ขนมไข่นกกระทา ขนมไทยหลากชื่อ

ขนมไทย
ขนมไข่นกกระทา ขนมไทยหลากชื่อ

ขนมไข่เต่า ขนมไข่หงส์ ขนมไข่นกกระทา ล้วนเป็น ขนมไทย อย่างเดียวกัน แต่จะเรียกแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ เรียกตามลักษณะของขนมที่เป็นก้อนกลม แต่ชื่อแรกเลยก็คือ ขนมไข่เต่า แต่เนื่องจากเป็นสัตว์สงวน จึงเปลี่ยนมาเรียกเป็นชื่ออื่นแทน เป็นขนมกรอบนอกนุ่มใน หวานมันลงตัว อร่อยติดปากสุด ๆ ทั้งยังมีราคาที่ถูก สามารถทำได้ง่าย เป็นสาเหตุให้ขนมไทยชนิดนี้ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีตนั้นจะทำขนมชนิดนี้กันในงานเลี้ยง เช่น งานมงคลสมรส เป็นต้น และถูกปรับปรุงเพิ่มรสชาติต่าง ๆ เข้ามามากมาย เช่น รสมันม่วง รสชีส รสช็อคโกแลต หรือแม้แต่รสสตอรว์เบอร์รี่

ขนมไทย
ขนมไข่นกกระทา ขนมไทยหลากชื่อ

วัตถุดิบในการทำขนมไข่นกกระทา ขนมโบราณหาทานง่าย

ขนมไทย นั้นเป็นขนมที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยออกมาได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่จะใช้แป้ง ไข่ และกะทิเป็นส่วนประกอบ ซึ่งหาได้ง่ายมากในปัจจุบัน ขนมไข่นกกระทาที่เรานำมาให้ทุกคนได้ลองทำตามกันในวันนี้ เป็นขนมไทยโบราณที่หารับประทานได้ง่ายในปัจจุบัน แต่หากใครอยากลองทำทานเองก็มีวัตถุดิบดังนี้

  1. มันเทศนึ่งสุกหั่นชิ้น 2 หัวใหญ่ 
  2. ผงฟู 1/2 ช้อนชา
  3. เกลือป่น 1 ช้อนชา
  4. แป้งมัน 2 ถ้วยตวง
  5. แป้งสาลี 1/2 ถ้วยตวง
  6. ไข่แดง 1 ฟอง
  7. กะทิ 100 มิลลิลิตร
  8. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
  9. น้ำมันพืชสำหรับทอด
  10. ขนมไทย
    ขนมไข่นกกระทา ขนมไทยหลากชื่อ

    ขั้นตอนการทำขนมไทยให้ไม่หายกรอบ

    ปัญหาที่พบเจอบ่อยเมื่อเราไปซื้อ ขนมไทย ไข่นกกระทามารับประทาน คือ แม้ว่าจะมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก แต่สักพักก็จะเหี่ยวลง และไม่กรอบนอกนุ่มในเหมือนเอกลักษณ์ของขนมไทยชนิดนี้ สูตรที่เรานำมาฝากในวันนี้จึงเป็นสูตรที่ตอบโจทย์ เพราะแม้ว่าจะทิ้งไว้สักพักก็ไม่เหี่ยว หรือหายกรอบแน่นอน ดังนั้น เรามาดูขั้นตอนวิธีการทำกันเลย

    1.  ขั้นตอนแรกใส่แป้งมัน แป้งสาลี เกลือป่น ผงฟู และน้ำตาลทรายลงไปในชามผสม ใช้ช้อนคนให้เข้ากัน แล้วนำมันเทศมานวดให้เข้ากันกับส่วนผสมแห้งที่ใส่ลงไป (ขั้นตอนนี้แนะนำให้ล้างมือให้สะอาด หรือใส่ถุงมือก่อนนะคะ) จากนั้นทยอยใส่กะทิลงไปในระหว่างนวดจนส่วนผสมจับตัวเป็นก้อน และใส่ไข่แดงลงไปนวดต่อเพิ่มสีสันให้สวยงามมากยิ่งขึ้น

    2.  เมื่อนวดแป้งจนจับตัวเป็นก้อนแล้วให้นำมาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดพอดีคำ นำไปวางไว้ในถาดที่โรยแป้งมันเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวขนมติดกัน 

    3.  ตั้งกระทะด้วยไฟอ่อน ใส่น้ำมันลงไปรอให้ร้อนแล้วทยอยใส่ก้อนขนมของเราลงไป ระหว่างทอดให้ใช้ตะหลิวแซะก้นกระทะ เพื่อไม่ให้ขนมไหม้ติดก้นกระทะนะคะ เมื่อขนมเริ่มจะลอยตัวขึ้นมาแล้วให้ใช้กระชอนคลึงกดตัวขนมให้เนื้อในของขนมเป็นโครง เมื่อสุกเหลืองน่ารับประทานแล้วให้ตักขึ้นมาพักไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน จัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