะ เพราะเป็นสูตรที่ง่ายมาก และหน้าขนมสวยงามน่ารับประทานแน่นอน

Categories
ขนมไทย

ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

ขนมไทยโบราณ
ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

ขนมไทยโบราณ คือ ขนมที่รับประทานกันในประเทศไทยในสมัยก่อน มีความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ทั้งความประณีต พิถีพิถัน ส่งผลให้มีรูปร่าง และสีสันที่สวยงามน่ารับประทาน ความอร่อยหวานละมุน จึงถูกส่งต่อสืบทอดวิธีการทำกันมารุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ให้เราได้รู้จัก ลองรับประทาน หรือแม้แต่ทำทาน และทำขายสร้างอาชีพ ซึ่งแต่เดิมนั้นขนมส่วนใหญ่จะประกอบด้วยวัตถุดิบหลักเพียง 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ น้ำตาล แป้ง กะทิ และน้ำตาล ล้วนเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายทั่วไป

ทำความรู้จักขนมไทยโบราณนาม ขนมชั้น 

ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นในยุคสมัยใด แต่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีประเทศไทยมีการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศ และได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกิน รวมถึงการนำขนมต่างชาติมาดัดแปลงให้กลายเป็นของหวานไทย เพื่อให้สามารถทำได้ง่าย และถูกปากคนไทยมากขึ้น ซึ่งขนมชนิดนี้ก็สามารถพบเห็นได้ในประเทศต่าง ๆ เช่น มาเลเซีย เรียกกันว่า KUEH LAPIS มีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันกับขนมของไทย จึงถือเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ

ขนมไทยโบราณ
ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

หน้าตา เนื้อสัมผัส และรสชาติของขนม

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็น และเคยรับประทานขนมไทยโบราณอย่างขนมชั้นกันมาบ้างแล้ว เพราะขนมรูปร่างสี่เหลี่ยม สลับสับเปลี่ยนกันเป็นชั้น ๆ ตามชื่อ เนื้อสัมผัสมีความเนียน เหนียว นุ่ม เวลารับประทานสามารถทานได้เลยทั้งชิ้น หรือจะลอกออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ รับประทานทีละชั้นก็ได้ความอร่อยที่แตกต่างกัน โดยขนมหวานชนิดนี้จะมีรสชาติที่หวาน แต่ไม่เลี่ยนเลยแม้แต่น้อย เพราะในแต่ละชั้นนั้นจะแฝงไปด้วยรสชาติ และเนื้อสัมผัสของขนมที่แตกต่างกัน สามารถทานได้เพลิน ๆ ไม่มีเบื่อเลยสักนิด

ความเชื่อของคนไทยที่มีต่อขนมชั้น

ในอดีตนิยมทำขนมชั้นใช้ประกอบในพิธีสำคัญ ๆ เช่น งานฉลองยศ งานมงคลสมรส เนื่องจากเป็นขนมไทยมงคลที่ชื่อมีความหมายดี ซึ่งสื่อความหมายถึงระดับขั้นยศตำแหน่ง จึงนิยมทำชั้นขนมไทยโบราณชนิดนี้มากถึง 9 ชั้น เพราะเลข 9 หมายถึงความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือแม้แต่ในพิธีมงคลก็ถูกจัดอยู่ในขนมที่ประกอบอยู่ในพิธีขันหมากอีกด้วย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว จากความเชื่อที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เป็นขนมที่ไม่เคยถูกลืมเลือน หรือจางหายไปตามกาลเวลา 

ขนมไทยโบราณ
ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

ประโยชน์ของขนมชั้น 

การรับประทานขนมไทยนั้นมีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ ไม่แพ้อาหารเสริมมากมายที่เราหามารับประทานเลยทีเดียว โดยเฉพาะขนมชั้นที่ใช้วัตถุดิบในการทำ รวมถึงสีสันที่มาจากธรรมชาติล้วน ๆ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีม่วงจากอัญชัน ดังนั้น จึงมีสารอาหารมากมาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และวิตามินต่าง ๆ สามารถช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรงมากขึ้นได้ อีกทั้งยังไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ นอกจากที่เราจะได้รับความอร่อยจากการรับประทานขนมไทยโบราณแล้ว ยังได้รับประโยชน์มากมายอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างขนมชั้นในปัจจุบัน และในอดีต

