
เชื่อว่าหลายคนรู้จัก ขนมชั้นใบเตย เป็นขนมที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน อีกทั้งขนมชั้นยังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะรสชาติมีความหวาน และหอม เนื้อเหนียวนุ่ม เคี้ยวไม่มีเบื่อ สำหรับวิธีการทำขนมชั้นนั้นหลายคนอาจจะยังไม่เห็นขั้นตอนต่างๆ ว่ากว่าจะมาเป็นขนมชั้นที่เราทานต้องมีกระบวนการอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาวิธีการทำขนมชั้นกัน
ความเป็นมา ขนมชั้นใบเตย ที่หลายคนไม่เคยรู้

ขนมชั้น ใบเตย เป็นขนมพื้นบ้านสมัยโบราณที่มีรสชาติหวานฉ่ำๆ และเหนียวนุ่ม ส่วนรูปร่างมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีเขียวธรรมชาติ สลับกับเขียวขาวเรียงกันเป็นชั้นๆ มีความสูงประมาณ 5-9 ชั้น สำหรับขนม ชั้น ใบ เตย นิยมทำเป็นขนมมงคลต่างๆ ไม่จะเป็นงานบุญ งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่ โดยคนสมัยก่อนเชื่อว่าการรับประทานขนมชั้นจะทำให้มีแต่ความสุข และเจริญก้าวในหน้าที่การงานนั้นเอง
วิธีทำ ขน ม ชั้น ใบเตยขนมมงคล สูตรต้นตำรับ รสชาติหวานฉ่ำๆ
ขนมชั้นใบเตยหนึ่งในขนมหวานที่สามารถได้ทั้งวันไม่เบื่อ สำหรับใครที่ชอบทานขนม ไทยมงคล ต้องไม่พลาด เพราะเรามีวิธีทำขนมไทยอย่าง ขนมชั้นสูตรใบเตยมาให้ได้ทำตามไว้ทานกันในครอบครัว หรือมอบเป็นของขวัญให้กับญาติผู้ใหญ่ในวันสำคัญๆ ได้เช่นกัน ซึ่งก่อนที่จะเข้ากระกวนการทำขนม เรามาเตรียมส่วนขนม โบราณชนิดนี้กัน

- แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม
- แป้งมันสำปะหลัง 500 กรัม
- หัวกะทิ 800 กรัม
- หางกะทิ 200 กรัม
- น้ำใบเตย 200 กรัม
- น้ำลอยดอกมะลิ 200 กรัม
- น้ำตาล 800 กรัม
- เกลือ 1 ช้อนชา
ขั้นตอนการทำขนมไทย โบราณ ขนมชั้นสูตรใบเตย ซึ่งสูตรที่นำมาแชร์ในวันนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1

- นำแป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า มาผสมรวมกัน และคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน
- เตรียมน้ำเชื่อม โดยการเทน้ำตาลใส่หม้อ และตามด้วยน้ำลอยดอกมะลิ เมื่อน้ำตาลละลายแล้วให้ยกออกจากเตา ใส่น้ำกะทิลงไป คนส่วนผสมให้เข้ากัน
- จากนั้นเทนน้ำเชื่อมลงในแป้งที่เตรียมไว้ จากนั้นใช้มือผสมแป้งให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นนำไปกรองด้วยกระชอน เพื่อเอาเม็ดแป้งออก ขั้นตอนนี้เราจะได้น้ำแป้งที่มีเนื้อเนียนมากขึ้น
- แบ่งน้ำแป้งออกเป็น 2 ส่วน โดยแป้งส่วนแรกใส่น้ำใบเตยลงไป แต่ส่วนที่ 2 ไม่ต้องน้ำใบเตย นำไปพักไว้ก่อน
ขั้นตอนที่ 2

- นำน้ำแป้งส่วนที่ 1 (แป้งผสมน้ำใบเตย) มาเทลงในถาดสี่เหลี่ยม โดยให้แป้งมีความ 2-3 เซนติเมตร จากนั้นนำไปนึ่งในหม้อนึ่งเปิดไฟปานกลาง เมื่อแป้งสุกแล้วให้เทแป้งส่วนที่ 2 (ไม่ผสมน้ำใบเตย) ความหนา 2-3 เซนติเมตร ทำต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ขนม 7-9 ชั้น
- นึ่งขนมต่อไปจนแป้งสุกดี จากนั้นยกออกจากเตา พักไว้ให้เย็น จากนั้นตัดขนมเป็นสี่เหลี่ยมพอดีคำ

หลังจากที่ทำขนมชั้นใบเตย เรียบร้อยแล้ว ทำการจัดขนมใส่จานให้สวยงาม สำหรับเทคนิคทำขนมชั้นขนม หวาน ไทยให้อร่อย ในขั้นตอนการเทแป้งควรเช็คก่อนว่าหน้าแป้งสุกดีแล้วค่อยเทน้ำแป้งส่วนที่สองลงไป เพื่อให้ขนมแบ่งเป็นชั้นๆ ชัดเจน เพียงแค่นี้ก็จะได้ขนมชั้น ขนม ไทย ทำ ง่ายๆ ไม่ยาก หากใครอยากลองทำขนม ไทย ง่ายๆ แนะนำขนมชั้น หนึ่งในขนมไทย ทำเองได้ที่บ้าน และยังเป็น สูตร ขนม ไทยพื้นบ้านมงคลที่อร่อยที่สุดอีกด้วย
อ่านบทความอื่นๆ: