
ใครชอบทำขนมไทยต้องห้ามพลาดกับสูตร ขนมเปียกปูน ขนมไทยโบราณ ที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ด้วยการเลือกวัตถุดิบ รวมถึงขั้นตอนการทำขนมที่มีความละเอียด ประณีต พิถีพิถั น ส่งผลให้ ขนมไทย มีรสชาติหวานละมุน สีสันสวยงาม และรูปลักษณ์น่ารับประทาน เป็นที่ถูกใจทั้งคนไทย และคนต่างชาติที่ได้ลองรับประทาน
ขนมเปียกปูน ขนมไทยเมนูนี้มีหลายเรื่องราวน่าสนใจ
เมนูขนมไทย ถูกคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อ สูตรขนม กันมามาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ โบราณกาลมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีขนมไทยมากมายให้คนสมัยใหม่อย่างเราๆ ได้รู้จัก โดยขนมไทยสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามขั้นตอนวิธีทำให้สุก เช่น นึ่ง ต้ม กวน ทอด ปิ้ง เป็นต้น

ใครชื่นชอบการรับประทานขนมไทยโบราณ ต้องไม่พลาดกับเมนู ขนม เปียกปูน ใบเตยกะทิสด หนึ่งใน เมนูขนมไทยโบราณ ประเภทกวน เมนูนี้มีเรื่องราวน่าสนใจมากมายรอคุณไปหาคำตอบ หากพร้อมแล้วไปเริ่มทำความรู้จัก ขนมเปียกปูนกะทิสด ก่อนจะไปเรียนรู้สูตรขั้นตอนวิธีทำง่ายๆ ที่เราเชื่อว่าทุกคนสามารถทำตามได้อย่างแน่นอน
ประวัติความเป็นมาของขนมเปียกปูน
ประวัติขนมเปียกปูน ไม่มีข้อมูลหลักฐานแน่ชัดว่าถูกคิดค้น สูตรขนมเปียกปูน ขึ้นเมื่อใด มีเพียงข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน ได้มีการดัดแปลงสูตรขนมจาก ขนมกวน หรือ กาละแม ให้กลายเป็นเมนูใหม่อย่างขนมเปียกปูน จึงมีวัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกัน แต่ไม่ใส่กะทิสดเป็นส่วนผสม

หลายคนอาจสงสัยถึงสาเหตุที่ขนมไทยเมนูนี้ถูกเรียกว่า ขนม เปียกปูน นั้นก็เป็นเพราะว่า ใช้ “น้ำปูนใส” เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนม โดยน้ำปูนใสจะช่วยให้แป้งที่กวนสุกแล้วจับตัวเป็นก้อนแน่นขึ้นเมื่อเย็นลง
ลักษณะ รสชาติ เนื้อสัมผัสของขนมเปียกปูน
ในสมัยก่อน ขนม เปียกปูน มีความแตกต่างจากปัจจุบัน คือ ขนมเปียกปูนโบราณ มีเนื้อแน่น ทำจากแป้งข้าวเจ้าเท่านั้น และมีสีดำจากกาบมะพร้าวเผา แต่ในปัจจุบันเห็นได้ว่า ขนมเปียกปูนสีเขียว ได้รับความนิยมมากกว่า เป็น สูตรขนมเปียกปูนใบเตย มักจะมีการผสมแป้งมัน หรือแป้งท้าวยายม่อมเข้าไปด้วย ทำให้มีเนื้อสัมผัสนุ่มหยุ่น หวานน้อย ส่วนสีเขียวได้มาจากน้ำใบเตยคั้นสด ส่งกลิ่นหอมเย้ายวนชวนรับประทาน

ลักษณะขนมเปียกปูน ในสมัยโบราณนิยมทำเป็นถาดทรงกลม เมื่อเนื้อขนมแห้งดีแล้วจึงนำมาตัดให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมพอดีคำ จนถูกเรียกกันอย่างติดปากว่า “สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน” เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม ผสานความกรอบของเนื้อมะพร้าวอ่อนขูดฝอยที่ใช้โรยหน้าขนม