หากจะให้บอกเล่าถึงความแตกต่างของขนมชั้นในอดีต และในปัจจุบัน จะขอเริ่มจากการรับประทาน แต่เดิมนั้นไม่ใช่ว่าใครก็สามารถทานได้ในทุก ๆ วัน หรือในทุกเวลาที่อยากทาน เพราะจะมีการทำขนมไทยโบราณนี้แค่เพียงในงานมงคลต่าง ๆ เท่านั้น เนื่องจากขั้นตอนการทำนั้นค่อนข้างใช้เวลานาน แต่ในยุคปัจจุบันที่มีอุปกรณ์เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และวัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่ายทั่วไป จึงสามารถทำขนมโบราณได้ง่าย และรวดเร็ว รวมทั้งยังสามารถนำพิมพ์ขนมมาใช้เพื่อทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ ให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

ขนมไทยโบราณ
ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำขนมชั้น

สำหรับวัตถุดิบในการทำขนมไทยโบราณ หรือขนมชั้น ส่วนใหญ่นั้นจะใช้กะทิ และแป้ง 3 – 4 ชนิด ตามแต่สูตรขนมที่ใช้ ซึ่งแป้งแต่ละชนิดนั้นจะทำให้ได้เนื้อสัมผัสของขนมที่แตกต่างกัน เช่น แป้งท้าวยายม่อม ทำให้เนื้อขนมเนียนนุ่ม มีความเหนียว หนืด ใส , แป้งมัน ทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว และแข็งเล็กน้อย , แป้งข้าวเจ้า ช่วยให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว หากใครไม่สามารถหาแป้งท้าวยายม่อมวัตถุดิบสำคัญได้ก็สามารถใช้แป้งถั่วเขียวแทน เพราะจะเข้ามาช่วยให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวจนเกินไป 

วัตถุดิบในการทำขนมชั้น

  1. น้ำใบเตยคั้นสด 1 ถ้วยตวง
  2. หัวกะทิ 700 มิลลิลิตร
  3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
  4. เกลือ 1/4 ช้อนชา
  5. แป้งมัน 1 1/2 ถ้วยตวง.
  6. แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วยตวง
  7. แป้งท้าวยายม่อม 1/3 ถ้วยตวง
ขนมไทยโบราณ
ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

ขั้นตอนวิธีการทำขนมชั้น

  1. ขั้นตอนแรกใส่หัวกะทิ น้ำตาลทราย และเกลือป่นลงไปในหม้อ คนให้ส่วนผสมเข้ากันแล้วเปิดไฟอ่อน ระหว่างนี้ให้ค่อย ๆ คนให้ส่วนผสมละลายจนเริ่มเดือด แล้วปิดไฟพักไว้
  2. ใส่แป้งมัน แป้งมัน แป้งท้าวยายม่อมลงไปในชามผสม คนให้เข้ากันแล้วทยอยเทน้ำกะทิที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ลงไป คนต่อให้เข้ากันจนแป้งไม่จับตัวเป็นก้อน จากนั้นนำไปกรองด้วยตะแกรงใส่ชามผสมอีกใบ
  3. แบ่งส่วนผสมที่เตรียมไว้เป็นสองถ้วยเท่า ๆ กัน จากนั้นเติมน้ำใบเตยลงไปในถ้วยอีกใบแล้วคนผสมให้เข้ากัน
  4. เตรียมพิมพ์สี่เหลี่ยม ทาน้ำมันให้ทั่วเพื่อไม่ให้ขนมติดพิมพ์ และนำพิมพ์ไปนึ่งโดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วตักส่วนผสมที่เตรียมไว้ลงไปบาง ๆ เป็นชั้นใบเตยชั้นที่ 1 ปิดฝานึ่งต่อเป็นเวลา 5 นาที แล้วตักเนื้อแป้งสีขาวใส่ลงไปบาง ๆ อีกหนึ่งชั้น นึ่งต่อเป็นเวลา 6 นาที ตามด้วยชั้นที่สามสลับสีกันเป็นชั้น ๆ โดยเพิ่มระยะเวลาการนึ่งชั้นละ 1 นาที จนครบทุกชั้น
  5. เมื่อขนมชั้นสุกทั่วทุกชั้นแล้ว ให้นำมาพักไว้ให้เย็นก่อนนำออกจากพิมพ์ ตัดขนมไทยโบราณแบ่งออกเป็นชิ้น ๆ ขนาดตามชอบได้เลย
ขนมไทยโบราณ
ขนมชั้น ขนมไทยโบราณในงานมงคล

