Categories
เบเกอรี่

วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย

วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย
วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย

มีเรื่องเล่าว่า วาฟเฟิล เบเกอรี่ที่เรารับประทานนั้นถือกำเนิดมาแล้วหลายร้อยปีก่อนในยุคหินใหม่ โดยใช้หินร้อนในการทำ จนมาถึงยุคเหล็กได้มีการทำอุปกรณ์การทำอย่างกระทะวาฟเฟิลขึ้นมาด้วยลวดลายที่น่าสนใจ ต่อมาในยุคกรีกโบราณได้พัฒนาเตาสำหรับทำวาฟเฟิลโดยมีลักษณะเป็นแผ่นเหล็ก 2 ชิ้นประกบกันคล้ายกับที่เราเห็นกันในปัจจุบัน และได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้มีวิธีการทำที่สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นผลมาจากความนิยมในการทำวาฟเฟิลรับประทาน ซึ่งเป็นเบเกอรี่ที่สามารถทานได้ทั้งคาวและหวาน รู้หรือไม่ว่าในประเทศยุโรปนั้นมีการแบ่งชนชั้นในการกินวาฟเฟิลอีกด้วย โดยคนจนจะรับประทานแป้งแข็ง ๆ ผสมแค่แป้งกับน้ำเพียงเท่านั้น สำหรับคนที่มีฐานะพวกเขาจะใส่นม ไข่ น้ำผึ้งลงในส่วนผสม ทำให้มีเนื้อที่นุ่มละมุนมากกว่า

วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย
วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย

วัตถุดิบในการทำวาฟเฟิล เบเกอรี่หลายร้อยปี

ขนมวาฟเฟิลนั้นเริ่มรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะชาวดัซต์ที่ได้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1620 ได้นำสูตรวิธีการทำเบเกอรี่นี้เข้าไปด้วย จากการที่ได้รับความนิยมทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาสูตรไปทานคู่กับเมนูคาวหวานต่าง ๆ เช่น น้ำเชื่อม ชา กาแฟ ไข่ดาว เบค่อน ผลไม้ ไอศกรีม ฯลฯ และถูกเผยแพร่ไปยังหลาย ๆ ประเทศ เป็นที่ถูกอกถูกใจจนได้รับความนิยมอีกเช่นเคย ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทยที่ได้นำสูตรมาพัฒนาปรับปรุงกันอย่างหลากหลาย ทำกิน ทำขายกันทั่วไป หลากหลายราคาตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบในการทำ และเครื่องเคียงขนมที่เสิร์ฟให้รับประทานคู่กัน 

  1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ปริมาณ 128 กรัม
  2. น้ำตาลทราย ปริมาณ 2 ช้อนชา
  3. ผงฟู ปริมาณ 2 ช้อนชา
  4. เกลือป่น ปริมาณ 1/4 ช้อนชา
  5. ไข่ไก่เบอร์ 1 ปริมาณ 1 ฟอง 
  6. นมสดจืด ปริมาณ 180 กรัม
  7. เนยเค็มละลาย ปริมาณ 3 ช้อนโต๊ะ
  8. กลิ่นวนิลลา ปริมาณ 1 ช้อนชา
  9. วัตถุดิบสำหรับทานคู่วาฟเฟิลตามชอบ
วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย
วาฟเฟิล กรอบนอกนุ่มใน กินกับอะไรก็อร่อย

วิธีทำเบเกอรี่ ทานได้ทั้งคาว และหวาน

วาฟเฟิลที่นิยมรับประทานกันในไทย คือ วาฟเฟิลเบลเยี่ยม และวาฟเฟิลฮ่องกงค่ะ ซึ่งวาฟเฟิลจากสองประเทศนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยวาฟเฟิลเบลเยี่ยมเราจะเห็นอยู่ทั่วไปจากลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีหลุมตามสไตล์ของวาฟเฟิล ส่วนของฮ่องกงนั้นจะมีลักษณะแปลกตา แต่ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตอนนี้ คือมีลักษณะกลม ๆ เหมือนลูกบอลหลาย ๆ ลูกเรียงต่อกัน ขอบอกเลยว่าวาฟเฟิลทั้งสองชนิดนี้แม้จะมีลักษณะแตกต่างกันแต่รสชาติหวานละมุน กรอบนอกนุ่มในนั้น อร่อยไม่แพ้กันเลยค่ะ โดยในวันนี้เราก็มีสูตรวาฟเฟิลมาให้ทุกคนได้ลองทำ ดังนี้