รสชาติขนมเปียกปูน ต้องยกให้เป็นอีกหนึ่ง ขนมไทยโบราณ ที่อร่อยไม่แพ้ขนมไทยเมนูอื่นๆเลย มีทั้งความหวานมันกลมกล่อม เข้ากันได้ดีกับรสเค็มของกะทิ และเกลือที่ใช้สะบัดน้ำลงไปในมะพร้าวขูดฝอย เรียกได้ว่าใครได้ทานก็ต้องติดใจอย่างแน่นอน
ขนม เปียกปูน ขนมไทยทำง่าย ทำขายดี
ขนมเปียกปูนนอกจากจะเป็น ขนมไทยทำง่าย แล้วยังเป็น ขนมไทยขายดี เนื่องจากเป็นขนมไทยที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน จนเรียกได้ว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกับขนมไทยอย่าง เปียกปูน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบเจอ ขนมเปียกปูนสีเขียว ได้บ่อยกว่าขนมเปียกปูนสีดำที่เป็นสูตรดั้งเดิม

ไม่ว่าขนมเปียกปูนสูตรไหนก็นับได้ว่ามีความอร่อยที่ลงตัว จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่อยากแนะนำส่งต่อสูตรให้กับหลายๆคน ที่ต้องการทำขนมไทยขายสร้างรายได้ในยามว่างก็สร้างเม็ดเงินได้ไม่น้อยเลยทีเดียว และยังช่วยให้ขนมไทยของเราไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาอีกด้วย แต่หากใครยังทำขนมเปียกปูนไม่เป็น ก็สามารถใช้สูตรที่เรานำมาแนะนำ ไปลองทำตามกันได้เลย
ขั้นตอนวิธีการทำ ขนมเปียกปูนกะทิสด ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อน หวานมัน
สำหรับ สูตรขนมเปียกปูนกะทิสด สูตรนี้เป็น ขนมไทยประยุกต์ สูตรทำตามได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเลยสักนิด ใช้วัตถุดิบอุปกรณ์ในการทำน้อย มีการผสม แป้งท้าวยายม่อม หรือแป้งมันเข้าไปเพื่อช่วยให้ขนมเปียกปูนนั้นเงาสวยกว่าสูตร ขนมเปียกปูนโบราณ ที่สำคัญหากทำขนมด้วยตัวเองแล้วละก็ สามารถปรับเพิ่มลดวัตถุดิบได้ตามชอบ ใครใคร่หวานเพิ่มน้ำตาล แต่หากใครไม่ชอบก็สามารถลดปริมาณลงได้ตามใจชอบเลยนะคะ

วัตถุดิบทำ แป้งขนมเปียกปูน
- แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
- แป้งท้าวยายม่อม 50 กรัม
- น้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม
- น้ำตาลทราย 50 กรัม
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- น้ำมะพร้าว 250 มิลลิลิตร
- น้ำปูนใส 250 มิลลิลิตร
- น้ำใบเตย 400 มิลลิลิตร
- กะทิถุงพาสเจอร์ไรส์ 200 มิลลิลิตร
วัตถุดิบทำ หน้ากะทิสด
- กะทิถุงพาสเจอร์ไรส์ 300 มิลลิลิตร
- แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- เนื้อมะพร้าวอ่อน 100 กรัม
- งาคั่ว ปริมาณตามชอบ
ขั้นตอน วิธีทำ เปียกปูนกะทิสด