เคล็ดลับในการทำขนมชั้น

ขนมชั้นที่อร่อยนั้นต้องไม่เหนียวจนเป็นยางยืด เพราะการที่เหนียวจนเกินไปจะทำให้ขาดอรรถรสในการรับประทานขนมไทยโบราณเมนูนี้ เราจึงขอบอกต่อเคล็ดลับในการทำเพื่อให้ขนมหวานออกมาอร่อยมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญในการทำข้อแรกคือการคนส่วนผสมทุกครั้งก่อนจะตักใส่ลงไปในพิมพ์ เพราะแป้งจะนอนอยู่ก้นชามทำให้ขนมหวานของเราเหนียมนุ่ม ต่อมาคือการรอคอยให้แป้งในแต่ละชั้นสุกก่อนจะใส่ชั้นต่อไป หากขนมชั้นแรกไม่สุก จะทำให้ชั้นต่อไปพาลไปสุกตามกันไปด้วย โดยระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับปริมาณของแป้งที่ใส่ลงไปในแต่ละชั้น วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ เมื่อสุกแล้วเนื้อขนมจะมีความใสเงาน่ารับประทาน

บทสรุป

หลังจากได้เรียนรู้วัตถุดิบและวิธีการทำขนมไทยโบราณที่มีชื่อว่า ขนมชั้น กันไปแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงสามารถนำสูตรนี้ไปทำทานเองที่บ้านได้โดยง่าย หรือจะนำไปต่อยอดทำขนมขายสร้างอาชีพได้ เพราะเป็นขนมไทยที่สามารถหาวัตถุดิบได้ทั่วไป แถมยังมีรสชาติอร่อยถูกปาก สามารถนำไปทำเป็นของว่างทานเล่น ขนมเบรก ของกินเล่นเพลิน ๆ เรียกว่าทำทานง่าย แถมทำขายคล่องเลยทีเดียวค่ะ 

Categories
ขนมไทย

ขนมข้าวเหนียวแก้ว เปลี่ยนข้าวเหนียวธรรมดาเป็นขนมไทยมงคล

ขนมข้าวเหนียวแก้ว
ขนมข้าวเหนียวแก้ว เปลี่ยนข้าวเหนียวธรรมดาเป็นขนมไทยมงคล

เมนูขนมไทยที่เราได้หยิบยกมานำเสนอให้ทุกคนได้ลองทำตามกันในวันนี้ คือขนมไทยที่ทำจากข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบหลักมารังสรรค์จนกลายเป็นขนมไทยที่มีรสชาติหวาน มัน เค็มนิด ๆ กลมกล่อมแบบสุด ๆ ทั้งยังมีกลิ่นหอมของกะทิ งาขาวคั่ว และใบเตยในขณะที่รับประทาน ขนมชนิดนี้คือ ขนมข้าวเหนียวแก้ว ในอดีตนั้นนิยมทำรับประทานกันในช่วงเทศกาลงานบุญต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊ (ประเพณีของชาวไทใหญ่ ที่ทำการเกษตร จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงบุญคุณของข้าว จึงมักจะนำขนมชนิดนี้มาทำเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี แต่ส่วนใหญ่จะทำขนมข้าวเหนียวแดง