  1. ร่อนแป้งอเนกประสงค์ ผงฟู เกลือป่น ลงไปในชามผสม ใช้ตระกร้อคนเล็กน้อยและพักไว้
  2. ใส่ไข่ไก่ลงไปนมสดรสจืด ตีให้เข้ากัน และเทใส่ส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ที่ได้พักไว้ ใช้ตระกร้อคนแรง ๆ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว ตามด้วยเนยเค็มละลาย และกลิ่นวนิลลาลงไปคนต่อ 
  3. เตรียมเครื่องวาฟเฟิล เปิดเครื่องและทาเนยให้ทั่ว เพื่อไม่ให้เนื้อแป้งติดตัวเครื่อง ค่อย ๆ ส่วนผสมลงไปให้ทั่ว ปิดเครื่องลงเป็นเวลา 1 -2 นาที หรือจนกว่าแป้งจะสุก จากนั้นใช้ส้อมแซะออกมาวางพักไว้ ทำซ้ำจนกว่าส่วนผสมของแป้งจะหมด
  4. จัดวาฟเฟิลใส่จาน แต่งหน้าให้สวยงามตามชอบ และโรยด้วยน้ำตาลไอซิ่ง นำไปเสิร์ฟพร้อมกับน้ำผึ้ง หรือช็อกโกแลตโรย ทานคู่กับโอวัลติน กาแฟ ตามชอบได้เลยค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เมนูที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ เป็นเมนูที่ทำง่ายมาก ๆ แถมยังทานได้หลากหลาย สามารถทำแป้งไว้ทำทานได้ในเวลาเร่งรีบอีกต่างหาก เหมาะมาก ๆ กับวิถีชีวิตแบบเร่งรีบในปัจจุบัน อีกทั้งยังปรับสูตรได้ตามใจชอบ หรือใครจะนำไปทำขายสร้างรายได้ในที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ขายออนไลน์ ส่งตามเดลิเวอรี่ที่มีอยู่มากมายก็ได้ค่ะ

Categories
ขนมไทย

หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้

หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้
หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้

หลายคนมองว่าขนมไทยนั้นเป็นขนมที่ทำยาก แต่ความจริงแล้วขนมเหล่านี้บางชนิดก็สามารถทำได้ง่าย ๆ แถมยังใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ทั่วไปอีกด้วย เพียงแต่ว่าขั้นตอนอาจจะมีความหลากหลายและยุ่งยากเล็กน้อย เนื่องจากขนมเหล่านี้เป็นขนมที่มีรายละเอียดในตัวค่อนข้างเยอะ อย่างเช่นที่เราจะมาแนะนำในวันนี้เป็นขนมพื้นบ้านประจำเพชรบุรีอย่างหม้อแกงถั่ว ขนมโปรดของใครหลายคนที่รับประทานได้เพลิน ๆ ด้วยเนื้อสัมผัสที่เนียนนุ่ม ความหวานผสมกับความมันของไข่ เข้ากันได้ดีกับหอมแดงเจียวที่โรยด้านบน หากไปซื้อรับประทานรับรองว่าไม่อร่อยเท่าทำเองอย่างแน่นอน เพราะหากทำรับประทานเองทุกอย่างนั้นก็จะสดใหม่ เครื่องโรยหน้ายังคงหอมและกรอบอยู่ ในวันนี้เราจึงจะมาแนะนำสูตรและวิธีการทำขนมดังกล่าวให้ได้ลองทำตามกัน

หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้
หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้

วัตถุดิบที่ต้องเตรียมสำหรับการทำขนมกุมภมาศ

เชื่อหรือไม่ว่าขนมหม้อแกงถั่วที่เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่สุดแสนจะธรรมดานี้จะมีอีกชื่อที่สวยงามอย่างขนมกุมภมาศ โดยสูตรที่เราจะมาแนะนำในวันนี้จะได้ขนมออกมาประมาณ 1 ถาดกลาง เมื่อแบ่งออกมาแล้วก็จะได้ขนมประมาณ 9 ชิ้นกำลังพอดีสำหรับรับประทานในครอบครัว ประกอบไปด้วย

  1. ถั่วเขียว 200 กรัม นำเอาไปนึ่งหลังจากนั้นให้นำเอาถั่วเขียวสุกมาบดจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ยิ่งเราบดถั่วได้ละเอียดมากแค่ไหนเนื้อสัมผัสของขนมเราก็จะยิ่งเนียนมากขึ้นเท่านั้น
  2. ไข่เป็ดไซส์ใหญ่จำนวน 5 ฟอง 
  3. ใบเตย 1 กำ นำเอาใบเตยสดมาตัดให้มีขนาดกำลังพอดี ล้างให้สะอาด
  4. น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม หากต้องการเพิ่มหรือลดความหวานก็สามารถเพิ่มลดปริมาณน้ำตาลได้ตามต้องการเล็กน้อย 
  5. หัวกะทิ 400 กรัม สามารถใช้ได้ทั้งกะทิคั้นสดเฉพาะส่วนของหัวกะทิหรือจะใช้กะทิสำเร็จรูปทั้งกล่องก็ได้เช่นเดียวกัน
  6. หอมแดงซอย 50 กรัม สามารถปรับปริมาณได้ตามความชื่นชอบ ยิ่งซอยบางเท่าไรเมื่อนำไปเจียวแล้วก็จะยิ่งกรอบมากขึ้นเท่านั้น 
  7. น้ำมันพืช 
หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้
หม้อแกงถั่ว ขนมไทยประจำเพชรบุรีที่สามารถทำเองได้