- ขั้นตอนแรกของการทำ ขนมเปียกปูนกะทิสด เริ่มจากเตรียมชามผสมแล้วเริ่มใส่ส่วนผสมแห้งอย่าง แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม น้ำตาลทราย น้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลมะพร้าว เกลือ ตามด้วยกะทิ จากนั้นนวดให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี จนไม่เหลือเม็ดแป้ง
- หลังจากนวดจนส่วนผสมได้ที่ดีแล้ว ให้ใส่ส่วนผสมของเหลวลงไป (น้ำมะพร้าว น้ำปูนใส น้ำใบเตย) ใช้ตะกร้อมือคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี แล้วนำไปกรองด้วยกระชอนใส่ลงไปในกระทะทองเหลือง เพื่อแยกเศษของส่วนผสมที่ยังละลายไม่หมดออกไป
- ตั้งกระทะเปิดเตาด้วยไฟกลาง กวนเบาๆไปทางเดียวกันจนกระทั่งส่วนผสมสุกดี มีเนื้อข้นเหนียวจับตัวเป็นก้อน แล้วจึงกวนแรงขึ้นให้แป้งสุกทั่วกัน มีเนื้อเนียนใส และส่งกลิ่นหอมฟรุ้ง ปิดเตาได้ทันที
- ตักเนื้อขนมเปียกปูนใส่ถุงบีบแล้วบีบใส่ภาชนะสำหรับใส่ขนมเปียกปูน โดยแบ่งพื้นที่ด้านบนไว้สำหรับใส่หน้ากะทิ พักไว้ให้ขนมเซทตัวดี
- ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำ หน้ากะทิขนมเปียกปูน ให้ใส่กะทิลงไปในหม้อ ตามด้วยแป้งข้าวเจ้า เกลือ ใช้ตะกร้อมือคนผสมให้เข้ากันดี ก่อนนำไปตั้งเตาด้วยไฟกลางแล้วคนต่อเรื่อยๆ จนกระทั่งหน้ากะทิเดือด และมีเนื้อข้นหนืด จากนั้นใส่เนื้อมะพร้าวลงไปคนต่อให้เข้ากัน และปิดเตาได้ทันที
- เมื่อเนื้อขนมเซทตัวดีแล้วตักหน้ากะทิใส่ลงไปเป็นชั้นที่สอง สุดท้ายโรยตกแต่งหน้าขนมด้วยงาขาวคั่ว
เคล็ดลับ ทำขนมเปียกปูน ให้อร่อย
ขนมเปียกปูนที่น่ารับประทานนั้นต้องมีรสหวานพอดี ไม่เลี่ยนจนเกินไป เคล้าไปด้วยกลิ่นหอมของใบเตย ผสานกลิ่นน้ำกะทิ เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่มสู้ฟัน ซึ่งปัจจัยในการทำให้ ขนมเปียกปูนอร่อย เหนียวนุ่มนั้นขึ้นอยู่กับการเป็นเนื้อเดียวกันของเม็ดแป้ง

การกวน ส่วนผสมขนมเปียกปูน อย่างสม่ำเสมอบนไฟอ่อนๆ จะช่วยให้เม็ดแป้งเป็นเนื้อเดียวกันพองตัวอย่างสม่ำเสมอ แป้งขนมเปียกปูน เมื่อผ่านการกวนที่ดี แป้งจะเปลี่ยนจากสีขุ่นเป็นสีใส จากนั้นจึงค่อยๆข้นขึ้น และมันเงาน่ารับประทาน แต่หากใช้ไฟแรงเกินไป จะทำให้แป้งจับตัวเป็นก้อน และสุกเฉพาะด้านนอกเท่านั้น
บทสรุป
จบลงไปแล้วกับเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับขนมเปียกปูน พร้อมสูตรวิธีทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ราวกับจับมือทำ และเราเชื่อว่า ขนมไทยโบราณ แสนอร่อยที่เรานำมาบอกต่อให้ได้ลองทำตามกันในบทความนี้ จะมีประโยชน์กับทุกคนที่เข้ามาอ่าน และนำไปลองทำรับประทานกันดูสักครั้ง
หากใครสนใจขนมไทยเมนูอื่นๆ ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของเรา รับรองว่าได้รู้ครบจบทุกเรื่องที่อยากรู้ แถมยังนำไปทำตามได้จริงแน่นอนค่ะ