ขนมข้าวเหนียวแก้ว
ขนมข้าวเหนียวแก้ว เปลี่ยนข้าวเหนียวธรรมดาเป็นขนมไทยมงคล

วัตถุดิบในการทำข้าวเหนียวแก้วมีเพียงไม่กี่ชนิด

ขนมข้าวเหนียวแก้วเป็นขนมไทยที่ทำจากวัตถุดิบหาง่าย เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น จึงเป็นขนมไทยที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน สำหรับข้าวเหนียวที่นำมาใช้นั้นจะเป็นข้าวเหนียวเขี้ยวงูกลางปี หรือข้าวเหนียวเก่า เพราะจะทำให้เม็ดข้าวนั้นออกมาสวย ไม่แตกหักง่าย แต่ก็ต้องอาศัยการล้างหลายครั้ง และหากใครชื่นชอบสีอื่น ๆ นอกจากสีเขียวของใบเตยก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ ได้ตามชอบเลยค่ะ 

  1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเก่า 1 กก.
  2. กะทิ 1000 มิลลิลิตร
  3. น้ำตาลทรายขาว 700 กรัม
  4. น้ำใบเตย 150 มิลลิลิตร
  5. เกลือป่น 1 ช้อนชา
  6. งาขาวคั่วตามชอบ
ขนมข้าวเหนียวแก้ว
ขนมข้าวเหนียวแก้ว เปลี่ยนข้าวเหนียวธรรมดาเป็นขนมไทยมงคล

ขั้นตอนวิธีการทำขนมไทยสีสันสวยงาม

สำหรับขั้นตอนวิธีการทำขนมไทยสีสันสวยงาม รังสรรค์ได้ตามชอบอย่าง ขนมข้าวเหนียวแก้วนี้ ต้องขอบอกเลยว่าสามารถทำได้ง่ายมาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการทำที่นานเสียหน่อย จึงเหมาะกับคนที่มีเวลาว่างจริง ๆ หรือหากใครจะแช่ข้าวเหนียวเขี้ยวงูทิ้งไว้ก่อนทำก็ได้นะคะ เพื่อลดเวลาในการทำลงไป หากใครอยากลองทำขนมไทยชนิดนี้กันแล้ว มาดูวิธีการทำแบบง่าย ๆ ที่เรานำมาฝากกันเลยค่ะ

  1. เริ่มต้นจากการนำข้าวเหนียวเขี้ยวงูไปล้างด้วยน้ำสะอาดประมาณ 3 – 4 รอบ หรือจนกว่าน้ำที่ใช้ล้างจะใส เสร็จแล้วแช่น้ำทิ้งไว้เป็นเวลา 4 ชั่วโมง
  2. เมื่อแช่ข้าวเหนียวเขี้ยวงูในน้ำไว้จนครบเวลาแล้ว ให้เตรียมหม้อนึ่งให้ร้อน และห่อข้าวเหนียวเขี้ยวงูด้วยผ้าขาวบางก่อนนำไปนึ่งเป็นเวลา 40 นาที
  3. ใส่กะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทรายขาวลงไปในชามผสมแล้วคนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดี (ในขั้นตอนนี้ให้ลองชิมน้ำกะทิดูนะคะ หากต้องการเพิ่มรสชาติก็สามารถเติมได้เลย)
  4. นำข้าวเหนียวเขี้ยวงูที่นึ่งสุกแล้วใส่ลงไปในชามผสม ใช้ทัพพีเกลี่ยเล็กน้อยให้เนื้อข้าวเหนียวเขี้ยวงูไม่จับตัวกันจนเกินไป จากนั้นใส่น้ำกะทิลงไปคนให้เข้ากันได้เลย เสร็จแล้วปิดฝาชามผสมพักไว้ประมาณ 30 นาที
  5. ใช้ทัพพีคนให้ข้าวเหนียวเข้ากันแล้วใส่น้ำใบเตยลงไปเพิ่มสีสัน และคนให้เข้ากันอีกครั้ง 
  6. ใส่ส่วนผสมของขนมข้าวเหนียวแก้วที่เตรียมไว้ลงไปในหม้อ จากนั้นเปิดเตาด้วยไฟอ่อน ใช้ทัพพีกวนตลอดเวลาจนกว่าเนื้อขนมจะแห้ง เพื่อป้องกันเนื้อขนมไหม้ติดก้นหม้อค่ะ เมื่อเนื้อขนมแห้งได้ที่แล้วให้ปิดเตา ตักออกมาพักไว้ให้เย็น จากนั้นจึงนำไปตักใส่ภาชนะตามชอบ โรยด้วยงาขาวคั่ว เป็นอันเสร็จสิ้น