ขนมหม้อแกงถั่ว สามารถทำได้ในบ้านเพียงแค่มีเตาอบ

หลายคนไม่ทราบว่าขนมหม้อแกงถั่วนั้นมีขั้นตอนการทำอย่างไร ต้องบอกว่ามันเป็นขนมไทยที่แตกต่างจากขนมชนิดอื่นเพราะมันต้องใช้เตาอบ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวที่ไม่ได้มีทุกบ้าน ดังนั้นหากไม่มีเตาอบสามารถใช้เตาติ๊งหรือเตาอบลมร้อนแทนได้ แต่อาจจะต้องปรับอุณหภูมิและปริมาณอีกทีเพื่อให้ได้ขนมที่ออกมาสวยกำลังดี ขั้นตอนการทำมีดังนี้

  1. เตรียมเตาอบด้วยไฟอุณหภูมิประมาณ 180 – 200 องศาเซลเซียส
  2. นำกระทะตั้งไฟแล้วเทน้ำมันพืชลงไป เมื่อน้ำมันเริ่มร้อนให้เทหอมแดงลงไปเจียว ในขั้นตอนนี้ต้องระมัดระวังเพราะหอมแดงเป็นพืชที่มีน้ำตาลเยอะ หากไม่ระวังจะสามารถไหม้ได้ง่าย เมื่อได้สีตามที่ต้องการแล้วให้ยกออกทันทีโดยนำไปวางในตะแกรงสะเด็ดน้ำมัน สีของหอมเจียวจะเข้มขึ้นเล็กน้อย
  3. ตอกไข่ลงไปในชามผสม จากนั้นให้นำเอาใบเตยที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในชาม ใช้มือขยำไข่และใบเตยเข้าด้วยกันจนไข่ฟูเป็นฟอง
  4. เมื่อไข่เข้ากันและเป็นฟองแล้วให้ใส่น้ำตาลปี๊บลงไปแล้วขยำให้น้ำตาลปี๊บละลายเข้ากันดีจนกลายเป็นเนื้อเดียว 
  5. เทกะทิลงไปในชามผสมแล้วขยำอีกรอบให้เข้ากัน จากนั้นให้นำเอาส่วนผสมไปกรองด้วยตะแกรงหรือผ้าขาวบาง ในขั้นตอนนี้ให้หยิบใบเตยออกจากส่วนผสมได้เลย
  6. นำเอาถั่วเขียวบดลงไปผสมในชาม ใช้มือขยำจนส่วนผสมกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  7. นำกระทะตั้งไฟอ่อน เทน้ำมันพืชที่ใช้ทำหอมเจียวลงไป 3 ช้อนโต๊ะ แล้วนำเอาส่วนผสมเทลงไปในกระทะแล้วกวนให้เข้ากัน ในขั้นตอนนี้ให้กวนไปเรื่อย ๆ ห้ามหยุดมือเป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นขนมจะไหม้ก้นกระทะ
  8. หลังจากกวนไปซักพักเนื้อขนมจะเหนียวขึ้น ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีให้ทำการเทขนมใส่ลงไปในพิมพ์
  9. นำเอาพิมพ์ที่เต็มไปด้วยขนมใส่ลงไปในเตาอบที่เราทำการวอร์มไว้ตั้งแต่ต้น อบประมาณ 40 นาทีแล้วแต่เตาของแต่ละบ้าน ควรทำการเช็คขนมเรื่อย ๆ ใช้วิธีการเดียวกับการเช็คเค้กนั่นก็คือการนำเอาไม้จิ้มฟันจิ้มลงไป ดูว่าไม้จิ้มฟันมีเศษขนมเปียก ๆ ติดออกมาหรือไม่ หากไม่มี และหน้าขนมแห้งแล้วแปลว่าขนมสุกได้ที่
  10. นำพิมพ์ออกมาจากเตาแล้วพักขนมให้เย็น จากนั้นสามารถตัดแบ่งพร้อมเสิร์ฟรับประทานคู่กับหอมเจียว